พญ.  นภาศรี ชัยสินอนันต์กุล

พญ. นภาศรี ชัยสินอนันต์กุล

พญ. นภาศรี ชัยสินอนันต์กุล


ความชำนาญ
อายุรศาสตร์
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
ประสาทวิทยา
สาขา

ข้อมูลทั่วไป

ตรวจให้เร็ว. . . รักษาทันทีทุกภาวะฉุกเฉิน

 

ความใส่ใจและการให้เวลา… เป็นสิ่งสำคัญที่หมอโรคหลอดเลือดสมองจะต้องมี เพราะในบางครั้งก็จำเป็นที่จะต้องเฝ้าอยู่ข้างเตียงคนไข้เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงทุกวินาทีว่ามีอาการดีขึ้นแค่ไหนจากการรักษา เพราะธรรมชาติของโรคนี้มีโอกาสที่จะเกิดภาวะฉุกเฉินได้ตลอดเวลา ยิ่งได้คอยสังเกตและพบเร็ว หรือคนไข้สามารถบอกเราได้เร็ว การรักษาเพิ่มเติมก็จะทำได้ทันที เพราะโรคหลอดเลือดสมองยิ่งรักษาเร็วยิ่งลดความเสี่ยงที่จะกลายเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้มากขึ้นเท่านั้น

 

 

พญ. นภาศรี ชัยสินอนันต์กุล แพทย์ผู้ชำนาญการด้านประสาทวิทยา และโรคหลอดเลือดสมอง หรือที่รู้จักกันในชื่อของ “อัมพฤกษ์ อัมพาต” มองว่าระบบประสาทและหลอดเลือดสมองมีความละเอียดอ่อนและเป็นจุดศูนย์รวมของระบบต่างๆ ในร่างกาย จากความสนใจนี้เองจึงได้ศึกษาต่อด้านระบบประสาทวิทยา ที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า และอนุสาขาโรคหลอดเลือดสมองและการตรวจหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงเดินทางไปศึกษาต่อด้านโรคหลอดเลือดสมองที่ University of California, Los Angeles (UCLA), USA อีกด้วย

 

 

ศึกษางานวิจัย จัดประชุมวิการ และเป็นบรรณาธิการวารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย

เมื่อเป็นแพทย์ผู้ชำนาญการด้านระบบประสาทและโรคหลอดเลือดสมองแล้ว คุณหมอก็ยังศึกษาหาความรู้จากงานวิจัยของต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา ทั้งยังจัดประชุมวิชาการ neuro x-ray conference ทุกสัปดาห์ และเป็นบรรณาธิการวารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย (Journal of Thai Stroke Society) เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับแพทย์รุ่นน้องตามโรงพยาบาลต่างๆ รวมถึงพยาบาลในทีมอีกด้วย

 

 

“การเป็นแพทย์ที่ดีต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ทั้งจากงานวิจัยและประสบการณ์การรักษา ซึ่งแม้แต่โรคเดียวกันที่เกิดในแต่ละคน บางครั้งการรักษาก็ไม่เหมือนกัน เพราะโดยธรรมชาติของโรงหลอดเลือดสมองนั้นจะมีอาการที่แปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาใน 72 ชม. แรก ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความรุนแรง จึงต้องดูแลคนไข้อย่างใกล้ชิดและปรับเปลี่ยนยาหรือวิธีการรักษาให้เหมาะกับอาการของคนไข้”

 

 

หนึ่งในทีมแพทย์ผู้ริเริ่ม Acute Stroke Unit

พญ. นภาศรี ยังเป็นหนึ่งในทีมแพทย์ผู้ริเริ่มจัดทำ “Acute Stroke Unit” หรือ “หอผู้ป่วยวิกฤตโรคหลอดเลือดสมอง” เพื่อการดูแลคนไข้อัมพาตเฉียบพลันอย่างใกล้ชิดและทันท่วงทีตลอด 24 ชม. ซึ่งปัจจุบัน รพ. พญาไท 1 นับเป็นโรงพยาบาลที่มีศูนย์หลอดเลือดสมองระดับสูง Comprehensive stroke center ในระดับมาตรฐานโลก จากสถาบัน DNV GL มีการใช้ Mobile Stroke Unit รถพยาบาลที่มีเครื่อง CT Scan ในรถ ทำให้สามารถให้การรักษาได้ตั้งแต่หน้าบ้านและระบบ 24 hours Stroke Fast Track ที่ลัดทุกขั้นตอนเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างรวดเร็ว สามารถฉีดยาละลายลิ่มเลือดได้ภายใน 1 ชั่วโมงตามที่มาตรฐานโลกกำหนด และยังมีศูนย์ลากลิ่มเลือดในสมอง (Clot Retrieval Center) อีกด้วย

