พ. ต. นพ. ชนินท์ องคนิกูล

พ. ต. นพ. ชนินท์ องคนิกูล

พ. ต. นพ. ชนินท์ องคนิกูล


ความชำนาญ
อายุรศาสตร์
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
อายุรศาสตร์
สาขา

ข้อมูลทั่วไป

เวลาคนไข้มาหาหมอ เขาก็ต้องอยากรู้ว่าอาการที่เขาเป็นคือโรคอะไร สาเหตุคืออะไร หมอจะต้องหาให้พบและให้คำตอบกับเขา และต้องให้ข้อมูลกับคนไข้ด้วยว่าการตรวจแบบไหน ทำไปเพื่อให้รู้อะไร อันไหนควรทำ สิ่งไหนเกินจำเป็น เพราะหมอก็ไม่อยากให้คนไข้ต้องเจ็บตัวจากการตรวจที่เกินจำเป็น ต้องพิจารณาถึงความพอเหมาะพอดี หรืออาจต้องเทียบความคุ้มค่าของผลที่จะได้กับค่าใช้จ่ายด้วย สุดท้ายคือเราต้องมีทางเลือกให้เขา เพื่อให้คนไข้ตัดสินใจเลือกเอง

 

 

พ. ต. นพ. ชนินท์ องคนิกูล จบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี 2537 และได้เป็นแพทย์ใช้ทุนอยู่ 1 ปี ก่อนเข้าศึกษาต่อวุฒิบัตรอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และยังได้ศึกษาเพิ่มเติมด้านเวชศาสตร์ครอบครัวอีกด้วย คุณหมอเล่าว่า. . .

 

“ที่เลือกเรียนแพทย์ ก็ด้วยเป็นเด็กขี้สงสัย คืออยากรู้ว่าทำไมร่างกายของคนเราจึงมีการเติบโต มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงอายุ ตั้งแต่เป็นทารก เป็นเด็ก และยิ่งพอโตเป็นวัยรุ่นก็ยิ่งมีการเปลี่ยนแปลงมาก คืออยากรู้ว่ามันเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร หรืออย่างตอนเราป่วย เช่น เรารู้สึกปวดตัว ปวดหลัง หรือพอเรามีก้อนอะไร แผลอะไร ก็จะสงสัยว่ามันเกิดจากอะไร หายได้อย่างไร การเรียนแพทย์น่าจะให้คำตอบเหล่านี้กับเราได้ อีกอย่างที่คิด คืออาชีพแพทย์นั้นสามารถช่วยเหลือคนรอบข้างและคนทั่วไปได้ด้วย เมื่อดูว่าเราก็เป็นคนที่ใส่ใจในรายละเอียดของร่างกายและสุขภาพ ก็น่าจะเหมาะกับการทำงานเป็นแพทย์”

 

 

อายุรแพทย์ที่มุ่งรักษาและดูแลคุณภาพชีวิตของคนไข้ให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

การรักษาโรคทางอายุรกรรม โดยหลักการคือการรักษาโรคที่สามารถรักษาด้วยยาแบบที่ไม่ต้องทำการผ่าตัด แต่เป็นการตรวจรักษาที่ลงลึกในรายโรคมากกว่าการตรวจรักษาโรคทั่วๆ ไป ในยุคเริ่มแรกสมัยที่คุณหมอชนินท์ เป็นแพทย์ใช้ทุนที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และตอนที่เป็นแพทย์ใหม่ๆ คุณหมอก็จะมีคนไข้หลายโรคหลากอาการ ไม่ว่าจะเป็นคนไข้โรคปอด ติดเชื้อในปอด โรคติดเชื้อในสมอง เนื้องอกในสมอง ติดเชื้อในลำไส้ หรือแม้แต่โรคที่ต้องทำหัตถการ เช่น ต้องเจาะน้ำในปอด เจาะน้ำไขสันหลัง เจาะไขกระดูก คุณหมอก็ทำมาแล้วทั้งสิ้น

 

 

แต่ด้วยคุณหมอชอบการรักษาแบบองค์รวม ซึ่งคล้ายๆ กับพื้นฐานทั้งหมดของโรคทางอายุรกรรม จึงมุ่งสู่เส้นทางของการรักษาโรคอายุกรรมทั่วไปและศึกษาต่อด้านนี้โดยเฉพาะ ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่ของคุณหมอก็จะเน้นไปที่อาการป่วยแบบปัจจุบันที่ไม่เรื้อรัง เช่น กลุ่มไข้หวัด ภูมิแพ้ ท้องเสีย ส่วนโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ไทรอยด์ ในกรณีคนไข้ที่ไม่ได้เป็นมากก็จะทำการรักษาให้ แต่หากเป็นกรณีที่คนไข้มีอาการรุนแรงก็จะส่งต่อให้แพทย์เฉพาะทางด้านนั้นๆ ดูแลต่อไป. . .

