นพ.  สิทธิ เพชรรัชตะชาติ

นพ. สิทธิ เพชรรัชตะชาติ

นพ. สิทธิ เพชรรัชตะชาติ


ความชำนาญ
อายุรศาสตร์
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
ประสาทวิทยา
สาขา

ข้อมูลทั่วไป

โรคกลุ่มอาการทางสมองหรือประสาทวิทยา โดยเฉพาะโรคที่เป็นการเคลื่อนไหวผิดปกติจะต้องมีความละเอียดอ่อนในการวินิจฉัยและการดูแลรักษา เพราะขึ้นชื่อว่าการเคลื่อนไหว คนไข้แต่ละคนย่อมใช้ชีวิตและมีกิจวัตรที่ไม่เหมือนกัน การใช้ยาจึงต้องมีการติดตามผลทุกวัน ซึ่งเราจะมีพยาบาลวิชาชีพที่คอยติดตามและให้คำปรึกษาเบื้องต้น หมอก็จะเป็นผู้วิเคราะห์ พิจารณาปรับยาให้เหมาะสมกับภาวะหรืออาการ เพื่อผลการรักษาและคุณภาพชีวิตของคนไข้ที่ดีขึ้น


สมองและระบบประสาทเป็นอวัยวะที่ควบคุมและมีความสัมพันธ์กับทุกส่วนของร่างกาย มีความลึกลับซับซ้อน และเป็นศาสตร์ทางการแพทย์ที่มีความยากในค้นหาให้เจอสาเหตุและตัวโรค นอกจากการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ ยังต้องได้รับการวินิจฉัยและการรักษาจากแพทย์เฉพาะทาง

 

 

ซึ่งนอกจาก นพ. สิทธิ เพชรรัชตะชาติ จะเป็นแพทย์ด้านประสาทวิทยาแล้ว คุณหมอยังเป็นแพทย์ชำนาญการด้านโรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติอีกด้วย การที่เคยเป็นอาจารย์พิเศษ ศูนย์รักษาโรคพาร์กินสัน รพ. จุฬาลงกรณ์ และปัจจุบันยังเป็นกรรมการชมรมโรคพาร์กินสันไทย ของสมาคมประสาทวิทยา อีกทั้งเป็นวิทยากรรับเชิญจากสมาคมวิชาชีพต่างๆ ในทุกๆ ปี ทำให้คุณหมอไม่หยุดที่จะศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อการรักษาคนไข้ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น และถ่ายทอดความรู้สู่วงการแพทย์อยู่เสมอ

ศึกษาต่อยอด อนุสาขาด้านพาร์กินสันและการเคลื่อนไหวผิดปกติ

กลุ่มโรคสมองและระบบประสาทที่คุณหมอรักษาอยู่นั่นมีอยู่หลายกลุ่มโรค เช่น กลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง กรณีโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน หลอดเลือดสมองโป่งพอง เลือดออกในสมอง กลุ่มอาการลมชัก เนื้อสมองอักเสบ เส้นประสาทอักเสบ หรือกลุ่มโรคที่ไม่ใช่อาการทางสมองแต่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น โรคระบบไขสันหลัง ระบบประสาทส่วนปลาย เส้นประสาทอักเสบ และกล้ามเนื้ออ่อนแรง

 

 

นอกจากนี้ คุณหมอยังศึกษาต่อยอดอนุสาขาโรคพาร์กินสันและการเคลื่อนไหวผิดปกติ จึงมีความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาคนไข้โรคสมองเสื่อมพาร์กินสันโดยตรง รวมถึงโรคที่คล้ายพาร์กินสันที่เกิดจากก้านสมองเสื่อม และโรคระบบการเคลื่อนไหวผิดปกติอื่นๆ เช่น กล้ามเนื้อกระตุก กล้ามเนื้อบิดเกร็ง มีภาวะสั่น เดินเซ เป็นต้น

 

 

