
รู้หรือไม่?
- ในช่วงฤดูกาลระบาดของไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยเบาหวาน มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น 5-15%
- ผู้ป่วยเบาหวาน มีโอกาสเข้านอนโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่ สูงกว่าคนทั่วไปประมาณ 6 เท่า
ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่มีความรุนแรงมากกว่าไข้หวัดธรรมดา แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว และอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
ทำไมไข้หวัดใหญ่ถึงอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวาน?
- น้ำตาลในเลือดรบกวนการทำงานของเม็ดเลือดขาว
- ความสามารถในการทำลายเชื้อโรคลดลง ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
- มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม, หูอักเสบ, มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงชีวิต
ผลกระทบของการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ต่อโรคเบาหวาน
ประโยชน์ของวัคซีนมีมากกว่าที่คิด
- ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยเบาหวาน
- ลดอัตราการเข้าโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 18 ปี ประมาณ 50-60%
- ลดอัตราการเสียชีวิต ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 18 ปีได้ ประมาณ 50-60%
ปัจจุบัน องค์การอนามัยโลก และราชวิทยาลัย อายุรแพทย์ แห่งประเทศไทย ได้แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานฉีดวัคซีน ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นประจำทุกปี เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของไข้หวัดใหญ่
“อย่ามองข้าม โรคไข้หวัดใหญ่ เรื่องใหญ่ใกล้ตัวคุณ”
ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ
โรงพยาบาลพญาไท 3