นพ. ธีรภาพ กิจจาวิจิตร

นพ. ธีรภาพ กิจจาวิจิตร

นพ. ธีรภาพ กิจจาวิจิตร


ความชำนาญ
อายุรศาสตร์
ความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง
ประสาทวิทยา
สาขา

ข้อมูลทั่วไป

เมื่อครั้งเป็นแพทย์ที่ รพ. ศูนย์พุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก อยู่นั้น นพ. ธีรภาพ กิจจาวิจิตร ในฐานะแพทย์ผู้ชำนาญการด้านระบบประสาท ได้ทำการรักษาดูแลผู้ป่วยโรคสมองต่างๆ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน ผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดหัว เช่น โรคปวดศีรษะไมเกรน ปวดศีรษะจากโรคกล้ามเนื้อ หรือจากสาเหตุอื่นๆ ผู้ป่วยกลุ่มอาการเวียนศีรษะไม่ว่าจะเกิดจากหินปูนในหูชั้นในอุดตัน หรือจากเส้นประสาทหูอักเสบ ซึ่งคุณหมอได้ทำการตรวจวินิจฉัย รักษาด้วยการให้ยา ร่วมกับให้คนไข้ปรับพฤติกรรมตามความเสี่ยงต่างๆ

 

 

และเนื่องจากปัจจุบันผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออัมพฤกษ์อัมพาต พบอุบัติการณ์ค่อนข้างมาก คุณหมอจึงได้ดูแลพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพราะโรคหลอดเลือดสมองตีบนั้นต้องรักษาแข่งกับเวลา ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดอย่างรวดเร็ว การดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหลอดเลือดสมองและเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น คุณหมอจึงได้เข้าศึกษาต่ออนุสาขาโรคหลอดเลือดสมองและการตรวจหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเวลาต่อมา

ปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมองถือเป็นโรคที่รักษาได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มารับบริการอย่างรวดเร็ว การให้ยาที่ถูกต้องจะมีโอกาสลดความพิการได้ การหาสาเหตุที่ถูกต้องจะลดโอกาสการเป็นซ้ำได้ การทำกายภาพที่ดีและต่อเนื่องจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นฟูได้มาก โรคในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและความเสื่อมตามอายุ ดังนั้นนอกจากการรักษาแล้ว การปรับพฤติกรรมคือสิ่งสำคัญ ควรรู้จักการกินอาหารที่เหมาะสม ออกกำลังกายให้เพียงพอ หมั่นฝึกจิตใจให้ผ่อนคลายหายเครียด

การรักษาที่รวดเร็วแม่นยำ คือหัวใจสำคัญ

เมื่อผู้ป่วยมีอาการฉับพลันทางสมอง เช่น พูดไม่ชัด การใช้ภาษาพูดผิดปกติ แขนหรือขาอ่อนแรงหรือชา การมองเห็นผิดปกติ การทรงตัวมีปัญหา ภายใน 1 วันทางโรงพยาบาลจะแจ้งเตือนรหัสโรคหลอดเลือดสมองฉับพลัน ทีมแพทย์ฉุกเฉินก็จะทำการตรวจอย่างรวดเร็วเพื่อยืนยันโรคด้วยการส่งตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Magnetic Resonance Imaging (MRI) ที่มีความแม่นยำสูง คุณหมอก็จะทำการอ่านผลตรวจรวมกับผลจากการซักประวัติและตรวจร่างกาย เพื่อวินิจฉัยว่าสมองขาดเลือดจริงหรือไม่ เป็นเพียงชั่วคราวไหม รอยโรคเกิดที่จุดใด รุนแรงหรือไม่ เนื้อสมองเสียหายหรือตายมากน้อยแค่ไหน เพื่อทำการรักษาอย่างการให้ยาละลายลิ่มเลือด การสวนหลอดเลือดเพื่อลากลิ่มเลือดเพื่อเปิดหลอดเลือด

 

 

ตลอดการรักษาคุณหมอจะติดตามอาการเพื่อการปรับยาให้เหมาะสม หลังจากผ่านพ้นภาวะวิกฤติแล้วก็จะดูแลเรื่องยาต้านเกร็ดเลือด ยาความดัน ยาไขมัน และอื่นๆ รวมถึงให้ทีมสหวิชาชีพทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมองและร่างกายอย่างต่อเนื่อง

 

 

โรคหลอดเลือดสมองตีบนั้นสามารถตรวจหาความเสี่ยงได้ก่อนเกิดอาการเฉียบพลัน การตรวจจะทำให้ทราบว่ามีโอกาสเกิดโรคมากน้อยแค่ไหน ต้องทานยาหรือควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างไรหรือไม่ การตรวจก็มีทั้งระดับพื้นฐานอย่างการตรวจระดับความดัน ระดับน้ำตาล ระดับไขมัน การตรวจจังหวะการเต้นของหัวใจ ตรวจหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมอง และการตรวจเพิ่มเติมอย่างการตรวจอัลตร้าซาวด์หลอดเลือด เพื่อให้ผลการตรวจที่ชัดเจนขึ้น

ไม่หยุดพัฒนาทั้งความรู้และการรักษา

นอกเหนือการรักษาคนไข้ คือการศึกษาและการอัปเดตความรู้ใหม่ๆ จากทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพในการรักษา และคุณหมอยังส่งต่อความรู้ที่มีด้วยการเป็นอาจารย์สอนแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์ในทุกๆ เดือน ทั้งยังเป็นเจ้าของเพจที่ให้ความรู้เรื่องสมองและระบบประสาทที่ชื่อว่า Neurologist P ซึ่งนำประโยชน์สู่นักเรียนแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ในทุกระดับ

 

 

กับอีกหนึ่งเพจความรู้ทางจิตวิทยาที่ชื่อ Psychiatrist T ซึ่งในฐานะที่เป็นแพทย์ระบบประสาทนั้น คุณหมอมีแนวคิดว่าการเข้าใจคนไข้ให้มากจะทำให้ดูแลรักษาคนไข้ได้ดีขึ้น เพราะโรคทางระบบประสาทนั้นมีทั้งความผิดปกติทางกายและทางความรู้สึกหรือทางจิตใจร่วมด้วย อย่างความเครียด ความกังวล ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อกันนั่นเอง


  • แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วุฒิบัตรสาขาประสาทวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อนุสาขาประสาทวิทยาโรคหลอดเลือดสมองและการตรวจหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตารางออกตรวจ

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(10:00 - 16:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:00 - 12:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(10:00 - 16:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:00 - 12:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(10:00 - 16:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:00 - 12:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(10:00 - 16:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(09:00 - 12:00)

คลินิกอายุรกรรมประสาท

(10:00 - 16:00)
Loading...
Loading...