พญ. เมธชนัน เลิศชุณหะเกียรติ

พญ. เมธชนัน เลิศชุณหะเกียรติ

พญ. เมธชนัน เลิศชุณหะเกียรติ


ความชำนาญ
เวชศาสตร์ป้องกัน
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
เวชศาสตร์ป้องกัน
สาขา

ข้อมูลทั่วไป

แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัย จะทำหน้าที่เหมือนเป็น Coaching ด้านสุขภาพ โดยมีหัวใจสำคัญคือ การทำให้คนไข้มีความรู้ มีวินัย มีใจที่จะเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตในแบบที่สามารถดูแลตัวเองได้อย่างต่อเนื่องโดยมีสุขภาพดี และยังสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของตนเอง หมอเองจะดูแลทั้งการป้องกันและการรักษาโรค เมื่อคนไข้เข้ามาพบหมอ แล้วตรวจพบว่าคนไข้มีภาวะขาดสมดุลไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิตามินหรือฮอร์โมน หมอก็จะวินิจฉัยและบำบัดด้วยการจ่ายวิตามิน หรืออาหารเสริมให้แบบเฉพาะบุคคลหรือ Personalized Supplement และแนะนำการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เพื่อให้ได้สุขภาพที่ดีกลับคืนมา

 

เวชศาสตร์ชะลอวัยและเวชศาสตร์ป้องกัน ความสัมพันธ์ที่ลงตัว

เมื่อครั้ง พญ. เมธชนัน เลิศชุณหะเกียรติ เป็นแพทย์ใช้ทุนอยู่นั้น ในแต่ละวันจะต้องตรวจคนไข้จำนวนมาก ส่วนใหญ่ก็จะเป็นกลุ่มคนไข้โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรม และอาจเพราะคนไข้มักไม่มีความรู้ในการดูแลตนเองโดยเฉพาะด้านโภชนาการ ไม่รู้ว่าต้องกินข้าวกินแป้งให้น้อยลงเมื่อเป็นเบาหวาน คนไข้จึงคุมเบาหวานได้ไม่ดี ต้องกินยาไปตลอด

 

 

ซึ่งนั่นทำให้คุณหมอคิดว่า การรักษาโรคในเชิงป้องกันน่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนไข้ดีขึ้นได้ เมื่อมีโอกาสคุณหมอจึงได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และยังศึกษาด้านเวชศาสตร์ป้องกัน เพิ่มเติมอีกด้วย

 

 

ทุกวันนี้ คุณหมอจึงทำหน้าที่ดูแลคนไข้ โดยใช้ทั้งเวชศาสตร์การป้องกัน ที่เน้นการป้องกันระดับแรกหรือ Primary Prevention คือการให้ความรู้กับคนไข้ให้มากที่สุดในทุกการรักษา ซึ่งก็จะมีหลายระดับคือ ป้องกันตั้งแต่ยังไม่เกิดโรค ป้องกันตอนที่เริ่ม Detection โรคได้แล้ว และตอนที่เกิดโรคแล้วเพื่อไม่ให้โรครุนแรงขึ้น และในส่วนของเวชศาสตร์ชะลอวัยหรือ Anti-Aging ก็จะเน้นการให้ความรู้ในเรื่องของ Primary Prevention ก็คือก่อนที่จะเกิดโรคนั่นเอง

 

 

ดูแลคนไข้ทั้งก่อนเกิดโรคและหลังเกิดโรค

พญ. เมธชนัน เลิศชุณหะเกียรติ เป็นคุณหมอเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ คนไข้ที่เข้ามาพบคุณหมอจะมีตั้งแต่ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ตั้งแต่ยังไม่มีอาการใดๆ และคนไข้ที่มีอาการเล็กน้อยบางอย่าง เช่น รู้สึกอ่อนเพลีย นอนไม่ค่อยหลับ แต่ตรวจแล้วกลับไม่พบสาเหตุหรือข้อบ่งชี้ คุณหมอก็จะใช้ศาสตร์ของเวชศาสตร์ชะลอวัยและการฟื้นฟูเข้ามาช่วยแก้ปัญหานั้นๆ

 

 

ส่วนคนไข้กลุ่มที่รู้สึกว่าตนเองเริ่มเสียสมดุลทางกายภาพหรือมีปัญหาสุขภาพ เช่น นอนไม่หลับติดต่อกันนาน อ่อนเพลียเรื้อรัง มีภาวะวัยทอง หรืออยากปรับเปลี่ยนรูปร่างจากภาวะน้ำหนักตัวเกิน ซึ่งคุณหมอก็จะดูแลตั้งแต่ภาวะอาการระดับเริ่มต้น และระดับรุนแรงมากที่ต้องการการรักษาอย่างต่อเนื่องจริงจัง

