พญ. มลเนตร คุณติรานนท์

พญ. มลเนตร คุณติรานนท์

พญ. มลเนตร คุณติรานนท์


ความชำนาญ
ตจวิทยา
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
ตจวิทยา
สาขา

ข้อมูลทั่วไป

“การรักษาโรคผิวหนัง อันดับแรกเลยคือต้องรู้ว่าคนไข้เป็นโรคอะไร เพื่อจะได้รักษาและป้องกันได้ตรงจุด สองคือการให้เวลาคนไข้ เราจะต้องคุย ต้องอธิบายวิธีแก้ไข การป้องกัน และรูปแบบการรักษาให้คนไข้รู้ถึงข้อดีข้อเสียของการรักษาแต่ละวิธี บอกผลข้างเคียงของการรักษาที่อาจเกิดขึ้น ระยะเวลาที่คาดว่าจะหายจากโรค ส่วนโรคไหนที่มีอาการเรื้อรัง เราก็ต้องบอกข้อเท็จจริงให้คนไข้ทราบ ข้อมูลที่ครบถ้วนจะทำให้คนไข้เลือกวิธีการรักษาได้ดี เป็นการตัดสินใจร่วมกันระหว่างหมอกับคนไข้”

 

 

หลังจาก พญ. มลเนตร คุณติรานนท์ จบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2536 คุณหมอได้ไปเป็นแพทย์ใช้ทุนที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ รังสิต และได้ศึกษาต่อเป็นแพทย์เฉพาะทางวุฒิบัตรตจวิทยา ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านโรคผิวหนังแล้ว คุณหมอได้เป็นแพทย์ที่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ประมาณหนึ่งปี ก่อนจะมาเป็นแพทย์ประจำที่โรงพยาบาล พญาไท 2 ในปี 2545 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งคุณหมอเล่าว่า. . .


“ตอนเป็นนักศึกษาแพทย์ ก็ต้องมีวนไปเรียนที่แผนกผิวหนังด้วย หมอรู้สึกสนใจและเกิดความสงสัยว่าคนไข้ที่มีอาการเป็นผดผื่นคล้ายๆ กันไปหมด แต่ทำไมอาจารย์แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ว่าผดผื่นแบบไหนคือโรคอะไร เกิดจากสาเหตุใด คือแยกได้ทั้งๆ ที่มองดูแล้วคล้ายกันมาก ซึ่งตอนนั้นหมอมองว่ายาก มีความซับซ้อน จึงทำให้เกิดความสนใจอยากจะเรียนรู้ทางด้านตจวิทยา ซึ่งวิชาตรงนี้จะเน้นเกี่ยวกับโรคผิวหนังเป็นหลัก คือดูแลรักษาโรคที่เกี่ยวกับผิวหนังทั้งหมดตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า รวมถึงเส้นผม และเล็บด้วย”

 

 

รักษาโรคผิวหนังที่หลากหลายทั่วร่างกาย

ที่ศูนย์ผิวหนัง โรงพยาบาล พญาไท 2 คุณหมอมลเนตร จะรักษาทุกโรคทุกปัญหาที่เกิดขึ้นกับผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็นสิว ฝ้า กระ ผดผื่น อาการคัน เป็นแผล เป็นตุ่ม เป็นก้อน ภูมิแพ้ผิวหนัง หรือแม้แต่อาการของโรคอื่นๆ ที่มีการแสดงโรคออกมาทางผิวหนัง เช่น มีผื่น บวมแดง มีเส้นเลือดอักเสบ โรคมะเร็ง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นหูด ตาปลา ซึ่งคุณหมอจะทำงานร่วมกับแพทย์เฉพาะทางด้านนั้นๆ เช่น แผนกอายุรกรรม แผนกมะเร็ง นอกจากนี้ยังรักษาโรคที่เกี่ยวศีรษะ เส้นผม และเล็บ อย่างผมร่วง มีปัญหาหนังศรีษะ เชื้อราในเล็บ เล็บร่อน เป็นต้น คุณหมอมลเนตรกล่าวถึงปัญหาผิวที่คนในสังคมเมืองต้องพบเจอว่า. . .


“ในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ หรือบางจังหวัดที่เป็นแหล่งโรงงานอุตสาหกรรม มักจะมีมลภาวะค่อนข้างสูง ทั้งฝุ่นละออง สารพิษ ควันรถยนต์ เมื่อไหร่ก็ตามที่เราอยู่นอกตัวอาคารก็ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผิวหนังของเราต้องสัมผัสกับมลภาวะโดยตรง หากต้องทำงานหรือจำเป็นต้องไปอยู่ในที่ที่มีมลพิษ ฝุ่นละออง ของเสียทั้งหลาย ก็ควรสวมหน้ากาก ใส่แว่นตาป้องกัน เมื่อกลับมาถึงบ้านก็ให้รีบอาบน้ำ หรือในสถานการณ์ที่โรคโควิด-19 ระบาด บางท่านอาจจะมีอาการแพ้สเปรย์ที่ฉีดฆ่าเชื้อโควิดตามสถานที่สาธารณะต่างๆ มีคนไข้มาพบหมอด้วยอาการเป็นผดผื่นโดยไม่รู้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เมื่อสอบถามก็ทราบว่าเพิ่งเอารถไปล้างและมีบริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโควิด-19 ภายในรถยนต์ ดังนั้นถ้ามีอาการผิดปกติ หรือมีผดผื่น ภูมิแพ้ คันตามผิวหนัง หากอาบน้ำชำระร่างกายแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรมาพบแพทย์จะดีกว่า”

 

 

เครื่องจำลองแสงอาทิตย์เทียม นวัตกรรมการรักษาโรคผิวหนัง

ปัจจุบันการรักษาโรคผิวหนังมีทั้งยาและเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องฉายแสง เครื่องบำบัดด้วยแสง หรือเครื่องจำลองแสงอาทิตย์เทียม (Excimer) ที่ใช้จำลองแสงยูวี (UVA, UVB) ซึ่งมีคุณสมบัติในการดึงเฉพาะช่วงแสงที่มีประโยชน์ และตัดช่วงแสงที่มีผลเสียต่อผิวหนังออกไป
เครื่องจำลองแสงอาทิตย์เทียมนี้ใช้สำหรับรักษาโรคผิวหนังบางชนิดที่สามารถทำให้หายและอาการขึ้นด้วยช่วงแสงที่ได้รับการวัดความเข้มข้น และความไวแสงที่เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคนในโรคสะเก็ดเงิน โรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคด่างขาว ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเรื้อรัง แม้กระทั่งโรคผมร่วงเป็นหย่อมๆ ก็ใช้ได้. . .

 


“หลักการก็เหมือนที่เวลาเราไปออกแดดแล้วอาการของโรคผิวหนังบางชนิดจะมีอาการดีขึ้น เพียงแต่การออกแดดจริงนั้นเราไม่สามารถตัดช่วงแสงที่มีผลเสียกับผิวออกไปได้ เครื่องฉายแสงอาทิตย์เทียมนี้ยังใช้กับผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถออกไปรับวิตามินดีจากแสงแดดตามธรรมชาติได้ด้วย”

 


นอกจากเทคโนโลยีนี้ ยังมีเทคนิคการใช้ความเย็นในการกำจัดหูด ตาปลา ซึ่งเป็นการจี้โดยใช้ความเย็นจัดแบบอุณหภูมิติดลบ หรือ Cryotherapy โดยใช้ไนโตรเจนเหลวจี้ลงไปที่หูด ตาปลา กระเนื้อ หรือตุ่มทั้งหลาย ก็จะทำให้เซลล์ตุ่มเหล่านี้แข็งตาย และค่อยๆ หลุดออกมาเองได้


ตารางออกตรวจ

คลินิก โรคผิวหนัง

(09:00 - 17:00)

คลินิก โรคผิวหนัง

(12:00 - 17:00)

คลินิก โรคผิวหนัง

(12:00 - 17:00)

คลินิก โรคผิวหนัง

(12:00 - 17:00)

คลินิก โรคผิวหนัง

(12:00 - 17:00)

คลินิก โรคผิวหนัง

(09:00 - 17:00)

คลินิก โรคผิวหนัง

(12:00 - 17:00)

คลินิก โรคผิวหนัง

(12:00 - 17:00)

คลินิก โรคผิวหนัง

(12:00 - 17:00)

คลินิก โรคผิวหนัง

(12:00 - 17:00)

คลินิก โรคผิวหนัง

(09:00 - 17:00)

คลินิก โรคผิวหนัง

(12:00 - 17:00)

คลินิก โรคผิวหนัง

(12:00 - 17:00)

คลินิก โรคผิวหนัง

(12:00 - 17:00)

คลินิก โรคผิวหนัง

(12:00 - 17:00)

คลินิก โรคผิวหนัง

(09:00 - 17:00)

คลินิก โรคผิวหนัง

(12:00 - 17:00)

คลินิก โรคผิวหนัง

(12:00 - 17:00)

คลินิก โรคผิวหนัง

(12:00 - 17:00)

คลินิก โรคผิวหนัง

(12:00 - 17:00)

คลินิก โรคผิวหนัง

(09:00 - 17:00)

คลินิก โรคผิวหนัง

(12:00 - 17:00)
Loading...
Loading...