 

 

เพื่อความรวดเร็วในการรักษา คุณหมอยังใช้ระบบ Rapid Software MRI เพื่อการวินิจฉัยเนื้อสมองส่วนที่ดี ส่วนที่เสีย หรือที่ก่ำกึ่ง โดยวิเคราะห์จากผลเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์และประมวลผลกลับมาภายใน 10-15 นาที ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสและทางเลือกการรักษาให้เหมาะกับอาการที่เป็นได้ดีขึ้น เร็วขึ้น และปลอดภัยมากขึ้น ทั้งยังสามารถพิจารณาให้การรักษาด้วยวิธีลากก้อนเลือดได้ยาวขึ้นถึง 24 ชม. หลังเกิดอาการ จากเดิมที่หากเลย 6 ชม. ไปแล้วไม่สามารถพิจารณาให้ได้ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีโรงพยาบาลที่ใช้ระบบนี้เพียง 3 แห่งเท่านั้น

 

 

ความรู้ ประสบการณ์ กับการไม่ยอมแพ้

“การเป็นหมอโรคหลอดเลือดสมอง แม้จะเจอคนไข้ที่อาการหนักหนาสาหัสแค่ไหน ก็ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ทั้งหมดที่มีช่วยให้เขาดีขึ้นให้ได้อย่างดีที่สุด และต้องไม่ยอมแพ้ที่จะหาวิธีรักษาคนไข้ให้ดีขึ้นให้ได้ หมอจะต้องพร้อมรับมือกับภาวะฉุกเฉิน ต้องรีบวินิจฉัยและรักษาให้สุดความสามารถ”

 

 

เพราะสมองคือศูนย์รวมการควบคุมร่างกายโดยทำงานประสานกับอวัยวะต่างๆ ควบคู่ไปกับหัวใจ ถ้าสมองผิดปกติไป ร่างกายก็อาจสูญเสียการควบคุมในส่วนที่สมองผิดปกติ การตรวจคัดกรองก็เพื่อให้เราทราบถึงความเสี่ยง จะได้ป้องกันและควบคุมดูแลให้เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะคนที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป หรือมีภาวะความดันโดหิตสูง เป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือแม้แต่ผู้ที่มีอาการทางระบบประสาทแต่ยังหาสาเหตุของโรคไม่พบ เช่น ปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดหัวมากขึ้นเรื่อยๆ ปวดแบบเป็นๆ หายๆ ก็อาจพิจารณาเข้าพบแพทย์ผู้ชำนาญการ ซึ่งคุณหมอก็จะพิจารณาให้การตรวจตามความเหมาะสม เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง การตรวจอัลตร้าซาวด์หลอดเลือดที่คอ หรือดูการไหลเวียนของหลอดเลือดสมอง และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องตรงจุดและทำการรักษาต่อไป


  • 2538 – 2544 แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์, โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล
  • 2545 – 2549 ประกาศนียบัตรบัณฑิต วิทยาศาสตร์การแพทย์, ม.มหิดล
  • 2549 – 2551 วุฒิบัตรประสาทวิทยา, รพ.พระมงกุฎเกล้า
  • 2551 – 2552 Certificated Neurovascular Interpretation, Wake Forest UniversityUSA
  • 2552 – 2553 วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2553 – 2553 ประกาศนียบัตร โรคหลอดเลือดสมอง, รพ.จุฬาลงกรณ์

ตารางออกตรวจ

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(08:00 - 12:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(08:20 - 12:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(08:00 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(08:00 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(08:20 - 12:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(08:00 - 12:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(08:20 - 12:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(08:00 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(08:00 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(08:20 - 12:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(08:00 - 12:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(08:20 - 12:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(08:00 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(08:00 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(08:20 - 12:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(08:00 - 12:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(08:20 - 12:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(08:00 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(08:00 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(08:20 - 12:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(08:00 - 12:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(08:20 - 12:00)
Loading...
Loading...