ทพญ. ชญาน์ทิพ ศรีรัฐ

ทพญ. ชญาน์ทิพ ศรีรัฐ

ทพญ. ชญาน์ทิพ ศรีรัฐ


ความชำนาญ
ทันตกรรม
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
ทันตกรรมสำหรับเด็ก
สาขา

ข้อมูลทั่วไป

     “หัวใจหลักของการดูแลฟันในเด็ก คือการป้องกันปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น อย่างการเคลือบฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ การแปรงฟันที่ถูกวิธี ทุกครั้งที่หมอตรวจหรือรักษาฟันให้เด็กๆ หมอก็จะให้คำแนะนำกับคุณพ่อคุณแม่ว่าต้องระวังเรื่องอะไรบ้าง อย่างการอมลูกอม การกินช็อกโกแลต การเลิกติดขวดนม การดูดนิ้ว การอมข้าว หรือแม้แต่การกัดของเล่น เพราะจะมีผลต่อสุขภาพฟันและโครงสร้างฟันเมื่อโตขึ้นด้วย” 

ทพญ. ชญาน์ทิพ ศรีรัฐ มีความฝันอยากเป็นหมอฟันตั้งแต่เด็กๆ ด้วยความประทับใจที่ได้รับการดูแลฟันจากทันตแพทย์ที่ใจดี และการที่คุณหมอเลือกศึกษาต่อในสาขาทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็กนั้น คุณหมอเล่าให้ฟังว่า. . .

     “หมอเป็นคนที่ชอบอยู่กับเด็ก เพราะเด็กจะมีความน่ารัก สดใส การได้รักษาฟันให้กับเด็กๆ เป็นช่วงเวลาที่น่ารัก เขาจะแสดงออกอย่างบริสุทธิ์ อย่างบางทีมีเด็กเข้ามากอดแล้วพูดว่า ‘รักคุณหมอ’ แค่นี้ก็หมอก็ภูมิใจแล้ว เด็กบางคนทำฟันกับหมอตั้งแต่เล็กจนโต จนเรียนจบ เขาก็ยังให้หมอดูแลฟันเขาอยู่ มีชวนเพื่อนๆ ให้มาทำฟันกับหมอด้วย เด็กส่วนใหญ่ที่ให้หมอดูแลฟันตั้งแต่เล็กๆ ฟันก็จะไม่ค่อยผุ เพราะรู้จักวิธีป้องกันและมีการดูแลฟันที่ดี” 

    แม้คุณหมอจะเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาฟันในเด็ก คือเน้นการดูแลเด็กเล็กและเด็กโตเป็นส่วนใหญ่ แต่คุณหมอก็สามารถดูแลรักษาฟันให้กับผู้ใหญ่ได้ด้วยเช่นกัน แต่ถ้าเป็นการจัดฟัน ผ่าฟันคุด หรือเป็นการรักษาที่ควรใช้แพทย์เฉพาะทาง คุณหมอก็จะส่งคนไข้ให้ทันตแพทย์ด้านนั้นๆ ดูแลต่อไป

ดูแลตั้งแต่ฟันซี่แรกเพื่อสุขภาพฟันที่ดีเมื่อเด็กโตขึ้น

ปกติแล้วผู้ปกครองจะพาบุตรหลานมาพบคุณหมอตั้งแต่เริ่มมีฟันน้ำนมซี่แรก ซึ่งเป็นสิ่งถูกต้อง เพราะฟันน้ำนมที่ดีจะเป็นพื้นฐานของฟันแท้ที่ดี รวมถึงการเรียงตัวของฟันที่สวยงาม

