ผศ. นพ. พลพร อภิวัฒนเสวี

ผศ. นพ. พลพร อภิวัฒนเสวี

ผศ. นพ. พลพร อภิวัฒนเสวี


ความชำนาญ
โสต ศอ นาสิกวิทยา
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
โสต ศอ นาสิกวิทยา
สาขา

ข้อมูลทั่วไป

ปัญหาการนอนกระทบต่อชีวิตเยอะ แต่คนไข้มักจะไม่รู้สึกว่าต้องพบแพทย์ในทันที เพราะคุณภาพชีวิตนั้นจะค่อยๆ เปลี่ยนไปช้าๆ โดยที่เจ้าตัวไม่ทันสังเกต การหยุดหายใจขณะหลับจะทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนไปชั่วขณะ ซึ่งส่งผลต่อการกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ และต่อตับอ่อนซึ่งมีส่วนสำคัญในการควบคุมน้ำตาลในเลือด การเผาผลาญไขมัน ความดัน ภาวะขาดออกซิเจนนี้ยังทำให้เส้นประสาทตาเสื่อมได้เร็วขึ้นด้วย และถ้าเกิดบ่อยๆ ก็จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือโรคหัวใจได้

ชำนาญการด้านโสต ศอ นาสิกวิทยาการนอนหลับ

นอกจากจะเป็นแพทย์ชำนาญการด้านโสต ศอ นาสิก (หู คอ จมูก) ที่ทำการรักษาโรคเฉพาะทางเช่น ภูมิแพ้ ไซนัส ไทรอยด์ ทอลซิลแล้ว นพ. พลพร อภิวัฒนเสวี ยังได้ศึกษาอนุสาขาโสต ศอ นาสิกวิทยาการนอนหลับ Diploma of the Thai Subspecialty Board of Sleep Otolaryngology (และเคยศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา, University of Cincinnati, USA) ซึ่งปัจจุบัน คุณหมอเป็นแพทย์ชำนาญการด้านการรักษาโรคที่เกี่ยวกับการนอนหลับ นอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ รวมถึงโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งยังเป็นอาจารย์แพทย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล อีกด้วย

 

 

รักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

คุณหมอเล่าว่า การประเมินคนไข้แต่ละราย นอกจากนอนกรนแล้วต้องดูถึงโรคหรือภาวะอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การมีความดันโลหิตสูงในคนอายุน้อย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือโรคอื่นๆ ที่เกิดขึ้นอันมีปัจจัยหนึ่งที่เกิดจากการมีโรคหรือภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ หรือจะพูดอีกอย่างว่า

 

“ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นปัจจัยหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้ การรักษาหรือแก้ไขภาวะหยุดหายใจขณะหลับจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อการควบคุมโรคอื่นๆ ที่สัมพันธ์กัน ถือเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาโรคนั้นๆ นั่นเอง”

 

 

จากแนวโน้มพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน ที่มีการแข่งขันสูง มีความเครียด พักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ และมีผู้ที่เป็นโรคอ้วนมากขึ้น ทำให้คุณหมอพบคนที่มี “ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ” มากขึ้นไปด้วย คุณหมอมองว่าโรคนี้มีความสำคัญกับชีวิต แม้ว่าการมีภาวะนี้ในระยะแรกๆ จะไม่ทำให้เสียชีวิต แต่ก็กระทบกับชีวิตประจำวัน และเป็นตัวแปรสำคัญในการเกิดโรคอื่นๆ ตามมา สำคัญที่คนใกล้ชิดจะต้องบอกและเตือนให้ไปพบแพทย์ เมื่อเห็นการหายใจติดขัดขณะนอนหลับของคนข้างๆ

 

 

หรือสำหรับใครก็ตาม เมื่อมีปัญหาการนอน จนทำให้รู้สึกง่วง เพลียตอนกลางวัน โดยเฉพาะผู้มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และมีการนอนกรนด้วย ก็ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและพิจารณาว่า ควรได้รับการตรวจหาภาวะการหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่ เพราะคนที่มีภาวะนี้ส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ตัว เนื่องจากเป็นการหยุดหายใจในช่วงสั้นๆ แต่เมื่อโรคลุกลามหรือเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นเวลานาน ก็อาจส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะจนทำให้เสียชีวิตได้

 

 

ตรวจการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

คุณหมอให้การตรวจรักษาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ 2 แบบหลักๆ คือ การตรวจ Sleep Test เพื่อวินิจฉัยว่ามีภาวะดังกล่าวหรือไม่และรุนแรงแค่ไหน หากพบว่ามีการนอนกรนหรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่รุนแรง ก็อาจพิจารณาให้มีการตรวจแบบส่องกล้องขณะหลับที่เรียกว่า Sleep Endoscopy เพื่อหาตำแหน่งที่มีโอกาสเกิดการอุดตันในขณะหลับ ดูว่าการขวางกั้นเกิดในอวัยวะใด มีการอุดตันบริเวณไหน ตั้งแต่ทางเดินหายใจส่วนบน จมูก ช่องคอ เพดานอ่อน ลิ้นไก่ กล่องเสียงส่วนต้น เพื่อวางแผนการรักษาหรือผ่าตัดต่อไปนั่นเอง


  • 2537 – 2542 แพทยศาสตรบัณฑิต, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • 2546 – 2548 วุฒิบัตร โสต ศอ นาสิกวิทยา (Otolaryngology), คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • 2550 – 2552 วุฒิบัตร โสต ศอ นาสิกวิทยาการนอนหลับ (Diploma of the Thai Subspecialty Board of Sleep Otolaryngology), University of Cincinnati USA

ตารางออกตรวจ

คลินิก หู คอ จมูก

(15:00 - 19:00)

คลินิก หู คอ จมูก

(15:00 - 19:00)

คลินิก หู คอ จมูก

(15:00 - 19:00)

คลินิก หู คอ จมูก

(15:00 - 19:00)
Loading...
Loading...