พญ. ปาริฉัตร การปลื้มจิตต์

พญ. ปาริฉัตร การปลื้มจิตต์

พญ. ปาริฉัตร การปลื้มจิตต์


ความชำนาญ
อายุรศาสตร์
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ
สาขา

ข้อมูลทั่วไป

คนไข้โรคหัวใจ ส่วนหนึ่งมักมาด้วยภาวะวิกฤต หมอจะต้องมีสติในการช่วยคนไข้อย่างเร่งด่วน หากคนไข้หยุดหายใจก็ต้องปั๊มหัวใจเพื่อให้เค้ากลับคืนมา การช่วยชีวิตคนให้รอดจากภาวะวิกฤตได้ เป็นความรู้สึกที่ดีเกินจะหาคำบรรยายได้ อันนี้แหล่ะที่ทำให้หมอมีความภาคภูมิใจ และไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม เราจะทำอย่างเต็มที่เสมอ ไม่เคยปล่อยผ่าน

 

 

นอกจาก พญ. ปาริฉัตร การปลื้มจิตต์ จะจบการศึกษาด้านอายุรแพทย์ทั่วไป จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว คุณหมอยังได้ศึกษาต่อในสาขาอายุรแพทย์โรคหัวใจ ที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล อีกด้วย ปัจจุบัน คุณหมอปริฉัตร เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ อยู่ที่ รพ. พญาไท 2 ซึ่งคุณหมอเล่าว่า. . .

 

“โรคหัวใจแบ่งออกเป็นหลายๆ กลุ่ม ถ้าแบ่งตามโครงสร้างของหัวใจก็จะเป็นโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ และลิ้นหัวใจ แต่ถ้าแบ่งตามตัวโรคจะเกี่ยวกับภาวะที่หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยโรคหัวใจอาจจะมาด้วยอาการของโรคที่บ่งชี้ชัดเจน อาทิ เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย แต่บางรายก็ไม่มีอาการบ่งชัด แต่ทราบได้จากการตรวจสุขภาพ จากการวัดสัญญาณชีพ วัดความดัน หรือตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งทางโรงพยาบาลก็มีให้บริการตรวจในศูนย์หัวใจนี้ด้วย”

 

 

คนไข้โรคหัวใจที่มีความหลากหลายมากขึ้น

ปัจจุบันเราจะพบผู้ป่วยโรคระบบหัวใจที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ อาจเริ่มตั้งแต่วัย 20 เป็นต้นไป และมีไปจนถึงวัยชรา แต่ที่พบมากก็จะเริ่มในอายุราวๆ 40 ปี อาจจะด้วยรูปแบบการใช้ชีวิต มีปัจจัยด้านอาหารการกิน การออกกำลังกาย อาชีพการงาน ความเครียดประกอบกัน ทำให้เกิดโรคมากขึ้น และที่สำคัญคือการไม่ตระหนักถึงความเสี่ยง ขาดการดูแลตัวเอง แม้จะมีประวัติว่าคนในครอบครัวเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ หรือบางคนก็ไม่ทราบมาก่อนว่าคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจซึ่งทำให้ตนมีความเสี่ยงมากขึ้น

 

 

การรักษาด้วยยา และการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต

คนไข้บางรายที่ยังเป็นไม่มากหรือมีอาการเพียงเล็กน้อยคุณหมอจะพิจารณาถึงการให้คำแนะนำในการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เสียก่อน ทั้งในด้านการกิน การออกกำลังกาย การพักผ่อน และการทำจิตใจให้แจ่มใส ส่วนการรักษาด้วยการใช้ยา โดยปกติจะเริ่มจากปริมาณน้อยๆ ไปหามาก เมื่อทำการรักษาโดยการใช้ยาไปเต็มที่แล้วแต่คนไข้อาการไม่ดีขึ้น คุณหมอก็จะพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อหาทางรักษาที่เหมาะสมที่สุดต่อไป เช่น อาจจะต้องทำการฉีดสีดูหลอดเลือดว่ามีการอุดตันหรือไม่ จำเป็นต้องทำการถ่างขยายทำบอลลูนหลอดเลือดหรือเปล่า หรือถ้าเป็นมากอาจจำเป็นต้องทำบายพาสหลอดเลือดหัวใจ ในกรณีหัวใจรั่วมากจนจำเป็นต้องเปลี่ยนลิ้นหัวใจก็จะส่งตัวให้กับศัลยแพทย์หัวใจที่เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดโดยเฉพาะ ซึ่งหลังการผ่าตัดแล้วคุณหมอก็จะดูแลคนไข้ต่อ มีการปรับยา ให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับคนไข้รายนั้นๆ เพื่อไม่ให้กลับไปเป็นซ้ำอีก. . .

