พญ. วรรณวดี ลักษณ์สุรพันธุ์

พญ. วรรณวดี ลักษณ์สุรพันธุ์

พญ. วรรณวดี ลักษณ์สุรพันธุ์


ความชำนาญ
เวชศาสตร์ฟื้นฟู
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
เวชศาสตร์ฟื้นฟู
สาขา

ข้อมูลทั่วไป

เพราะผู้ป่วย. . ไม่ได้ป่วยแค่ทางร่างกาย แต่ยังส่งผลไปถึงสภาพจิตใจและอารมณ์ การฟื้นฟูก็เพื่อแก้ไขความบกพร่องทางร่างกายที่มีเป้าหมายในการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละบุคคลโดยหลักของเวชศาสตร์ฟื้นฟู ควบคู่ไปกับการรักษาโรคตามสาเหตุที่ได้มาตรฐาน

 

 

หลังจบการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2549 แล้ว พญ. วรรณวดี ลักษณ์สุรพันธุ์ ได้ศึกษาต่อเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู เพราะเมื่อตอนใช้ทุนเป็นแพทย์ที่รพ. ราชประชาสมาสัยนั้น คุณหมอได้เห็นผู้ป่วยที่มีอาการมือและเท้าอ่อนแรงจากการที่เส้นประสาทถูกทำลายอันสืบเนื่องมาจากการเป็นโรคเรื้อนเป็นจำนวนมาก จึงอยากศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

 

เมื่อจบแพทย์เฉพาะทางและได้มาเป็นแพทย์ที่ รพ. พญาไท1 แล้ว พญ. วรรณวดี ได้มีโอกาสดูแลผู้ป่วยจำนวนมากที่มีอุปสรรคในการกลับมาใช้ชีวิตภายหลังจากการป่วย โดยเฉพาะโรคที่มีความซับซ้อน มีอาการรุนแรง เรื้อรัง หรือมีอาการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลงอย่างต่อเนื่องหลายกลุ่มโรค อย่างผู้ป่วยกลุ่มโรคระบบประสาท โรคหลอดเลือดสมอง พาร์กินสัน หรือโรคสมองเสื่อมที่มักมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น อ่อนแรง ทรงตัวไม่ดี ก็ต้องมีการฟื้นฟู ฝึกเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ ฝึกการเดิน การทรงตัวเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการหกล้ม

 

 

ผู้ป่วยกลุ่มโรคกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อที่มีปัญหาข้อเข่า ข้อสะโพก กระดูกสันหลัง หรือหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม การรักษาผู้ที่มีอาการปวดต่างๆ เพื่อการลดปวด ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยา การฝึกเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพื่อช่วยพยุงข้อต่อต่างๆ ให้ได้ดีขึ้น ก็เป็นทั้งการฟื้นฟูและป้องกันการลุกลามของโรค

 

 

ซึ่งยังรวมไปถึงผู้ป่วยในกลุ่มโรคหัวใจ ที่ผู้ป่วยทำการสวนหัวใจหรือที่ผ่าตัดหัวใจมาแล้ว ก็ต้องได้รับการฟื้นฟูกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้กลับมาดีขึ้น ทั้งในการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงาน รวมถึงการกลับมาเล่นกีฬาอย่างปลอดภัย

 

 

“เราดูแลผู้ป่วยในหลายๆ กลุ่ม อย่างโรคที่มีความซับซ้อน เช่น หลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคกระดูกคอเสื่อม กระดูกสันหลังเสื่อม ซึ่งผู้ป่วยจะมีความบกพร่องหรือสูญเสียความสามารถบางอย่าง การดูแลแบบบรรเทาอาการและการฟื้นฟูนี้จะช่วยลดความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ และในหลายๆ ราย ก็จะทำควบคู่ไปกับรักษาโรคหลักของผู้ป่วยด้วย”

 

 

นวัตกรรม. . . เครื่องมือสำคัญของแพทย์

ปัจจุบันผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรง หรือมีการเคลื่อนไหวผิดปกติจากโรคอันเกิดจากภาวะเสื่อมทางระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ประสาทไขสันหลังเสื่อม พาร์กินสัน ความจำเสื่อม มีแนวโน้มสูงขึ้นตามวิวัฒนาการทางการแพทย์ทำให้อายุขัยเฉลี่ยของคนยืนยาวขึ้น การฟื้นฟูการเคลื่อนไหวโดยเฉพาะการเดิน และการใช้งานของแขนและมือ มีส่วนให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจกรรมต่างๆ หรือชะลอการดำเนินโรคของผู้ป่วยได้

 

 

