นพ. ธีรยุทธ์ จงวุฒิเวศย์

นพ. ธีรยุทธ์ จงวุฒิเวศย์

นพ. ธีรยุทธ์ จงวุฒิเวศย์


ความชำนาญ
สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
สาขา

ข้อมูลทั่วไป

แรงบันดาลใจในการเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านการเจริญพันธุ์ ในระหว่างการศึกษาด้านสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2546) นพ. ธีรยุทธ์ เล็งเห็นถึงปัญหาของคู่สมรสที่มีบุตรยาก โดยพบว่าคู่สมรสส่วนใหญ่ที่แต่งงานเมื่อล่วงเลยวัยหนุ่มสาวไปมากแล้วมักมีปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะภายในที่ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ตามธรรมชาติ แต่ยังต้องการมีบุตรเมื่อมีความพร้อม

 

 

คุณหมอมีความตั้งใจที่อยากดูแลรักษาคนไข้ในส่วนนี้ จึงเลือกศึกษาต่อด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โดยได้เดินทางไปศึกษาเชิงลึกด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ที่ Cornell University นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ตลอดระยะเวลา 1 ปีในการศึกษา คุณหมอได้ฝึกในและปฏิบัติงานในคลินิกผู้มีบุตรยากที่มีชื่อเสียง ซึ่งสิ่งที่เน้นมากในการศึกษาที่นี่ คือกระบวนการผสมตัวอ่อน ซึ่งคุณหมอก็ได้นำความรู้กลับมาใช้ในการรักษาผู้มีบุตรยากในประเทศไทยจนประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

 

 

นอกจากความสำเร็จในด้านการศึกษาและการรักษาแล้ว คุณหมอยังได้รับรางวัลระดับชาติ จากงานประชุมวิชาการของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ในหัวข้อ การให้เลือดในสตรีตั้งครรภ์ที่คลอดบุตรโดยการผ่าตัดคลอด เมื่อปี 2545 ทั้งยังเป็นอาจารย์แพทย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยมหิดล อีกด้วย

แนวทางการดูแลผู้มีบุตรยากของคุณหมอ

ความท้าทายและสิ่งที่คุณหมอให้ความสำคัญที่สุดในการดูแลคู่สมรสที่มีบุตรยาก ให้สามารถมีบุตรได้สำเร็จนั้น คุณหมอธีรยุทธ์ บอกว่า

 

 

“เราต้องให้ความสำคัญและทำความเข้าใจในตัวผู้มีบุตรยากอย่างเข้าอกเข้าใจ เพราะเขามีความต้องการมีบุตรในภาวะที่ร่างกายไม่สมบูรณ์พร้อม ดังนั้นหมอจึงต้องให้คำปรึกษาที่ชัดเจน ทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของการมีบุตรยากโดยละเอียดทางห้องปฏิบัติการอย่างมีมาตรฐาน พร้อมทั้งอธิบายแนวทางการรักษาที่เหมาะสม โดยโฟกัสถึงปัญหาเฉพาะบุคคล เพื่อทำการรักษาตามแนวทางที่ดีที่สุด เพราะแต่ละเคสก็จะมีปัญหาที่แตกต่างกันไป”

ความประทับใจในการรักษา

ในการดูแลรักษาผู้มีบุตรยาก เมื่อประสบความสำเร็จแล้ว คุณหมอธีรยุทธ ก็มีความภูมิใจและดีใจไปกับครอบครัวของคนไข้ในทุกๆ ราย แต่มีอยู่เคสหนึ่งที่จดจำได้เป็นพิเศษ…

 

 

“ผู้รับบริการรายท่านนี้เข้ามาขอรับคำปรึกษาในปัญหาผู้มีบุตรยาก เนื่องจากครอบครัวต้องสูญเสียลูกชายคนเดียวจากอุบัติเหตุ และไม่สามารถทำใจต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้นได้ ขณะนั้นคนไข้มีอายุ 48 ปีแล้ว เริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน มีโอกาสน้อยมากที่จะตั้งครรภ์ด้วยไข่ของตนเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับไข่บริจาค เมื่อคนไข้เห็นชอบด้วย หมอจึงทำการผสมเทียมฝังสเปิร์มของสามีคนไข้กับไข่ที่ได้รับบริจาค แล้วนำไปฝังในมดลูกของคนไข้ ทำให้การตั้งครรภ์ประสบความสำเร็จด้วยดี ต่อมาได้ทราบว่า ไข่ที่ได้รับบริจาคมานั้นเป็นไข่ของภรรยาลูกชายคนไข้ที่เสียชีวิตไปแล้ว เมื่อคนไข้ตั้งครรภ์จนครบกำหนดคลอด หมอก็ได้ทำคลอดให้ด้วยตัวเอง เคสนี้จึงเป็นหนึ่งในความประทับใจที่ทำให้จดจำมาถึงทุกวันนี้”


  • 2536 – 2542 แพทยศาสตร์บัณฑิต, ม.ขอนแก่น
  • 2542 – 2546 วว.สูตินรีเวชแพทย์, ม.ขอนแก่น
  • 2549 – 2551 วว.อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์, รพ.รามาธิบดี
  • 2554 – 2555 Fellowship in reproductive medicine, Weill Cornell Medical College USA.

ตารางออกตรวจ

คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก

(09:00 - 14:00)

คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก

(09:00 - 14:00)

คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก

(09:00 - 14:00)

คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก

(09:00 - 14:00)

คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก

(09:00 - 15:00)

คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก

(09:00 - 14:00)

คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก

(09:00 - 14:00)

คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก

(09:00 - 14:00)

คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก

(09:00 - 14:00)

คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก

(09:00 - 15:00)

คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก

(09:00 - 14:00)

คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก

(09:00 - 14:00)

คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก

(09:00 - 14:00)

คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก

(09:00 - 14:00)

คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก

(09:00 - 15:00)

คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก

(09:00 - 14:00)

คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก

(09:00 - 14:00)

คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก

(09:00 - 14:00)

คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก

(09:00 - 14:00)

คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก

(09:00 - 15:00)

คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก

(09:00 - 14:00)

คลินิก รักษาภาวะมีบุตรยาก

(09:00 - 14:00)
Loading...
Loading...