 

 

ดูแลไลฟ์สไตล์ ปรับคุณภาพชีวิตได้ด้วยเวชศาสตร์ฯ

การจะเข้าถึงปัญหาสุขภาพของคนไข้อย่างลึกซึ้ง คุณหมอจำเป็นต้องทราบไลฟ์สไตล์ของคนไข้อย่างรอบด้าน ทั้งความเป็นอยู่ การกิน การออกกำลังกาย ความเครียด โดยเฉพาะถ้ามีปัญหาสุขภาพ จะต้องซักถามตั้งแต่อาการ ระยะเวลา ระดับความรุนแรง เพื่อนำมาประกอบการวางแผนการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ ยิ่งถ้าเป็นการพบกันครั้งแรกคุณหมอก็จะพูดคุยกับคนไข้อย่างน้อย 30 นาทีขึ้นไป เพื่อคัดกรองหาสาเหตุ อาจจะมีการตรวจร่างกายร่วมด้วย ซึ่งการตรวจหลักๆ ก็จะเป็นการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจมวลร่างกาย หรือมีการส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจฮอร์โมนและระดับวิตามินในร่างกาย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการซักประวัติ ประกอบกับระดับความรุนแรงของอาการ เพื่อการรักษาที่ตรงจุด

 

 

“หมอมองว่า ศาสตร์ของเวชศาสตร์ชะลอวัยเหมือนเป็นการ Detection ร่างกายของเราที่มันเริ่มไม่สมดุลได้ตั้งแต่เริ่มต้น เพราะเมื่อวิตามินหรือฮอร์โมนเริ่มลดหรือขาดสมดุลก็จะส่งผลให้คนไข้เป็นโรคหรือเริ่มมีภาวะทางร่างกายที่ไม่ปกติ เช่น นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย เราก็จะเข้ามาดูแลในจุดนี้ เป็นเหมือนกับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน โดยการบำรุง รักษา ปรับสมดุลร่างกาย ปรับพฤติกรรมที่เป็นต้นเหตุของปัญหา คนไข้ก็จะดีขึ้นได้โดยไม่ต้องรอให้อาการแย่ลง หรือต้องเจ็บป่วยรุนแรงเสียก่อนจึงรักษา”

 

 

Motivational Interviewing สร้างแรงบันดาลใจให้คนไข้พร้อมมีสุขภาพดี

การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ คุณหมอเมธชนัน จึงใช้เทคนิคการสื่อสารที่เรียกว่า Motivational Interviewing (MI) ซึ่งเป็นการพูดคุยเพื่อกระตุ้นแรงบันดาลใจให้คนไข้อยากเปลี่ยนแปลงตนเอง

 

 

คุณหมอบอกว่า การให้แต่ข้อมูลที่เป็น information ว่าคนไข้ต้องทำอะไร อย่างไร แม้คนไข้จะเข้าใจแต่ก็มักไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรในระยะยาว เพราะการให้ข้อมูลแบบนั้นเป็นเหมือนการยัดเยียดให้คนไข้ไปปฏิบัติตามอย่างเดียว ดังนั้นคุณหมอจะใช้การสื่อสารที่ทำให้คนไข้บอกกับตัวเองได้ว่าเขาพร้อมจะเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง โดยมีคุณหมอเป็นผู้ให้คำแนะนำ และเมื่อคนไข้มีความสุข มีความสบายใจ และมีกำลังใจที่จะทำ คุณหมอก็มีความสุขและรู้สึกประสบความสำเร็จที่ทำให้คนไข้มีสุขภาพดีขึ้นได้


  • 2547 – 2553 แพทยศาสตรบัณฑิต, คณะแพทยศาตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ
  • 2554 – 2556 ปริญญาโทสาขาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ , มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ตารางออกตรวจ

คลินิกดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

(08:00 - 16:00)

คลินิกดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

(08:00 - 16:00)

คลินิกดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

(08:00 - 16:00)

คลินิกดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

(08:00 - 16:00)

คลินิกดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

(08:00 - 16:00)

คลินิกดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

(08:00 - 16:00)

คลินิกดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

(08:00 - 16:00)

คลินิกดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

(08:00 - 16:00)
Loading...
Loading...