พล. ท. นพ. สุทธจิต ลีนานนท์

พล. ท. นพ. สุทธจิต ลีนานนท์

พล. ท. นพ. สุทธจิต ลีนานนท์


ความชำนาญ
ศัลยศาสตร์
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
อนุสาขาศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา
สาขา

ข้อมูลทั่วไป

“หมอภูมิใจทุกครั้งที่ได้ผ่าตัดรักษาคนไข้ให้เขาได้กลับมามีชีวิตที่ดีขึ้น ตัวคนไข้เองเขาก็รู้สึกภูมิใจในตัวเองมากขึ้นกับรูปร่างใหม่ และยังขอบคุณที่หมอดูแลเขาเป็นอย่างดีด้วย เพราะเหมือนว่าเราได้ให้ชีวิตใหม่เขา พอเขามีความมั่นใจในรูปร่างมากขึ้น ก็จะเริ่มกลับมาดูแลตัวเอง และมีกำลังใจในการดูแลคนรอบข้าง รวมถึงส่งพลังดีๆ ต่อไปยังสังคมแบบอัตโนมัติอีกด้วย”

 

 

การผ่าตัดแบบส่องกล้องเกิดขึ้นในโลกครั้งแรกราวปี 1989 และแพร่หลายเข้ามาในทวีปเอเชียรวมทั้งประเทศไทยในราวปี 1992 แม้ว่าคนไทยจะคุ้นเคยกับนวัตกรรมการผ่าตัดแบบนี้มาแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่ความก้าวล้ำของวงการแพทย์ในการคิดค้นเทคนิค วิธีการ รวมถึงการพัฒนาด้านเครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ ก็ยังคงก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ เพื่อเป้าหมายคือการผ่าตัดรักษาที่ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วยให้ได้ครอบคลุมและดีที่สุด

 

 

การผ่าตัดส่องกล้องที่คุณหมอเชี่ยวชาญ

นพ. สุทธจิต ลีนานนท์ เป็นศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดส่องกล้อง ทั้งยังเป็นหัวหน้าศูนย์ศัลยกรรมผ่าตัดแผลเล็กผ่านกล้องชั้นสูง ซึ่งมีความสามารถและประสบการณ์ในการผ่าตัดมาอย่างยาวนาน คุณหมอได้เล่าถึงการผ่าตัดผ่านกล้องว่า. . .

 

 

“โรคใดก็ตามที่ผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่ได้ และยังสามารถใช้การผ่าตัดแบบส่องกล้องได้ด้วย ก็ควรเลือกใช้วิธีการผ่าตัดส่องกล้อง เช่น การผ่าตัดปอด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วอาการแทรกซ้อนของการผ่าตัดปอดมักจะเกิดจากการผ่าตัดแบบที่ต้องเปิดแผล แต่การผ่าตัดแบบส่องกล้องจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อน ทำให้ผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ป่วยลดลงมาก อีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการผ่าตัดลดความอ้วนที่สมัยแรกๆ แพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง ทำให้ผู้ป่วยมีอัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก เนื่องจากแรงตึงของผนังช่องท้องในคนอ้วนจะมีสูง ผลที่ตามมาคือแผลแยกซึ่งเกิดขึ้นเยอะมาก และทำให้เกิดการติดเชื้อหลังการผ่าตัด ปัจจุบันการผ่าตัดลดความอ้วนแบบเปิดมีอัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอยู่ที่ 5% แต่หากเลือกวิธีการผ่าตัดลดความอ้วนแบบส่องกล้องจะมีอัตราการเสียชีวิตเพียง 0. 03% เท่านั้น” 

 

 

ผ่าตัดส่องกล้องลดน้ำหนัก รักษาโรคอ้วน 

คุณหมอสุทธจิต นับเป็นหนึ่งในศัลยแพทย์ไทยที่ได้พัฒนาและคิดค้นเทคนิคการผ่าตัดลดความอ้วน จนเป็นที่ยอมรับจากสถาบันทางการแพทย์ชั้นนำอย่างกว้างขวาง ซึ่งศูนย์ศัลยกรรมผ่าตัดแผลเล็กผ่านกล้องชั้นสูง โรงพยาบาลพญาไท 2 ได้นำเทคโนโลยีการผ่าตัดแบบส่องกล้องมาใช้เพื่อการผ่าตัดลดความอ้วนภายใต้แนวทาง “เพื่อลดการดูดซึม” และ “เพื่อจำกัดปริมาณอาหาร”

 

เมื่อคนไข้เข้ามาปรึกษาเรื่องการผ่าตัดลดความอ้วน คุณหมอจะอธิบายถึงรายละเอียดต่างๆ ทั้งข้อเด่น ข้อด้อย ข้อจำกัดของการผ่าตัดลดความอ้วนประเภทต่างๆ ให้คนไข้ได้ทราบ เพื่อการตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะกับตนเอง โดยคุณหมอจะวางแนวทางการรักษาให้สอดคล้องกับตัวคนไข้และคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัย รวมถึงผลที่คาดว่าจะได้รับ ซึ่งแนวทางการผ่าตัดและการรักษานั้นมีหลายแบบ เช่น

