พญ. ดลจิตต์ ทวีโชติภัทร์

พญ. ดลจิตต์ ทวีโชติภัทร์

พญ. ดลจิตต์ ทวีโชติภัทร์


ความชำนาญ
โสต ศอ นาสิกวิทยา
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
โสต ศอ นาสิกวิทยา
สาขา

ข้อมูลทั่วไป

“ปัญหาวิงเวียนศีรษะและปัญหาการทรงตัว มักไม่เกี่ยวกับเรื่องอายุว่าจะน้อยหรือมาก เพราะสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย”

 

 

พญ. ดลจิตต์ ทวีโชติภัทร์ เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโสต ศอ นาสิกวิทยา ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลพญาไท 2 นอกจากคุณหมอจะรักษาโรคที่เกี่ยวกับหู คอ และจมูกโดยตรงแล้ว ยังรักษาคนไข้ที่มาด้วยอาการวิงเวียนศีรษะและการทรงตัวในหลายๆ กรณีที่มีความเกี่ยวพันกับสุขภาพหูอีกด้วย

 

 

อยากให้คนไข้ทุกคนกลับไปด้วยรอยยิ้ม คุณหมอดลจิตต์ เล่าถึงเหตุผลที่เลือกศึกษาต่อด้านหู คอ จมูก ว่า. . .


“เหตุที่เลือกศึกษาต่อด้านหู คอ จมูก ก็เพราะตอนเป็นแพทย์ใช้ทุนนั้น หมอได้เห็นคนไข้จำนวนมากที่สื่อสารลำบาก โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่หูจะไม่ค่อยได้ยิน แต่ที่เลือกมาเรียนที่ รพ. รามาธิบดี เพราะตอนนั้นเห็นว่ามีอาจารย์แพทย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องการรักษาโรคเวียนศีรษะด้วย คือเป็นอาจารย์ด้านระบบประสาท แม้ตอนจบแพทย์เฉพาะทางมาจะไม่ได้ลงลึกในรายละเอียด แต่พอลงตรวจจริงๆ ก็มีคนไข้ที่มีอาการเวียนศีรษะเยอะมาก หลายคนก็จะบอกว่าเกิดจากน้ำในหูไม่เท่ากัน ซึ่งจริงๆ แล้วมันไม่ใช่เสมอไป ก็เลยรู้สึกสนใจที่จะศึกษาให้ลึกซึ้งขึ้น การที่หมอได้เรียนกับอาจารย์ที่เก่ง ท่านตรวจโรคให้ดู รักษาให้เห็น ซึ่งผลก็ออกมาดี คนไข้จำนวนมากกลับมาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากคนที่เคยเวียนศีรษะมากๆ ใช้ชีวิตลำบาก เป็นภาระแก่ลูกหลาน ก็กลับมายิ้มแย้มแจ่มใสได้ หมอเลยเลือกมาดูงานเฉพาะด้านโสตประสาท สาขาโสตประสาทวิทยาเพิ่มเติม คือดูเรื่องคนไข้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหูและดูเรื่องการทรงตัว วิงเวียนศีรษะโดยเฉพาะ”

 

 

ไม่หยุดพัฒนา. . . เพื่อรักษาคนไข้ได้ดียิ่งขึ้น

โรควิงเวียนศีรษะไม่ใช่โรคที่จะรักษาให้หายในทันทีทันใด เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับตัวโรค ด้วยเหตุนี้ คุณหมอดลจิตต์ จึงมุ่งเน้นการรักษาที่สาเหตุของแต่ละราย และพัฒนาต่อยอดการรักษาในทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคุณหมอก็จะเลือกใช้การรักษาที่แตกต่างกันไปโดยพิจารณาถึงความเหมาะสม เพื่อผลที่ดีที่สุดกับคนไข้รายนั้นๆ. . .

 


