
ไส้เลื่อน คือภาวะที่ผนังหน้าท้องยืดโป่งเป็นรู เป็นโพรง ทำให้ลำไส้บางส่วนเลื่อนไหลออกมาจากช่องท้อง มาติดค้างในโพรง หรือช่องบริเวณผนังหน้าท้อง เห็นเป็นก้อนปูดตรงบริเวณใดบริเวณหนึ่ง อีกทั้งยังสามารถเกิดได้ที่บริเวณอื่น เช่น ต้นขา หรือขาหนีบได้อีกด้วย ซึ่งมักทำให้เกิดอาการปวด แต่บางกรณีอาจไม่พบว่ามีก้อนปูด ทำให้กว่าคนไข้จะรู้ตัว สำไส้บริเวณนั้นก็อาจขาดเลือดและเน่าตายได้!
รู้ไหม? ไส้เลื่อน...แบ่งได้หลายชนิดตามตำแหน่งที่เกิดขึ้น
- ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ
- ไส้เลื่อนบริเวณต่ำกว่าขาหนีบ
- ไส้เลื่อนแผลผ่าตัด
- ไส้เลื่อนที่สะดือ
- ไส้เลื่อนตรงหน้าท้องเหนือสะดือ
- ไส้เลื่อนกระบังลม
อาการเตือนที่บอกว่าคุณอาจเป็น “ไส้เลื่อน”
รู้สึกปวดหน่วงๆ หรือเจ็บตรงบริเวณที่ไส้เลื่อนโป่งออกมา พบก้อนปูดที่สามารถผลุบเข้าออกได้บริเวณผนังหน้าท้อง หรือบริเวณขาหนีบ และก้อนปูดชัดเจนขึ้นเมื่อเวลาเบ่งท้อง วิ่ง เกร็ง หรือเวลาที่ยกของ หากก้อนปูดนั้นยื่นออกมาแล้วหุบกลับเข้าไปเองไม่ได้ จะทำให้มีอาการปวดตรงบริเวณก้อนดังกล่าว
ทำไมการรักษาไส้เลื่อน....จำเป็นต้องผ่าตัดเท่านั้น!
ในการรักษาไส้เลื่อนที่จำเป็นต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัด ก็เนื่องจากก้อนที่ปูดนูนชัดเจนมีโอกาสที่จะใหญ่ขึ้นและเป็นอันตรายได้ เช่น การเกิดลำไส้อุดตัน ทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงและลำไส้เกิดเน่าได้
ผ่าตัดไส้เลื่อนแบบธรรมดา Vs แบบส่องกล้อง อันไหนดีกว่ากัน?
แบบมาตรฐาน หรือแบบเปิดแผลหน้าท้องธรรมดา
- เป็นการผ่าตัดซ่อมแซมไส้เลื่อน ร่วมกับเสริมความแข็งแรงทางผนังหน้าท้องด้วยการเย็บซ่อม หรือใช้ตาข่ายเสริมความแข็งแรง
- ปวดแผลหลังผ่าตัดมากกว่า
- เกิดแผลเป็นแนวขาหนีบประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร และ 5 – 6 เซนติเมตรในผู้สูงอายุ อาจมีปัญหาปัสสาวะยากต้องเบ่งในระยะแรก หรือต้องใส่สายสวนปัสสาวะชั่วคราว
- ใช้เวลาพักฟื้น 3 – 7 วัน
- กลับไปทำงาน เดินตัวตรงตามปกติได้ช้า
- เนื้อเยื่อที่ถูกเย็บอาจตึงมาก และอาจฉีกออกจากกัน (ในกรณีที่ซ่อมผนังหน้าท้องด้วยวิธีเย็บซ่อม ทำให้มีโอกาสเป็นซ้ำได้มากกว่า)
แบบส่องกล้อง
- เป็นการผ่าตัดเพื่อทำการรักษาไส้ติ่งด้วยการส่องกล้อง
- แผลขนาดเล็ก 3 แผล ขนาดแผล 0.5 – 1 เซนติเมตร
- มีโอกาสที่จะเจ็บแผลน้อยกว่า
- มีโอกาสลุกเดินด้วยตัวเองได้เร็ว
- เสริมความแข็งแรงของผนังหน้าท้องด้วยตาข่ายจากด้านในช่องท้องทำให้ลดโอกาสเป็นซ้ำ
- ใช้เวลาพักฟื้น 1-2 วัน
หากมีสัญญาณแบบนี้...ควรรีบมาพบแพทย์
- เมื่อคลำพบก้อนปูดบริเวณหน้าท้องตำแหน่งต่างๆ หรือบริเวณขาหนีบควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
- สำหรับผู้ที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นไส้เลื่อนแล้วควรได้รับการรักษาโดยเร็ว แต่ระหว่างรอผลวินิจฉัย หากมีอาการปวดอย่างเฉียบพลันบริเวณตำแหน่งที่เป็นไส้เลื่อน ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน รวมถึงผู้ที่ยังไม่เคยรับการวินิจฉัย แต่มีอาการเหล่านี้ร่วมกับการมีก้อนปูดที่บริเวณหน้าท้อง หรือบริเวณขาหนีบ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจโดยละเอียด
เพราะผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากภาวะไส้เลื่อนมีความร้ายแรง รพ.พญาไท 2 จึงเตรียมความพร้อมทั้งการบริการให้คำปรึกษา และการผ่าตัดแก้ไข โดยมีการออกแบบการผ่าตัดให้เหมาะสมกับผู้ป่วย เพื่อเพิ่มโอกาสในการหายขาด และไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก
ตรวจสอบบทความโดย นพ.วชิระ โรจน์พิศาลวงศ์
ศูนย์ศัลยกรรมผ่าตัดแผลเล็ก
โรงพยาบาลพญาไท 2