โรงพยาบาลพญาไท 2 อาคาร B ชั้น 2 | Phayathai 2 Hospital Building B, 2nd Floor
0-2617-2444 ต่อ 3219, 3220 | +662617-2444 Ext. 3219, 3220
โรงพยาบาลพญาไท 2
ให้การวินิจฉัย ดูแล และรักษาพยาบาลผู้ป่วยเด็กแบบครบวงจร เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง เสมือนหนึ่งเป็นบุคคลในครอบครัวโดยทีมกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญครบทุกสาขา คลอบคลุมตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงวัยรุ่น ให้การตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยเด็กทั้งที่เป็นโรคทั่วไป จนถึงอาการหนักที่ต้องได้รับการรักษาพยาบาลและดูแลอย่างใกล้ชิด อีกทั้ง ได้แบ่งพื้นที่การให้บริการออกเป็นโซนเด็กสุขภาพดี (วัคซีน) และโซนรักษาเด็กป่วยโรคทั่วไป และโรคเฉพาะทาง เพื่อป้องกันการติดต่อหรือแพร่เชื้อ เพื่อให้ผู้ปกครองได้มั่นใจในมาตรฐานการให้บริการของศูนย์สุขภาพเด็ก และลดความกังวลใจในอาการของลูก และได้รับความพึงพอใจสูงสุด
นอกจากนั้น พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทุกคนได้รับการฝึกอบรมและมีประสบการณ์สูงในการดูแลผู้ป่วยเด็ก มีความพร้อมในการดูแล และให้การรักษาเบื้องต้น นอกเหนือจากทีมกุมารแพทย์ที่เชี่ยวชาญ และครบทุกสาขา พยาบาลโดยมีประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยเด็กสูงอีกด้วย
ศูนย์สุขภาพเด็ก รพ.พญาไท 2 ยังให้ความสำคัญในการออกแบบสถานที่ ห้องตรวจ ที่คำนึงถึงผู้รับบริการเด็ก โดยศูนย์สุขภาพเด็กได้เน้นบรรยากาศโลกใต้ท้องทะเล เพื่อให้ผู้ป่วยเด็กและผู้ปกครองได้รับความพึงพอใจในระหว่างที่เข้ามารับบริการมากที่สุด นอกจากนั้นแล้วยังคัดสรรอุปกรณ์ที่ทันสมัย ยาและวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง อีกด้วย
ศูนย์สุขภาพเด็กและวัยรุ่น
เด็กควรได้รับการเอาใจใส่ตั้งแต่แรกเกิดจนโต ปัจจุบันพ่อแม่ให้ความสำคัญกับสุขภาพ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกมากขึ้น
โรงพยาบาลพญาไท 2 ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดให้มีแผนกกุมารเวชไว้คอยให้บริการ โดยได้รับความร่วมมือจากกุมารแพทย์ที่เชี่ยวชาญจากสถาบันต่างๆ คอยให้คำแนะนำดูแลช่วยเหลือ วินิจฉัยและบำบัดรักษาอย่างถูกต้อง ตลอดจนรับปรึกษาและให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองที่มีปัญหาการเจ็บป่วยของระบบต่างๆ เพื่อให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรงพัฒนาการเป็นไปตามวัยเพื่อเติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพทั้งร่างกายและจิตใจ

การบริการ
- 1. บริการวัคซีน
- 2. ตรวจสุขภาพและพัฒนาการเด็ก
- • คลินิกกระตุ้นพัฒนาการ
- • คลินิกฝึกและแก้ไขปัญหาการพูด
- • คลินิกทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อวิเคราะห์ความสามารถทางสติปัญญา พื้นฐานการเรียนรู้ วิเคราะห์ทางจิตใจ
- 3. ดูแลรักษาโรคและปัญหาของระบบต่างๆได้แก่
- • คลินิกทารกแรกเกิด
- • คลินิกโรคหัวใจ
- • คลินิกโรคเลือด
- • คลินิกโรคระบบทางเดินหายใจ
- • คลินิกโรคทางสมองและระบบประสาท
- • คลินิกพัฒนาการและการเจริญเติบโต
- • คลินิกโรคระบบต่อมไร้ท่อ และเบาหวานในเด็ก
- • คลินิกโรคระบบทางเดินปัสสาวะและโรคไต
- • คลินิกโรคภูมิแพ้
- • คลินิกโรคระบบทางเดินอาหาร
- • คลินิกโรคผิวหนัง
- • คลินิกศัลยกรรมเด็ก
- • คลินิกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