นวัตกรรมหุ่นยนต์ฝึกการเคลื่อนไหวทางด้านการเดินจะช่วยส่งเสิมให้ผู้ป่วยสามารถฝึกเดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย ลดความเสี่ยง และความกังวลต่อการล้ม จำลองการเคลื่อนไหวของขาให้ก้าวเดินอย่างเป็นธรรมชาติ ช่วยผ่อนแรง ส่งเสริมให้สามารถฝึกซ้ำๆได้มากพอต่อการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ส่วนหุ่นยนต์ฝึกการเคลื่อนไหวแขนและมือสามารถสนับสนุนให้ผู้ป่วยเรียนรู้ในการสั่งควบคุมการเคลื่อนไหวแขน หุ่นยนต์ทั้งสองชนิดสามารถออกแบบรูปแบบในการฝึกให้สอดคล้องกับผู้ป่วยแต่ละรายด้วยเกมจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ และยังสามารถเก็บข้อมูลและสะท้อนให้ผู้ป่วยได้ทราบถึงความก้าวหน้าในการฝึก มีการนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนในการฝึกต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมศักยภาพให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการอย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

ปกติแล้วผู้ป่วยทุกรายจะต้องได้รับการตรวจประเมินโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูว่าเหมาะกับสำหรับหุ่นยนต์ฝึการเคลื่อนไหวหรือไม่โดยพิจารณาจากโรค อาการปัจจุบัน และคัดกรองข้อห้าม หรือข้อพึงระวังสำหรับการฝึกด้วยหุ่นยนต์ เช่น ภาวะโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด ภาวะเกร็งกล้ามเนื้อระดับรุนแรง หรือข้อยึดติด เป็นต้น

 

 

แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ดูแลควบคู่การรักษา

“เวชศาสตร์ฟื้นฟู คือการรักษาที่มุ่งฟื้นฟูความบกพร่องทางร่างกายของผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อการทำงานของปอดและหัวใจ อาการปวด หรือแม้กระทั่งการพูด การสื่อสาร อันเป็นข้อจำกัดในการดำเนินชีวิตให้กลับมาใช้ชีวิตได้ดีกว่าเดิม ในผู้ป่วยบางรายที่มีความซับซ้อน เช่น เป็นโรคที่รุนแรง มีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน การดูแลแบบองค์รวมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพไม่เพียงแต่แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักกำหนดอาหาร เภสัชกร นักจิตบำบัด รวมถึงผู้ป่วยและผู้ดูแลล้วนมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูผู้ป่วย การสื่อสารระหว่างทีมจึงมีความสำคัญเพื่อกำหนดทิศทางในการรักษาให้สอดคล้อง ระบบการประชุมทีมในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยซับซ้อนจึงเป็นเวทีในการสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลในมุมมองของแต่ละวิชาชีพ เพื่อติดตามความก้าวหน้า วางแผน และตั้งเป้าหมายในการรักษาอย่างมีประสิทิภาพ และความใส่ใจในความต้องการของผู้ป่วย และผู้ดูแลให้การรักษาเหมาะสมตามบริบทของผู้ป่วยแต่ละคน”

 

 

ดูแลครบทั้งโรคทั่วไป และโรคซับซ้อน

โรคทั่วๆ ไปที่ส่งผลกระทบเรื้อรัง กลุ่มอาการปวดตึงกล้ามเนื้อ หรือ “โรคออฟฟิศซินโดรม” ที่พบได้ทั่วไปมักมีอาการหลากหลายทั้งปวดเล็กน้อยให้รำคาญ จนถึงปวดรุนแรงจนไม่สามารถทำงานได้ และส่วนใหญ่เป็นเรื้อรัง

 

 

นอกเหนือจากการค้นหาจุดปวด และรักษาอาหารปวดโดยวิธีทางกายภาพเช่น การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ รักษาโดยคลื่นอัลตราชาวด์ เครื่องช็อกเวฟ หัตถการทางการแพทย์โดยการใช้เข็มสะกิดคลายกล้ามเนื้อ การสืบค้นสาเหตุกระตุ้น และแก้ไข มีส่วนสำคัญในการป้องกันการกำเริบซ้ำ โดยมักเป็นจากพฤติกรรมซ้ำๆ ของผู้ป่วย เช่น ท่าทางในการทำงาน การเพ่งมองจอคอมพิวเตอร์หรือจอโทรศัพท์มือถือ การจัดสิ่งแวดล้อมโต๊ะทำงาน ความสูงโต๊ะ เก้าอี้ที่ไม่เหมาะสมกับสรีระ แม้กระทั่งแสงสว่างในที่ทำงานไม่เพียงพอ เป็นต้น นอกจากนี้การออกกำลังกายเพื่อรักษา นอกจากลดภาวะตึงของกล้ามเนื้อจนอาการปวดทุเลาแล้ว การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อร่วมกับการสร้างสมดุลในการเคลื่อนไหวในกิจกรรมที่ต้องทำเป็นประจำจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจกรรมได้อย่างปลอดภัย


  • 2543 – 2549 แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2553 – 2555 วุฒิบัตรเวชศาสตร์ฟื้นฟู ป.บัณฑิตขั้นสูง, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไม่พบตารางนัดหมาย

กรุณาโทร 1772


Loading...
Loading...