นพ. จีระศักดิ์ สิริธัญญานนท์

นพ. จีระศักดิ์ สิริธัญญานนท์

นพ. จีระศักดิ์ สิริธัญญานนท์


ความชำนาญ
อายุรศาสตร์
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ
สาขา

ข้อมูลทั่วไป


อายุรศาสตร์หัวใจเป็นศาสตร์ที่มีความหลากหลาย เป็นทั้งเรื่องของเส้นเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ โครงสร้างหัวใจที่ต้องอาศัยความเข้าใจร่วมกัน แค่การดูกราฟไฟฟ้าหัวใจก็เป็นสิ่งที่น่าค้นหาและมีเสน่ห์แล้ว หมอชอบที่จะศึกษา ค้นหา เหมือนมีความท้าทายในการแยกแยะว่าข้อมูลที่ได้จะเป็นโรคอะไรได้บ้างจึงได้เรียนต่ออายุรศาสตร์โรคหัวใจ และพอได้เรียนอย่างลึกซึ้งก็พบว่ายังมีอีกหลายๆ ศาสตร์ที่น่าสนใจเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย


หลังจาก นพ. จีระศักดิ์ สิริธัญญานนท์ จบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แล้ว คุณหมอได้ไปใช้ทุนแพทย์ที่โรงพยาบาลชุมชนเป็นเวลา 3 ปี จึงได้กลับมาศึกษาต่อด้านอายุรศาสตร์ และยังศึกษาต่อเนื่องในอนุสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ ที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งคุณหมอเล่าว่า. . .

“ตอนที่ศึกษาต่อด้านอายุรศาสตร์ ตรงนี้เราก็ดูแล้วว่าเป็นศาสตร์ของการใช้ยา รู้สึกว่ามันต้องใช้ความคิด ใช้ความรู้มาประยุกต์ในการดูแลรักษาคนไข้ เพราะจริงๆ แล้วหมอเชื่อว่าคนไข้แต่ละคนก็มีการตอบสนองต่อยาแต่ละชนิดแตกต่างกัน การดูแลรักษาคนไข้จึงต้องใช้ศิลปะบวกกับความรู้ความเข้าใจเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ศาสตร์ทางอายุรศาสตร์เป็นเหมือนการสืบค้นและ ไตร่ตรอง ซึ่งเป็นลักษณะที่หมอชอบ ส่วนการศึกษาด้านอายุรศาสตร์หัวใจนั้น หมอเห็นว่าเป็นสิ่งที่น่าค้นหา เพราะเป็นสาขาเจาะลึกที่รวมการดูแลรักษาหัวใจและศึกษาการทำงานของหัวใจทั้งหมด ”

ศึกษาเพิ่มเติมยังต่างประเทศเพื่อพัฒนาการรักษาหัวใจ

คุณหมอจีระศักดิ์ เป็นแพทย์ที่ให้ความสนใจในความรู้ใหม่ๆ มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ที่จะนำมาใช้ในการดูแลรักษาคนไข้ให้ดียิ่งขึ้นได้ หลังจากเป็นอายุรแพทย์โรคหัวใจแล้ว คุณหมอจึงเดินทางไปศึกษาต่อ ‘อายุรศาสตร์โรคหลอดเลือดหัวใจ’ หรือ ‘มัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจ’ ที่กรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เป็นเวลาถึง 2 ปี

ในครั้งนั้น คุณหมอได้สั่งสมความรู้และประสบการณ์ในการรักษาโรคหัวใจในเคสต่างๆ จากอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มากด้วยประสบการณ์ และได้ฝึกฝนเพิ่มเติมในการทำหัตถการ ที่โรงพยาบาล Austin โดยคุณหมอตั้งใจที่จะนำความรู้กลับมาใช้รักษาคนไข้ที่ประเทศไทย

ที่นั่น ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาหลอดเลือดหัวใจโดยใช้สายสวนแบบไม่ต้องผ่าตัด ด้วยการใช้สายสวนหลอดเลือดแดงที่บริเวณขาหนีบหรือข้อมือ เป็นการรักษาที่ไม่คุกคามอวัยวะอื่นๆ ให้เสียหายเกินจำเป็น การเจาะก็จะมีเพียงแผลรูเล็กๆ ทำให้คนไข้ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