“คนไข้ที่มาพบหมอด้วยอาการเวียนศีรษะ ก่อนอื่นหมอต้องแยกให้ได้ว่า อาการนั้นเกิดจากปัญหาของหู ประสาท หรือว่าร่างกายส่วนอื่นๆ บางคนมีปัญหาด้านจิตใจหรือมีความเครียดก็ทำให้เวียนศีรษะได้แล้ว ดังนั้นอาการเวียนศีรษะจึงเป็นของลึกลับสำหรับหมอทุกคน ซึ่งต้องวินิจฉัยให้ได้ว่าสาเหตุจริงๆ เกิดจากอะไรจะได้รักษาอย่างตรงจุด บางทีเรารักษาจนคนไข้ดีขึ้นแล้วแต่ก็สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีก แบบนี้ก็ต้องตรวจวิเคราะห์เจาะลึกกันมากขึ้น ซึ่งก็ต้องอาศัยเครื่องมือในการตรวจด้วย อย่างตอนนี้เราก็มีการนำนวัตกรรมทางการแพทย์มาใช้หลายอย่าง เช่น การใช้เครื่องมือตรวจวัดระดับความสมดุลของการทรงตัวและการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า Computerized Dynamic Posturography (CDP) ซึ่งช่วยให้หมอทราบเพิ่มเติมว่า คนไข้มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัวที่จุดไหนของร่างกาย อาจจะเป็นที่ระบบการมองเห็น การทรงตัวของหูชั้นใน หรือการทำงานของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ ทำให้เราทำการออกแบบท่าบริหารที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยได้ เมื่อมีระบบที่ชัดเจนและแม่นยำในการรักษาที่ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาของคนไข้คนนั้นๆ โดยเฉพาะ ผลการรักษาก็จะดีตามไปด้วย”

 

 

การให้เวลา และทำความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญ

เพราะโรคเวียนศีรษะต้องใช้เวลาในการรักษานาน คนไข้หลายคนต้องมาพบหมออย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติตามคำแนะนำของหมอ ซึ่งวิธีการที่ดีที่สุดในการดูแลคนไข้ นอกเหนือจากการรักษาก็คือการให้เวลากับคนไข้ได้พูดคุย เพราะบางคนอาจจะเกรงใจ ไม่อยากเล่าหรือคุยกับหมอนานๆ แต่คุณหมอดลจิตต์ จะให้เวลากับคนไข้เสมอ. . .

 


“หมออยากให้คนไข้ได้คุยกับหมอนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ใช้เวลากับคนไข้โดยที่ไม่จำกัดระยะเวลาในการบอกเล่าอาการ เพราะโรคนี้ไม่ใช่โรคที่รักษาแป๊บเดียวหาย ทุกครั้งหมอจึงต้องแจ้งคนไข้แต่แรกว่า ‘โรคนี้ใช้เวลานะ’ ซึ่งนั่นหมายรวมถึงระยะเวลาที่หมอกับคนไข้จะต้องคุยกัน ร่วมมือกันรักษาอย่างไม่จำกัด เพราะจริงๆ แล้วโรคเวียนศีรษะมีหลายแบบ แบบที่ไม่จำเป็นต้องทานยาก็มี บางทีเรื่องกายบริหารก็ช่วยให้หายได้ เพราะเป็นการช่วยกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายในแบบที่เหมาะสม ทำให้อาการป่วยดีขึ้นได้ ซึ่งทั้งหมดก็ต้องอาศัยความใส่ใจและเข้าใจในตัวโรคและตัวคนไข้”


  • 2539 – 2545 แพทยศาสตร์บัณฑิต, ม.มหิดล
  • 2549 – 2551 วว.ผู้เชี่ยวชาญสาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา, รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล
  • 2553 – 2554 Research fellowship in Diagnostic Neurotology, Washington University School of Medicine St.louisUSA

ตารางออกตรวจ

คลินิก หู คอ จมูก

(09:00 - 12:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(13:30 - 16:00)

คลินิก หู คอ จมูก

(09:00 - 12:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(13:30 - 16:00)

คลินิก หู คอ จมูก

(09:00 - 12:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(13:30 - 16:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(17:00 - 18:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(09:00 - 12:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(13:30 - 16:00)

คลินิก หู คอ จมูก

(09:00 - 12:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(09:00 - 12:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(13:30 - 16:00)

คลินิก หู คอ จมูก

(09:00 - 12:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(13:30 - 16:00)

คลินิก หู คอ จมูก

(09:00 - 12:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(13:30 - 16:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(17:00 - 18:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(09:00 - 12:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(13:30 - 16:00)

คลินิก หู คอ จมูก

(09:00 - 12:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(09:00 - 12:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(13:30 - 16:00)

คลินิก หู คอ จมูก

(09:00 - 12:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(13:30 - 16:00)

คลินิก หู คอ จมูก

(09:00 - 12:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(13:30 - 16:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(17:00 - 18:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(09:00 - 12:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(13:30 - 16:00)

คลินิก หู คอ จมูก

(09:00 - 12:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(09:00 - 12:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(13:30 - 16:00)

คลินิก หู คอ จมูก

(09:00 - 12:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(13:30 - 16:00)

คลินิก หู คอ จมูก

(09:00 - 12:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(13:30 - 16:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(17:00 - 18:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(09:00 - 12:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(13:30 - 16:00)

คลินิก หู คอ จมูก

(09:00 - 12:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(09:00 - 12:30)

คลินิก หู คอ จมูก

(13:30 - 16:00)
Loading...
Loading...