นพ. สุชัย กาญจนธารายนตร์

นพ. สุชัย กาญจนธารายนตร์

นพ. สุชัย กาญจนธารายนตร์


ความชำนาญ
อายุรศาสตร์
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ
สาขา

ข้อมูลทั่วไป

หัวใจเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่โดยไม่เคยหยุดพัก ดังนั้น เราจึงไม่ควรละเลยการดูแลสุขภาพหัวใจของเรา

 

 

หลังจาก นพ. สุชัย กาญจนธารายนต์ สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แล้ว คุณหมอได้ไปเป็นแพทย์ใช้ทุนที่โรงพยาบาลสงขลา อยู่ 3 ปี จึงกลับมาศึกษาต่อวุฒิบัตรอายุรศาสตร์ และอนุสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้คุณหมอยังต่อยอดการศึกษาการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ ในอนุสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ ที่ประเทศออสเตรเลีย อีก 2 ปี ซึ่งคุณหมอเล่าว่า. . .

 

 

“ตอนเป็นนักศึกษาแพทย์ หมอก็มีโอกาสได้เวียนไปเรียนรู้ที่แผนกอายุรศาสตร์ ตอนนั้นก็รู้สึกสนใจ เพราะเห็นว่าเป็นศาสตร์ที่รวมองค์ความรู้ไว้มากมากและหลากหลาย ตั้งแต่การค้นหาสาเหตุของโรคต่างๆ การรักษาด้วยยา รวมถึงการปรับพฤติกรรมเพื่อการดูแลร่างกาย พอเป็นแพทย์ใช้ทุนเรียบร้อยแล้ว จึงตัดสินใจศึกษาต่อทางด้านนี้ และสิ่งที่หมอสนใจเป็นพิเศษก็คือเรื่องของหัวใจ ศึกษาต่อยอดในอนุสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ ที่จุฬาฯ และประเทศออสเตรเลีย หมอชอบเรื่องหัวใจก็เพราะเห็นว่าเป็นระบบที่จับต้องได้ การตรวจก็สามารถวัดได้ชัดเจน การรักษาก็เห็นผลรวดเร็ว รู้สึกดีที่ได้รักษา และมีความสุขทุกครั้งที่เห็นผลการรักษาคนไข้ออกมาดี”

 

 

คนไข้โรคหัวใจ ที่คุณหมอดูแลรักษา

กล่าวถึงโรคหัวใจที่คุณหมอสุชัย ดูแลรักษาอยู่นั้น หลักๆ จะเป็นคนไข้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่มาด้วยอาการหัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด จากโรคเหลอดเลือดที่ตีบตัันและอีกกลุ่มคือ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ใจสั่น และโรคหลอดเลือดหัวใจ

 

 

ในการตรวจวินิจฉัยนั้น ปัจจุบันมีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ดีขึ้นมาก อย่างการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ที่ให้ภาพที่มีความละเอียด ทำให้เห็นภาพหัวใจและรอยโรคอย่างชัดเจน ส่วนอุปกรณ์การรักษาซ่อมแซมเส้นเลือดตีบที่จะนำใส่เข้าไปในหัวใจผ่านร่างกายของคนไข้ ก็มีการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ตัวบอลลูน ตัวขดลวด ก็มีการพัฒนาทั้งวัสดุและการออกแบบ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ในการรักษาดีกว่าสมัยก่อนมาก. . .