ส่วนการตรวจหลอดเลือดแบบ “แองจิโอแกรม” (angiogram) ที่ได้ศึกษาเพิ่มเติม ก็เป็นการเอกซเรย์หลอดเลือด รวมถึงอัลตร้าซาวด์หลอดเลือดหัวใจที่ช่วยให้แพทย์ตรวจพบความผิดปกติต่างๆ ซึ่งรวมถึงหลอดเลือดที่เสื่อมลง เห็นคราบไขมัน และลิ่มเลือด ตลอดจนภาวะต่างๆ ของหลอดเลือด เพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างตรงจุดมากขึ้นนั่นเอง. . .

“เราต้องศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ ดูว่ามีอะไรที่พัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงไป เมื่อมีองค์ความรู้ใหม่เข้ามาก็จะนำมาประยุกต์ใช้ เพราะชีวิตแพทย์ต้องเรียนรู้ไปเรื่อยๆ ไม่มีวันสิ้นสุด ต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ การอ่านวารสารทางการแพทย์ การประชุมงานสมาคมโรคหลอดเลือดหัวใจ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องติดตามอยู่เสมอ”

นวัตกรรมและอุปกรณ์ที่ดี คือเครื่องมือสำคัญของแพทย์

นอกจากความเชี่ยวชาญในการรักษาแล้ว คุณหมอจีระศักดิ์ ยังให้ความสำคัญกับวิธีการและการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกและให้คุณภาพที่ดีในการรักษา คือดีต่อคนไข้ อย่างเช่น การนำตัวขดลวดชนิดใหม่มาใช้ในการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยเฉพาะเมื่อหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจเกิดการตีบ และวินิจฉัยแล้วว่าสามารถรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดได้ ก็จะพิจารณานำมาใช้ ซึ่งในส่วนของการทำบอลลูนขยาดหลอดเลือดก็จะเลือกสรรอุปกรณ์ที่ดีที่สุดมาใช้เช่นเดียวกัน. . .

“คนไข้หลอดเลือดหัวใจมี 2 แบบใหญ่ๆ คือแบบเรื้อรังซึ่งส่วนใหญ่จะรักษาด้วยการกินยา กับแบบเฉียบพลันที่จะต้องใช้สายสวนเข้าไปรักษา กรณีที่คนไข้มีข้อบ่งชี้ที่มีความเสี่ยงมากเกินไป ก่อนจะรักษาจะต้องมีการทำเอกซเรย์, CT Scan, MRI หรือทำรังสีรักษาที่เป็นนิวเคลียร์สแกน เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการรักษา ในกรณีที่คนไข้ต้องใช้สายสวน หมอจะอธิบายให้คนไข้มีความเข้าใจถึงข้อดีข้อเสีย รวมถึงความจำเป็นในการรักษา เพราะในการดูแลคนไข้ เราต้องมีความใส่ใจ เข้าใจจิตใจเขา มีความเสียสละและให้เวลา ปรารถนาที่จะเห็นเขาหายดี ได้กลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรง เพราะการที่เราเลือกมาเป็นหมอ คือเรารักในวิชาชีพที่มีโอกาสได้ช่วยเหลือผู้คน”


  • 2533 – 2539 แพทยศาสตรบัณฑิต, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • 2539 – 2542 อายุรศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • 2542 – 2544 อายุรศาสตร์โรคหัวใจ , คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ตารางออกตรวจ

คลินิกโรคหัวใจ

(09:00 - 13:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(12:00 - 13:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(08:30 - 16:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(08:30 - 16:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(09:00 - 13:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(12:00 - 13:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(08:30 - 16:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(08:30 - 16:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(12:00 - 13:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(08:30 - 16:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(08:30 - 16:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(09:00 - 13:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(12:00 - 13:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(08:30 - 16:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(08:30 - 16:00)
Loading...
Loading...