- 4. ศูนย์นวดสัมผัสทารก
- 5. การคำปรึกษาเรื่องการให้นมบุตร
สิ่งอำนวยความสะดวก
- 1. ห้องตรวจมี 23 ห้อง
- 2. ห้องให้การพยาบาลแยกจากห้องฉีดวัคซีนเป็นสัดส่วน
- 3. มีห้องให้นมบุตร
- 4. โซนเด็กเล่นเพื่อเสริมพัฒนาการ
ศูนย์พัฒนาการเด็ก
ศูนย์พัฒนาการเด็ก (Child Development Center) ให้บริการด้านการแนะนำและการอบรมเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการทั้งร่างกายและจิตใจ และให้การดูแลปัญหาด้านพัฒนาการและพฤติกรรมต่างๆ โดยแพทย์พัฒนาการเด็กและทีมงานเฉพาะทาง ซึ่งประกอบไปด้วย

กุมารแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก
- • นักอรรถวจีบำบัด
- • นักกิจกรรมบำบัด
- • นักกายภาพ
- • นักจิตวิทยาคลินิก
- • พยาบาลกระตุ้นพัฒนาการ
- • ครูการศึกษาพิเศษ
การบริการ
- 1. ให้บริการ รับปรึกษาปัญหาพัฒนาการและปัญหาพฤติกรรมในเด็ก ตั้งแต่อายุแรกเกิด – 18 ปี ได้แก่
- • เด็กพูดช้า
- • ออทิสติก
- • สมองพิการและมีปัญหาเรื่องการประสานกันของกล้ามเนื้อ
- • การมองเห็น,การได้ยิน บกพร่อง
- • เด็กที่มีข้อจำกัดเรื่องการเรียนรู้
- • ดาวน์ซินโดรม
- • เด็กเกิดก่อนกำหนด
- • เด็กที่มีปัญหาในการปรับตัว
- • สมาธิสั้น
- • เด็กที่มีปัญหาการเรียน
- • เด็กที่มีปัญหาการเขียน
- • เด็กอัจฉริยะ
- • มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย เช่น ปัสสาวะรดที่นอน
- 2. ให้การบริการแบบครบวงจร โดยมีกุมารแพทย์ด้านพัฒนาการเด็กและมีพยาบาลด้านพัฒนาการ นักกิจกรรมบำบัด ทำงานร่วมกันเพื่อให้เด็กได้รับบริการแบบ one stop service และได้รับคำแนะนำตลอดจนการฝึกกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย
- 3. ให้บริการดูแลพัฒนาการที่ปกติและครอบคลุมถึง Health promotion และ Primary prevention อีกทั้งคัดกรองปัญหาที่สำคัญ และให้คำแนะนำปรึกษาในการส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย เพื่อให้ เด็กได้มีโอกาสพัฒนา และแสดงศักยภาพของตนอย่างเหมาะสม
- 4. เป็นจุดศูนย์รวมให้บุคลากรทางสาธารณสุข พ่อแม่ และเด็กสามารถเข้ามารับการปรึกษาตามวันเวลาที่เหมาะสม
รูปแบบการจัดการบริการ
- 1. วินิจฉัยและวางแนวทางการรักษา ประเมินและคัดกรองพัฒนาการ โดย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก
- 2. การประเมินและคัดกรอง โดย นักจิตวิทยาคลินิก
- 3. ส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการ โดย พยาบาลด้านพัฒนาการเด็ก
- 4. ปรับพฤติกรรมและกระตุ้นพัฒนาการ โดย นักกิจกรรมบำบัด
- 5. แก้ไขการพูด โดย นักอรรถวจีบำบัด
- 6. ออกกำลังกายกล้ามเนื้อ โดย นักกายภาพบำบัด
- 7. ประเมินการได้ยิน โดย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก
- 8. ประเมินการมองเห็น โดย จักษุแพทย์
- 9. แนะนำเรื่องโภชนาการ โดย แพทย์และนักโภชนาการ
- 10. สอนซ่อมเสริม โดย ครูการศึกษาพิเศษ
ศูนย์ไอซียูเด็ก 24 ชม.
ศูนย์ไอซียูเด็ก 24 ชม. Pediatric Intensive Care Unit (PICU)
ให้บริการรักษาทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเด็กที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินและวิกฤต จากเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ พร้อมการเคลื่อนย้ายจากพื้นที่ทั่วกรุงเทพและต่างจังหวัด อีกทั้งรับผู้ป่วยที่ย้ายมาจากต่างประเทศเพื่อให้การรักษาต่ออย่างเร่งด่วนตลอด 24 ชม.
ความพร้อมของศูนย์ไอซียูเด็ก 24 ชม.
- • กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านระบบทางเดินหายใจและภาวะวิกฤต ประจำ 2 ท่าน
- • กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านการรักษาเด็ก เช่น หัวใจ ระบบสมอง ทางเดินหายใจ ช่องท้องและ ทางเดินอาหาร เป็นต้น
- • พยาบาลประจำแผนกผู้ป่วยเด็กภาวะวิกฤต
- • พยาบาลประจำแผนกผู้ป่วยทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต
- • ห้องรับเด็กป่วยวิกฤต (PICU) 3 ห้อง
- • ห้องรองรับเด็กทารกวิกฤต (NICU) 5 เตียง
- • ห้องแยก(Isolate Room) NICU 2 ห้อง
ห้องเด็กอ่อน (Nursery Room)
ห้องเด็กอ่อน (Nursery Room)
เนื่อง จากทารกแรกเกิดนั้น เป็นของขวัญสำคุญล้ำค่า และช่วยเติมเต็มครอบครัว พ่อ แม่ ลูก ให้สมบูรณ์ หลังจากลูกน้อยลืมตาดูโลกแล้ว โดยทาง รพ.มีการส่งเสริมการ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเล็งเห็นถึงพัฒนาการที่ดี ทางด้านร่างกาย ลูกน้อยแข็งแรง สมบูรณ์อีกด้วย อีกทั้ง โรงพยาบาลพญาไท2 จึงให้ความสำคัญกับทารกแรกเกิด โดยมีความพร้อมสูงในการให้บริการทั้งด้านบุคลากรทางการแพทย์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างครบครัน และการตกแต่งภายในที่อบอุ่น เพื่อการต้อนรับสมาชิกใหม่ของทุกๆ ครอบครัวและการดูแลทารกอย่างดีที่สุด โดยมีห้องทารกแรกเกิด (Nursery) ดูแลทารกแรกเกิดปกติ และห้องทารกภาวะวิกฤต (Neonatal Intensive Care Unit : NICU) ซึ่งดูแลทารกที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดมากกว่าทารกปกติ เช่น
- • ทารกคลอดก่อนกำหนด
- • ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ (น้อยกว่า 2,500 กรัม)
- • ทารกแฝดสองขึ้นไป
- • ทารกแรกเกิดที่ตรวจพบมีอาการผิดปกติทุกระบบ เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท เป็นต้น
โรคสมองพิการในเด็ก CP
ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลพญาไท 2 ให้การวินิจฉัย ดูแล และรักษาพยาบาลผู้ป่วยเด็กแบบครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงวัยรุ่น อีกทั้งเรายังให้การรักษา ดูแลผู้ป่วยเด็กในกลุ่ม สมองพิการ (cerebral palsy) อีกด้วย
สมองพิการ (cerebral palsy) หรือที่นิยมเรียกตามตัวย่อว่า CP เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการบาดเจ็บอย่างถาวรในสมองที่ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการเคลื่อนไหวและท่าทาง โดยที่การบาดเจ็บในสมองนั้นจะต้องเป็นชนิดคงที่ไม่รุนแรงมากขึ้น พบว่าปัจจุบันผู้ป่วยเด็กสมองพิการมีจำนวนเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยทารกแรกเกิดของแพทย์ที่มากขึ้น ทำให้ทารกแรกเกิดคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อย ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงในการเกิดสมองพิการ มีอัตราการรอดชีวิตที่สูงขึ้น
สังเกตอาการของเด็กที่มีภาวะสมองพิการได้อย่างไร
- 1. มีพัฒนาการล่าช้า
- 2. มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อแขนขาทำให้ ไม่สามารถหยิบจับสิ่งของได้สะดวก แขนขาเกร็ง เดินได้อย่างยากลำบาก เดินปลายเท้าเขย่ง บางคนเกร็งมากจนทำให้เกิดความเจ็บปวด และมีกระดูกและข้อผิดรูป เกิดภาวะข้อเคลื่อนหรือข้อหลุดตามมาได้
- 3. ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง อาจมีตัวอ่อนปวกเปียก มีผลให้ไม่สามารถทรงตัวในท่านั่ง ยืน หรือเดินได้
- 4. มีปัญหาการดูดกลืน ดูดนมได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ เคี้ยวอาหารไม่ได้ เสี่ยงต่อการสำลัก
- 5. มีปัญหาการพูด
- 6. ความผิดปกติอื่นๆ เช่น สติปัญญาบกพร่อง ความสามารถในการเรียนรู้ต่ำกว่าปกติ มีปัญหาการมองเห็นและการได้ยิน ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ เช่น ซึมเศร้า หรือมีอาการชัก ร่วมด้วยได้
การรักษาภาวะสมองพิการ
การดูแลรักษาเด็กที่มีภาวะสมองพิการ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของตัวเด็กเอง ครอบครัว และทีมผู้รักษา โดยการดูแลรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เล็กๆ จะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นกว่ารักษาเมื่อเด็กมีอายุมากแล้ว
การดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กสมองพิการ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วยกุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม กุมารแพทย์สาขาประสาทวิทยา ศัลยแพทย์ด้านระบบประสาท ศัลยแพทย์ด้านกระดูกและข้อ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด เป็นต้น
การให้การบริการและแนวทางการดูแลรักษา
- 1. การทำกายภาพบำบัด เพื่อให้มีการเคลื่อนไหวที่ปกติหรือใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น การหดรั้งของกล้ามเนื้อและข้อต่อ การผิดรูปของกระดูก เป็นต้น
- 2. การฝึกกิจกรรมบำบัด เพื่อเพิ่มทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝึกการดูดกลืน ทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน และการช่วยเหลือตัวเอง เป็นต้น
- 3. การแก้ไข้การพูด ด้วยการฝึกการแก้ไขการพูด
- 4. การรักษาด้วยยา เพื่อลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
- 5. การรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ การย้ายเอ็น หรือการผ่าตัดกระดูก
- 6. การรักษาอื่นๆ เช่น การแก้ไขปัญหาสายตาและการได้ยิน การรักษาภาวะชัก และการรักษาด้านจิตเวช
-
ทีมแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
กุมารแพทย์ด้านพฤติกรรมและพัฒนาการ
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
นักกิจกรรมบำบัด