 

“เมื่อคนไข้เข้ามา หมอก็จะรักษาและให้คำแนะนำในการปรับพฤติกรรมตามโรคที่เขาเป็น จริงๆ แล้วอายุรแพทย์ก็มีหน้าที่สืบค้นให้ก่อนว่าคนไข้เป็นโรคอะไร ถ้าเป็นโรคที่รักษาด้วยยาหมอก็จะดูแลรักษาเอง ปัจจุบันวิทยาศาสตร์การแพทย์หรือในวงการเภสัชกรรมมีการผลิตยาชนิดใหม่ๆ ออกมาค่อนข้างมาก หมอก็จะติดตามศึกษาจากอินเทอร์เน็ตและจากการประชุมวิชาการต่างๆ และพิจารณาว่าควรนำยาตัวไหนมาใช้ในการรักษาเพิ่มเติมบ้าง บางโรคคนไข้ใช้ยาเดิมๆ มานานก็อาจเริ่มมีการดื้อยา ก็ต้องศึกษาว่ามียาตัวอื่นที่น่าจะเหมาะกว่าไหม นอกจากยา ก็ต้องศึกษาแนวทางการรักษาใหม่ๆ และถ้าเป็นโรคที่ต้องใช้แพทย์เฉพาะทาง หมอก็จะส่งต่อให้ อย่างเช่น เมื่อเราตรวจเจอว่าคนไข้เป็นมะเร็งตับ ก็จะส่งไปตรวจต่อโดยแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง เพื่อทำการรักษาที่เฉพาะเจาะจงต่อไป”

 

 

ดูแลทั้งคนไข้ และบุคลากรในรพ. พญาไท 3

นอกจากการรักษาโรคด้านอายุกรรมแล้ว คุณหมอยังเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ซึ่งมีหัวใจสำคัญคือการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และการให้คำปรึกษาแก่ทุกคนในครอบครัวของคนไข้ ซึ่งแนวทางจะคล้ายๆ กับรูปแบบของอายุรศาสตร์ คือจะให้คำปรึกษา แนะนำ และดูแลเบื้องต้นก่อนที่จะนำส่งไปตรวจในทางที่เฉพาะเจาะจง เช่น หากคนไข้มาด้วยอาการปวดท้อง คุณหมอก็จะตรวจเบื้องต้นก่อน เมื่อผลการตรวจออกมามีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคอะไร ก็จะส่งไปตรวจเพิ่มเฉพาะทางนั้น เพื่อไม่ให้คนไข้ต้องไปตรวจแบบสะเปะสะปะแบบครอบจักรวาล ซึ่งอาจเป็นการตรวจที่เยอะเกินไป ไม่คุ้มค่าใช้จ่าย การวินิจฉัยก่อนว่าคนไข้น่าจะเป็นโรคอะไรจึงมีความสำคัญ ซึ่งคุณหมอจะไม่มองข้ามโรคที่มันมีอาการใกล้เคียงกัน เช่น คนไข้ที่ปวดท้องก็ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคทางเดินอาหารเท่านั้น อาจจะเป็นโรคไตก็ได้ การมองภาพแบบองค์รวมโดยดูทั้งอาการ ผลห้องปฎิบัติการ ประวัติสุขภาพ พฤติกรรมการใช้ชีวิต ก็ยังคือหัวใจสำคัญของการวินิจฉัย เพื่อหาโรคที่แท้จริง นำไปสู่การรักษาที่ถูกจุดต่อไป

 

 

นอกจากการรักษาคนไข้แล้ว ที่โรงพยาบาลพญาไท 3 คุณหมอชนินท์ ยังเป็นประธานศูนย์โรคติดเชื้อของโรงพยาบาล โดยทำหน้าที่ควบคุมโรคติดเชื้อภายในโรงพยาบาล ดูแลนโยบายการป้องกันการติดเชื้อ อย่างเช่น ในช่วงที่มีโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นโรคระบาดใหม่ หรือมีโรคระบาดในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น โรคไข้เลือดออก ก็จะดูแลเรื่องมาตรการเพื่อเป็นมาตรฐานในการดูแลคนไข้ การฉีดวัคซีนให้กับบุคลากร กำหนดมาตรการการดูแลบุคลากร มีการควบคุมการปลอดเชื้อ มาตรฐานผลแล็บ น้ำที่ใช้ ซึ่งทั้งหมดก็เพื่อการปลอดเชื้อและความปลอดภัยของผู้เข้ารับบริการ รวมถึงบุคลากรในโรงพยาบาลด้วยเช่นกัน


  • 2531 – 2537 แพทย์ศาสตร์บัณฑิต , คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • 2539 – 2541 วุฒิบัตรอายุรศาสตร์ , โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
  • 2543 – 2545 วุฒิบัตร สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว , แพทยสภา
  • 2548 – 2552 บริหารธุรกิจ , มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ตารางออกตรวจ

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 13:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 16:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 20:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 20:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 20:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 13:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 16:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 20:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 20:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 20:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 13:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 16:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 20:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 20:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 20:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 13:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 11:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 16:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 20:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 20:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 20:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 13:00)

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

(08:45 - 16:00)
Loading...
Loading...