ทพ. สมดุลย์ หมั่นเพียรการ

ทพ. สมดุลย์ หมั่นเพียรการ

ทพ. สมดุลย์ หมั่นเพียรการ


ความชำนาญ
ทันตกรรม
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
วิทยาเอ็นโดดอนต์
สาขา

ข้อมูลทั่วไป


ส่วนใหญ่ผู้ที่มารักษารากฟันก็จะมาด้วยอาการที่ว่าปวดฟันมากๆ โดยเฉพาะถ้าปวดเข้าไปในโพรงประสาทฟัน จะปวดทรมานมาก แต่พอเราทำการรักษาให้หายจากอาการปวด สามารถเก็บฟันซี่นั้นไว้สำหรับเคี้ยวอาหาร มีความสวยงาม นี่คือความภูมิที่ได้ช่วยเหลือคนไข้


หลังจาก ทันตแพทย์ สมดุลย์ หมั่นเพียรการ จบการศึกษาทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต จากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แล้ว คุณหมอยังได้ศึกษาต่อและได้รับประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาวิทยาเอ็นโดดอนต์ จากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้ยังได้รับอนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ จากราชวิทยาลัยทันตแพทย์ อีกด้วย

ปัจจุบันนอกจากจะเป็นทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาครองรากฟันอยู่ที่ รพ. พญาไท 2 แล้ว ยังเป็นอาจารย์พิเศษ สาขาวิชาวิทยาเอ็นโดดอนต์ วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และยังได้ไปบรรยายความรู้ด้าน smart education ให้กับบุคลากรด้านการศึกษา ในมหาวิทยาลัยชั้นนำอีกด้วย คุณหมอเล่าเรื่องการเรียนทันตแพทย์ไว้ว่า. . .

“พอได้มาเรียนเกี่ยวกับการรักษารากฟัน ทำเคสไปได้สัก 2-3 เดือน ตอนนั้นหมอจำได้เลยว่า ในขณะที่นั่งรักษาคนไข้อยู่ ก็มีความรู้สึกขึ้นมาแว้บนึงว่า ‘เรามาถูกทางมากๆ’ คือรู้สึกชอบและมีความสุขกับการรักษาคนไข้มากๆ รู้สึกว่า ‘ใช่เลย’ นี่แหละคือสิ่งที่อยากทำตลอดไป”

ซึ่งตั้งแต่ปี 2544 มาจนถึงทุกวันนี้ คุณหมอสมดุลย์ ก็แทบจะไม่ได้ทำงานอี่นเลย คือทำแต่การรักษารากฟันอย่างเดียว ก็ทำมาเกือบจะ 20 ปีแล้ว ซึ่งคุณหมอบอกว่า

“การดูแลรักษาฟัน หมอจะดูแบบองค์รวม และมีการทำงานกันเป็นทีมสหสาขา คือการรักษารากฟันจะสำเร็จได้ไม่ใช่แค่รักษาราก จะต้องมีทันตแพทย์เฉพาะทางด้านใส่ฟันที่ทำครอบฟันได้ดี มีทันตแพทย์โรคเหงือกที่จะคอยดูแลไม่ให้กระดูกที่ยึดฟันมันละลายตัวไป เป็นการร่วมกันดูแลคนไข้ให้เก็บฟันเอาไว้ได้อย่างมีคุณภาพ”

รักษารากฟัน ศาสตร์ที่มองไม่เห็นและส่งผลต่อคุณภาพชีวิต

การรักษารากฟัน บางทีคนไข้อาจจะรู้สึกว่าหมอทำอะไรก็ไม่รู้เพราะเขามองไม่เห็น ซึ่งคุณหมอสมดุลย์ เคยเปรียบไว้ว่า การรักษารากฟันก็เหมือนการฝังลูกนิมิตในการสร้างโบสถ์สร้างวิหาร คือต้องเริ่มสร้างรากฐานที่แข็งแรงก่อน ก่อนจะทำการครอบฟันหรือทำในส่วนอื่นๆ

หัวใจของการรักษาไม่ใช่แค่การรักษาฟันให้หายปวด แต่จะมองเป็นภาพรวมว่า เขาย่อมทั้งปวดและกลัวว่าหมอฟันจะสร้างความเจ็บเพิ่มเติมในตอนรักษา หมอมีหน้าที่ทำให้คนไข้คลายกังวล และใช้วิธีรักษาที่จะเกิดความเจ็บน้อยที่สุด หายปวดเมื่อรักษาเสร็จ ฟันซี่ที่คุณหมอเคยรักษาให้ยังแข็งแรงอยู่ รอยโรคหรือสิ่งที่เคยมีปัญหาก็หายไป นั่นคือความสุขของคุณหมอ. . .