 

“ในทุกๆ ปัญหา หมอจะคุยกับคนไข้เสมอ อย่างคนไข้บางรายที่กลัวการกินยาต่อเนื่องนานๆ หมอก็จะอธิบาย ให้คำปรึกษา และแชร์ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพื่อให้เขากล้าเปิดใจคุยกับหมอ หมอจะช่วยพิจารณาถึงข้อดีข้อเสีย และเลือกแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับเขา เพราะสิ่งคัญในการรักษาคือความสุขที่สอดคล้องกับสุขภาพและไลฟ์สไตล์ของตัวคนไข้ด้วย จะให้รักษาหรือกินยาเหมือนกันทุกคนไม่ได้”

 

 

การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการรักษาโรคหัวใจ

แน่นอนว่าการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มาใช้ในการรักษาโรคหัวใจจะช่วยให้หมอมีความพร้อมและสามารถดูแลคนไข้ได้ดีขึ้น ที่ รพ. พญาไท 2 จึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ จะเห็นได้จากการมีเครื่องมือที่พร้อมใช้ อย่างเครื่องช่วยถ่างขยายหลอดเลือด เครื่องช่วยผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ หรือแม้แต่การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจไว้ในตัวคนไข้เพื่อทำหน้าที่เสมือนแบตเตอรี่หัวใจ และยังมีเครื่องมือที่แพทย์จะติดไว้กับตัวคนไข้ที่สามารถนำกลับบ้านได้ นั่นคือเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งใช้สำหรับคนไข้ที่มาด้วยอาการใจสั่น เหนื่อยง่าย คุณหมอจะติดเครื่องนี้ไว้เพื่อวัดค่าความสัมพันธ์กับสิ่งที่ตรวจพบ นำไปสู่การวินิจฉัยและการรักษาที่ตรงจุด

 

 

“นอกจากความสำคัญของเครื่องมือ ตัวหมอเองก็ต้องแข็งแรงทั้งกายและใจ จะได้รักษาและแนะนำคนไข้ได้อย่างมั่นใจ พูดได้เต็มปาก ให้คนไข้ได้เห็นหมอเป็นตัวอย่าง หมอคิดว่าการจะมีสุขภาพดีได้ต้องเริ่มที่ตัวเราเอง เพราะในแต่ละวันทุกคนก็มีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน ถ้าเราแบ่งเวลามาออกกำลังกายวันละสัก 30 นาที ให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันหรือมากกว่านั้น รู้จักทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียด เพื่อไม่ให้ร่างกายหลั่งสารเคมีที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติไป คือต้องรู้สึกสบายทั้งกายและใจ และมีสติในการใช้ชีวิตตลอดเวลา”

 

 

ปฏิบัติงานกับทีมแพทย์และสหสาชาวิชาชีพแบบมืออาชีพ

หัวใจสำคัญของการดูแลคนไข้ นอกจากการดูแลด้วยอายุรแพทย์หัวใจโดยตรงแล้ว คนไข้ยังได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่พร้อมให้เวลากับคนไข้ ห่วงใยเหมือนคนในครอบครัว. . .

 

 

“แพทย์ที่ดีจะต้องมีความเข้าใจในตัวคนไข้ รู้ลึกซึ้งถึงปัญหาเขาของ และสร้างความมั่นใจให้กับคนไข้ เน้นเจตนารมณ์ว่าเราต้องการให้เขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และทำความเข้าใจว่า แม้โรคหัวใจบางอย่างเป็นโรคที่รักษาไม่หาย แต่สามารถดูแลให้ดีขึ้นได้ การกินยาจะต้องทำไปพร้อมกับการดูแลตนเอง เพื่อให้การรักษาได้ผลดี จนในที่สุดอาจจะไม่ต้องกินยาก็เป็นไปได้ ที่นี่เราดูแลคนไข้ด้วยสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งเหมือนการดูแลอย่างรอบด้าน เพื่อให้คนไข้รู้วิธีว่าจะปฏิบัติตัวอย่างไรให้สุขภาพดีไปนานๆ”


  • 2527 – 2533 แพทยศาสตรบัณฑิต, fatima collage of medicine phipplippines
  • 2537 – 2540 วว.อายุรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2540 – 2542 วว.อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, ศิริราชพยาบาล
  • 2543 – 2545 วว.เวชศาสตร์ครอบครัว, ราชวิทยาลัยเวชศาสตร์

ตารางออกตรวจ

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 16:00)

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 16:00)

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 16:00)

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 16:00)

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 16:00)

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 16:00)

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 16:00)

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 16:00)

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 16:00)

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 16:00)

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 16:00)

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 16:00)

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 16:00)

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 16:00)

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 16:00)

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 16:00)

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 16:00)

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 16:00)

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 16:00)

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 16:00)

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 16:00)

คลินิก โรคหัวใจ

(09:00 - 16:00)
Loading...
Loading...