 

 

“เมื่อเป็นโรคอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับหัวใจ คนไข้มักจะมีความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก เราในฐานะที่เป็นหมอหัวใจ ที่คนไข้ฝากหัวใจให้เราดูแล เราต้องอธิบายให้คนไข้เข้าใจถึงสาเหตุ อาการ และปัญหาที่เกิดขึ้น บอกถึงปัจจัยเสี่ยง แนวทางการตรวจ การรักษาว่าต้องทำอย่างไร หมอจะบอกให้ชัดเจนและพร้อมตอบทุกคำถามเพื่อให้คนไข้คลายกังวล การสร้างความมั่นใจในการรักษาจะช่วยให้คนไข้มีกำลังใจที่จะดูแลตนเอง การร่วมมือกันระหว่างหมอกับคนไข้จะทำให้กระบวนการรักษาเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การที่หมอคุยกับคนไข้มากๆ ทำให้เราเข้าอกเข้าใจกัน และหมอก็เชื่อว่า การทำอะไรด้วยความรักและความตั้งใจ ผลก็จะออกมาดี”

 

 

ด้วยการดูแลคนไข้อย่างเอาใจใส่ ซักประวัติคนไข้อย่างละเอียด ให้เวลาอย่างเต็มที่ในการตรวจร่างกาย และประสบการณ์ที่สั่งสม รวมถึงการส่งตรวจกับเครื่องมือเฉพาะทาง ทำให้การค้นหาโรคพบคำตอบที่ตรงประเด็นและได้รับการรักษาอย่างถูกจุด ทุกวันนี้คุณหมอสุชัย จึงได้รับความไว้วางใจจากคนไข้ให้ดูแลรักษาทั้งตนเองและคนในครอบครัว

 

 

ถ่ายทอดความรู้เรื่องโรคหัวใจ

คุณหมอสุชัย มองว่า เรื่องโรคหัวใจ การให้ความรู้ในการป้องกันและการสังเกตอาการนั้นเป็นสิ่งสำคัญ คุณหมอจึงเป็นแพทย์วิทยากรที่ออกให้ความรู้กับองค์กรต่างๆ อยู่เสมอ การรู้ว่าเมื่อไหร่ที่ตนเองควรจะรีบมาพบแพทย์ก็จำเป็น คุณหมอยกตัวอย่างว่า หากมีอาการเหนื่อยง่าย เจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ แบบนี้ควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด. . .

 

 

“ปัจจุบันมีการตรวจหลายอย่างที่สามารถคัดกรองความเสี่ยงโรคหัวใจได้ การมาพบแพทย์ก่อนที่จะมีอาการจึงเป็นการเฝ้าระวังโรคหัวใจที่ดี แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการป้องกัน เพราะโรคหัวใจส่วนใหญ่สามารถปัองกันได้ ถ้าเราลดปัจจัยเสี่ยงให้ได้มากที่สุด ด้วยการ”กินดี อยู่ดี” การกินดี หมายถึง เลือกกินกับอาหารที่มีประโยชน์ และคุณค่าต่อร่างกาย ไม่หวานหรือเค็มเกินไป และในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม ส่วนอยู่ดีคือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การนอนหลับที่เพียงพอ ไม่เครียดและคิดบวก การเข้าตรวจสุขภาพประจำปีก็เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยคัดกรองความผิดปกติที่อาจหลบซ่อนอยู่ ทำให้รู้เร็ว รู้ก่อนลุกลาม การที่ได้รักษาเร็วก็ช่วยลดความรุนแรงและการลุกลามของโรคได้”


  • 2528 – 2534 แพทยศาสตรบัณฑิต, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • 2538 – 2542 วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2538 – 2542 วุฒิบัตรอายุรศาสตร์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2548 – 2549 Certificate intervention cardiology -(Austraia) , Austin health Melbourne Australia

ตารางออกตรวจ

คลินิกโรคหัวใจ

(09:00 - 14:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(09:00 - 14:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(09:00 - 17:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(09:00 - 14:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(12:00 - 14:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(09:00 - 14:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(09:00 - 14:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(09:00 - 17:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(09:00 - 14:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(12:00 - 14:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(09:00 - 14:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(09:00 - 14:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(09:00 - 17:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(09:00 - 14:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(12:00 - 14:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(09:00 - 14:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(09:00 - 14:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(09:00 - 17:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(09:00 - 14:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(12:00 - 14:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(09:00 - 14:00)

คลินิกโรคหัวใจ

(09:00 - 14:00)
Loading...
Loading...