“เราจะต้องส่งพลังดีๆ ให้กับคนไข้ ถ้าตัวเรามีความรู้สึกที่ดี เราคิดบวก จิตใจเราดี มันจะส่งพลังงานดีๆ ตอนที่เรากำลังทำการรักษา เราต้องพยายามไม่แสดงออกถึงความเครียดหรือความกังวล ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียงหรืออะไรก็ตาม ทำให้คนไข้รู้สึกผ่อนคลายที่สุด สบายที่สุด โดยคิดเสมอว่า เราไม่ได้รักษาแค่ฟันซี่นั้นๆ ของเขา แต่เราดูแลรักษาเขาทั้งร่างกายและความรู้สึก และยังต้องมีให้กับคนรอบข้างด้วย ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงานหรือกับผู้ช่วยหมอ เพราะว่าพลังบวกจะส่งผลดีให้กับทุกคน”

นวัตกรรมและพัฒนาการในการรักษารากฟัน

“สมัยก่อน เครื่องมือที่ใช้รักษารากฟันยังไม่สามารถเข้าตามโค้งหรือรูปร่างของรากฟันที่มีความซับซ้อนได้ แต่ปัจจุบันมีนวัตกรรมในการเตรียมแต่งคลองรากฟัน ที่สามารถเข้าไปตามความโค้งของรากฟันได้ดีขึ้น ซึ่งทำให้ความสำเร็จในการรักษาสูงขึ้น และยังช่วยลดจำนวนครั้งที่มารับการรักษาเหลือเพียง 2-3ครั้ง ต่างกับเมื่อก่อนที่ต้องมาทำนับสิบครั้ง”

นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ทันตกรรม ยังมีนวัตกรรม ด้านการตรวจวินิจฉัย ด้วยเครื่องเอกซเรย์ CT Scan และการรักษาคลองรากฟันผ่านกล้องจุลทรรศน์ คุณหมอได้กล่าวถึงข้อดี ของนวัตกรรมเหล่านี้ว่า

“การใช้ CT Scan ในการรักษาคลองรากฟัน จะทำให้เราเห็นภาพฟันแบบ 3 มิติ ทำให้สามารถตรวจและวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ ส่วนการรักษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ทำให้เราได้เห็นคลองรากฟัน ได้ชัดเจนและลึกขึ้นกว่าตาเปล่า ร่วมกับความรู้และประสบการณ์ ก็ยิ่งทำให้การรักษาคลองรากฟัน ประสบความสำเร็จได้สูงขึ้น”

การถ่ายทอดความรู้สู่ทันตแพทย์รุ่นใหม่

การได้ถ่ายทอดความรู้ ได้สอนนักศึกษาทันตแพทย์ ในฐานะอาจารย์พิเศษที่วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต อีกหนึ่งความสุขในชีวิตของคุณหมอสมดุลย์

“จากนักศึกษาที่เริ่มต้นตั้งแต่ ทำอะไรไม่เป็นเลย จนวันหนึ่งเขาเป็นหมอฟันที่เก่ง สามารถนำความรู้ไปสร้างประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น และยังผูกพันกัน เหมือนครูกับลูกศิษย์ และเพื่อนร่วมวิชาชีพ โมเมนต์แบบนี้ เป็นความสุขที่เงินก็หาซื้อไม่ได้”

คุณหมอสมดุลย์กล่าวทิ้งท้ายว่า ‘ฟัน’ เป็นอวัยวะที่สำคัญ ทั้งการบดเคี้ยวอาหาร ออกเสียง และความสวยงาม การดูแลสุขภาพช่องปาก และหมั่นตรวจฟันสม่ำเสมอ จะทำให้เราสามารถเก็บฟันไว้ได้ไปจนวันสุดท้ายของชีวิต


  • 2535 – 2541 ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล
  • 2543 – 2544 ประกาศนียบัตรบัณฑิต ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก(วิทยาเอ็นโดดอนต์)), ม.มหิดล

ไม่พบตารางนัดหมาย

กรุณาโทร 1772


Loading...
Loading...