โรคพาร์กินสัน โดยปกติประมาณ 95% จะเป็นการรักษาด้วยยาเพื่อปรับสมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งก็ต้องมีการปรับยาให้เหมาะกับอาการและสาเหตุของการเกิดโรค รวมถึงต้องพิจารณาลักษณะการใช้ชีวิตของผู้ป่วยแต่ละราย เมื่อคนไข้กินยาไปนานๆ 5-10 ปี ก็อาจมีภาวะตอบสนองต่อยาน้อยลง หรือมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการรักษา หมอก็จะพิจารณาข้อบ่งชี้ว่าควรทำการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าสมองส่วนลึก (Deep Brain Stimulation, DBS) ซึ่งในการผ่าตัดจะทำโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญรวมถึงตัวคุณหมอเอง ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยและให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด

 

 

“ข้อดีของการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าสมองส่วนลึก คือแพทย์ยังสามารถปรับตั้งเครื่องหลังผ่าตัดเพื่อให้สอดคล้องกับอาการของผู้ป่วยได้อยู่เสมอ และเมื่อคิดในด้านความคุ้มค่าแล้ว ก็มีค่าใช้จ่ายในระยะยาวที่ประหยัดกว่าการรักษาแบบการให้ยาต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการให้ยาทางหน้าท้องโดยฉีดยาเข้าชั้นไขมัน หรือการฝังสายส่งยาเข้าไปสู่กระเพาะอาหารและลำไส้”

ประสบการณ์กว่า 10 ปีในการรักษาคนไข้โรคพาร์กินสัน

จากประสบการณ์การรักษาโรคพาร์กินสันมายาวนานกว่า 10 ปี คุณหมอมีเห็นว่า เพราะโรคทางประสาทวิทยาที่เกี่ยวกับเคลื่อนไหวนั้นเป็นการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้าง

 

 

นอกจากยาที่ใช้ในการรักษาแล้ว นวัตกรรมในการตรวจวินิจฉัยถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ในปัจจุบันมีการตรวจด้วยวิธีการทำ PET/CT Scan ที่สามารถตรวจหาความผิดปกติของสมองได้ดีกว่าเครื่องเอกซเรย์ในสมัยก่อน และเพราะโรคพาร์กินสันยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยจากสาเหตุการเกิดที่ต่างกัน การตรวจในรูปแบบใหม่ เช่น การตรวจทางพันธุกรรมระดับยีน หรือการตรวจหาว่าสมองขาดสารเคมีตัวใด ก็เป็นวิธีการที่จะช่วยให้การวินิจฉัยนั้นแม่นยำ การเลือกยาและวิธีรักษาก็จะทำได้ตรงจุดมากขึ้น

 

 

ส่วนรูปแบบการรักษาในอนาคตอันใกล้นี้ อาจมีการนำ Focusing Ultrasound มาใช้ ซึ่งก็คือการส่งคลื่นอัลตร้าซาวด์เข้มข้นสูงเข้าสู่สมองส่วนที่เป็นปัญหา เพื่อเป็นการยับยั้งอาการที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งวิธีการนี้ถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการมือสั่นบ้างแล้ว

 

 

แม้การรักษาโรคพาร์กินสันจะไม่ได้ช่วยชะลอการดำเนินโรคหรือทำให้โรคหายขาดได้ แต่ข้อดีของการรักษาตั้งแต่ยังมีอาการน้อยก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่มักเกิดจากอุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากการควบคุมร่างกายได้ไม่ดี อย่างการหกล้ม กระดูกหัก การสำลักอาหารจนเกิดการติดเชื้อที่ปอด เป็นต้น


  • 2542 – 2548 แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์, รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล
  • 2551 – 2554 วุฒิบัตรประสาทวิทยา, รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล
  • 2554 – 2556 แพทย์ต่อยอดสาขา Movement Disorder, รพ.จุฬาลงกรณ์

ตารางออกตรวจ

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:00 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:30 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(14:00 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:30 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:30 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:30 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(14:00 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:30 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(14:00 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:00 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:30 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(14:00 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:30 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:30 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:30 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(14:00 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:30 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(14:00 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:00 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:30 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(14:00 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:30 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:30 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:30 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(14:00 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:30 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(14:00 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:00 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:30 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(14:00 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:30 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:30 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:30 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(14:00 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:30 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(14:00 - 15:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:00 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:30 - 11:30)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(14:00 - 15:00)
Loading...
Loading...