  • Teller med ได้แก่ Gastic Bypass จะมี Bypass Segment เป็นตัวช่วยซึ่งให้ผลดีในการผ่าตัด แต่หลังจากนั้นหนึ่งปีร่างกายจะกลับมาเหมือนเดิม
  • Gastic Sleep คือการผ่าตัดทำให้กระเพาะเล็กลง เพื่อจำกัดปริมาณอาหาร
  • Gastic Bending เป็นวิธีที่ทำง่ายที่สุด แต่มักมีผลแทรกซ้อนในระยะแรก
  • Gastic Balloon คือการเอาบอลลูนใส่เข้าไปในกระเพาะอาหารไว้ระยะหนึ่ง ซึ่งในรายที่ได้ผลจะใช้เวลาเพียง 3 เดือนน้ำหนักก็จะลดลง จากนั้นแพทย์จะทำการเจาะบอลลูนให้แตก ซึ่งวิธีนี้อาจส่งผลให้คนไข้อาเจียนได้ ในรายที่อาเจียนหนักมากจะต้องเอาลูกโป่งออกทันที เมื่อคนไข้น้ำหนักลดแล้วหลังเอาบอลลูนออก อาจจะเกิดโยโย่เอฟเฟกต์ที่ทำให้คนไข้กลับมาอ้วนเหมือนเดิมได้ ซึ่งนอกจากการผ่าตัดลดความอ้วนแล้ว คุณหมอยังได้นำการผ่าตัดแบบส่องกล้องมาใช้กับการผ่าตัดในหลายๆ โรค เช่น การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี การผ่าตัดลำไส้ใหญ่ การผ่าตัดไต การผ่าตัดไส้ติ่ง และการผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นต้น

 

 

ศัลยแพทย์ที่ตั้งใจ “ทำวันนี้ให้ที่สุด” ในทุกบทบาทหน้าที่

ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ นพ. สุทธจิต ลีนานนท์ เป็นทั้ง “อาจารย์หมอ” และ “หมอรักษาคนไข้” คุณหมอได้ยึดหลักในการทำงานภายใต้ปณิธานที่ว่า “ทำวันนี้ให้ที่สุด” ไม่ว่า ณ เวลานั้นจะอยู่ในบทบาทใด ซึ่งทั้งสองบทบาทนี้มักจะดำเนินไปพร้อมๆ กันอยู่เสมอ เพราะการเป็นอาจารย์แพทย์นั้น ในระหว่างสอนก็คือการได้ทำงานไปด้วย ได้รักษาคนไข้ไปพร้อมๆ กับคณะผ่าตัดและนักศึกษา คุณหมอได้เล่าถึงกรณีตัวอย่างการรักษาที่ประทับใจว่า. . .

 

 

“หมอขอเล่าให้ฟังถึงกรณีคนไข้ที่น่าสนใจ และน่าจะเป็นประโยชน์แก่แพทย์และนักศึกษาแพทย์ รวมถึงบุคคลทั่วไปด้วย นั่นคือมีคนไข้โรคซึมเศร้ากระโดดตึก 8 ชั้นเพื่อฆ่าตาย เมื่อคนไข้ถูกนำส่งมาถึงโรงพยาบาล หมอต้องพิจารณาให้ได้ว่า การตกตึก 8 ชั้นน่าจะเกิดอะไรกับคนไข้บ้าง สิ่งที่หมอเริ่มทำอย่างแรก คือการหยุดเลือดให้คนไข้ เพราะไม่ใช่ว่าเขาเสียเลือดแล้วต้องให้เลือดเสมอไป ศัลยแพทย์ต้องมองว่าเสียเลือดต้องหยุดเลือดก่อน เราต้องมีมุมมอง มีการวิเคราะห์ และเตรียมความพร้อมต่างๆ ไว้ก่อนที่คนไข้จะมาถึงด้วย ทั้งหมอเฉพาะทางด้านอื่นที่ต้องช่วยกันทำให้คนไข้กลับคืนเป็นปกติ เช่น หมอกระดูก ซึ่งคนไข้รายนี้ คณะแพทย์สามารถช่วยรักษาชีวิตเขาไว้ได้ ส่วนในด้านการสอนนั้น หมอมองว่าเราไม่ได้สอนเหมือนอยู่ในห้องเรียน แต่เป็นการสอนในชีวิตจริงที่ลูกศิษย์จะมาปฏิบัติงานกับเรา เราเป็นทีมเดียวกัน ต้องช่วยกันตัดสินใจ เมื่อมีปัญหาเฉพาะหน้า ควรใช้เทคนิคการรักษาอย่างไร ผ่าตัดอย่างไร เราสอนเทคนิคการมองปัญหาให้ในระหว่างผ่าตัด นี่คือความมุ่งหวังที่อยากให้คนที่มาเรียนได้ตรงนี้ไปให้ได้มากที่สุด เพราะการถ่ายทอดประสบการณ์จะช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกได้ดีกว่าการอ่านตำราเพียงอย่างเดียว”


  • 2521 – 2527 แพทยศาสตรบัณฑิต, วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  • 2527 – 2528 Internships, รพ.พระมงกุฏเกล้า
  • 2530 – 2533 ว.ศัลยศาสตร์ทั่วไป, วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

ตารางออกตรวจ

คลินิก ศัลยกรรมทั่วไป

(18:00 - 19:00)

คลินิก ศัลยกรรมทั่วไป

(18:00 - 19:00)

คลินิก ศัลยกรรมทั่วไป

(18:00 - 19:00)

คลินิก ศัลยกรรมทั่วไป

(18:00 - 19:00)
Loading...
Loading...