    “เด็กๆ ควรมีฟันน้ำนมที่ดี เพราะความสวยงามของฟันน้ำนมนั้นเป็นเครื่องจำธรรมชาติของฟันแท้ ฟันแท้จะสวยได้ ส่วนหนึ่งก็เกิดจากการมีฟันน้ำนมที่ดี บางคนจะเข้าใจว่า ฟันน้ำนมผุไม่จำเป็นต้องรักษา แค่คอยหรือปล่อยไว้ให้หลุดไปเอง แต่จริงๆ ถ้าเด็กฟันผุก็มักจะปวดฟัน เคี้ยวอาหารไม่ได้หรือเคี้ยวได้ไม่ดี บางครั้งก็ลุกลามติดเชื้อ เหงือกบวม หน้าบวม บางคนถึงกับต้องมานอนโรงพยาบาล ต้องขาดเรียน เราไม่ควรปล่อยให้สิ่งนี้เกิดขึ้น เพราะจะมีผลต่อการใช้ชีวิตของเด็ก ทำให้เด็กขาดความมั่นใจ ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีที่ดีที่ช่วยให้การรักษาฟันแบบที่ไม่เจ็บปวดเหมือนในสมัยก่อน และมีการดูแลทั้งเรื่องสุขภาพและความสวยงามของฟัน การมาพบหมอฟันตั้งแต่เล็ก ตั้งแต่ฟันยังไม่ผุ ส่วนใหญ่พอโตขึ้นฟันก็มักจะไม่ผุ และมีสุขภาพฟันที่ดีเมื่อเด็กโตขึ้น” 
เมื่อเด็กๆ มาพบคุณหมอชญาน์ทิพย์ คุณหมอจะทำการเคลือบฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุให้ หากมีฟันพุมาก่อนก็จะทำการอุดฟัน หรือแม้แต่รักษารากฟัน ครอบฟัน นอกจากนี้ยังเน้นที่การดูแลโครงสร้างของฟัน หากมีปัญหาการสบฟันที่ไม่มากนักก็สามารถใช้เครื่องมือในการจัดฟันสำหรับเด็กทำการแก้ไขไว้ก่อน ก่อนที่จะส่งไปพบคุณหมอจัดฟันเมื่อถึงอายุที่เหมาะสม การแก้ไขตั้งแต่เล็กๆ มีโอกาสที่เด็กจะมีฟันที่เรียงตัวและสบกันสวยโดยไม่ต้องจัดฟันใหม่เมื่อตอนโต หรืออาจมีแก้ไขเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
    “หัวใจหลักของการดูแลฟันคือการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา เราก็จะดูแลไม่ให้ฟันผุ ไม่ให้มีหินปูน นอกจากนั้นยังดูแลไม่ให้มีฟันยื่น ด้วยการดูเวลาที่เหมาะในการให้เด็กเลิกติดขวดนม เลิกจุกนมหลอก ไม่ดูดนิ้ว เพื่อการมีฟันที่สวยงามตอนโต ในกรณีที่เด็กมาพบหมอฟันช้า ถ้ามีฟันผุหมอก็จะรักษาให้ ถ้ามีหินปูนก็ต้องขูดออก นอกจากการดูแลเรื่องสุขภาพฟันแล้ว หากทำการครอบฟันหน้าก็จะทำให้มีความกลมกลืนกันของสีฟันปกติเพื่อความสวยงาม ที่สำคัญการป้องกันจะดีได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยหมอด้วย ควรพาน้องมาพบหมอให้เร็วตั้งแต่ก่อนมีปัญหา รวมถึงเมื่ออยู่บ้านคุณพ่อคุณแม่ก็เปรียบเสมือนเป็นหมอฟันของลูกที่บ้าน ต้องดูแลให้ลูกแปรงฟันให้ถูกวิธี และให้เด็กๆ ใช้ไหมขัดฟันก่อนนอนทุกคืนด้วย”

ทันตแพทย์เด็ก ที่ดูแลทั้งสุขภาพฟันและเอาใจใส่ในความรู้สึก

เด็กไม่สามารถอ้าปากได้นานเหมือนผู้ใหญ่ คุณหมอชญาน์ทิพจึงต้องทำการตรวจรักษาอย่างรวดเร็ว หลักสำคัญที่คุณหมอใช้จึงอยู่ที่การวางแผนการรักษาและการใช้จิตวิทยาสำหรับเด็ก เช่น การพูดโน้มน้าวให้เด็กรู้สึกสนุกกับการทำฟัน อธิบาย ยกตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่าการทำฟันนั้นไม่ได้น่ากลัว สำหรับผู้ปกครอง คุณหมอเห็นว่าเป็นหัวใจหลักในการดูแลฟันให้กับเด็กๆ เพราะเมื่อพ้นมือหมอที่โรงพยาบาลแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะดูแลการแปรงฟันให้กับเด็กๆ เด็กที่เคยอุดฟันไปแล้วก็จะได้ไม่มีฟันผุเพิ่ม ไม่ปวดฟัน หินปูนก็น้อย สุขภาพในช่องปากทั้งเหงือกและฟันก็ดีด้วย 
     ในส่วนของอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ที่ รพ. พญาไท 2 มีเครื่องมือที่ออกแบบเพื่อการทำทันตกรรมสำหรับเด็กโดยเฉพาะ ในกรณีที่เด็กเล็กมากหรือว่ามีฟันผุหลายซี่ การรักษาอาจจำเป็นต้องใช้การดมยาสลบหรือใช้ยาช่วยให้หลับ รวมถึงเด็กที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เช่น เด็กออทิสติก เด็กหูหนวก เด็กที่มีโรคหัวใจ โรคเลือด ซึ่งอาจต้องมีการรักษา ให้เลือด หรือให้ยาบางอย่างก่อนการทำฟัน คุณหมอชญาน์ทิพก็จะปรึกษาและปฏิบัติงานร่วมกับกุมารแพทย์ในการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการรักษาฟัน
     “นอกจากการป้องกันปัญหาฟันผุ ปวดฟัน และสุขภาพฟันโดยรวมแล้ว หมอก็อยากสร้างทัศนคติให้กับเด็กรุ่นใหม่ๆ ให้ไม่กลัวหมอฟัน การรักษาสมัยใหม่มีเครื่องมือที่ดีกว่าก่อน สะดวก สบาย ลดความเจ็บปวดลงไปมาก ส่วนตัวหมอเอง ก็จะต้องใช้จิตวิทยาในการสื่อสารกับเด็กๆ เราจะมีของเล่น มีสติ๊กเกอร์แจก มีการอธิบายให้เด็กไม่กลัวการทำฟัน การดูแลฟันให้เด็กๆ ส่วนหนึ่งเขาก็อยากให้เราดูแลไปตลอด จนโต จนทำงาน เราจึงมีความรู้สึกผูกพันกัน ดูแลกันเหมือนเป็นคนในครอบครัว บางคนพาเพื่อน พาแฟนมารักษาฟันกับหมอด้วยก็มี”


  • 2535 – 2541 ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2543 – 2545 ทันตแพทย์ประจำบ้านสาขาทันตกรรมทั่วไป, ม.มหิดล
  • 2545 – 2546 Board of general dentristry, ทันตแพทยสภา
  • 2547 – 2549 ปริญญาโททันตกรรมเด็ก, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไม่พบตารางนัดหมาย

กรุณาโทร 1772


Loading...
Loading...