ตอบข้อสงสัยคุณแม่...เรื่องอัลตร้าซาวด์

พญาไท นวมินทร์

1 นาที

22/05/2020

แชร์


Loading...
ตอบข้อสงสัยคุณแม่...เรื่องอัลตร้าซาวด์

ว่าที่คุณพ่อคุณแม่คงจะตื่นเต้นกันไม่น้อย นาทีที่รู้ว่ามีเจ้าตัวเล็กอยู่ในครรภ์ แล้วเจ้าตัวเล็กจะสุขภาพดีไหม? จะหน้าตาเหมือนใคร? เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ? การอัลตราซาวด์เท่านั้นที่จะช่วยเร่งหาคตอบให้คุณได้

อัลตร้าซาวด์คืออะไร

การอัลตราซาวด์สำหรับตรวจดูเจ้าตัวน้อยในครรภ์นั้นคือการใช้คลื่นเสียงความถี่ 3.5 เมกกะเฮิรตซ์ (เป็นคลื่อนเสียงแบบเดียวกับการทำกายภาพกล้ามเนื้อนั่นเองจึงไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อเจ้าตัวน้อยและคุณแม่ทั้งสิ้น คุณแม่หลายๆ ท่านอาจจะกลัวในการตรวจแต่ขอบอกเลยว่าไม่มีอะไรที่น่ากลัว โดยการอัลตราซาวด์เป็นเพียงตรวจดูความเปลี่ยนแปลงของเจ้าตัวเล็กว่ามีความสมบูรณ์แข็งแรงมากน้อยเพียงใด มีสิ่งใดผิดปกติหรือไม่ และรวมไปถึงการทราบเพศที่พ่อแม่หลายๆ คนอยากทราบกัน

ขั้นตอนการตรวจ แบ่งออกเป็น 3 ขั้น

  1. ขั้นแรก เมื่อทำการฝากครรภ์กับแพทย์เรียบร้อยแล้ว แพทย์จะทำการอัลตราซาวด์เพื่อตรวจดูว่าตั้งครรภ์ในมดลูกหรือนอกมดลูก และตรวจสอบอายุครรภ์
  2. ขั้นที่สอง แพทย์จะทำการตรวจสอบความสมบูรณ์ของร่างกายเด็กทั้งภายในและภายนอก โดยขั้นนี้สามารถขอคุณหมอทราบเพศได้ อายุครรภ์ 12-16 สัปดาห์ขึ้นไป
  3. ขั้นที่สาม แพทย์จะทำการตรวจสอบความสมบูรณ์ของร่างกายเด็กทั้งภายในและภายนอกอีกครั้งและยืนยันเพศของเจ้าตัวน้อย บอกน้ำหนักและความยาวของขนาดตัวกับคุณแม่

ควรอัลตราซาวด์แบบไหนดี?

  1. การอัลตร้าซาวด์แบบ 3 มิติ ซึ่งก็คือการถ่ายภาพนิ่ง ลักษณะภาพนูนตื้น ตรวจดูอวัยวะภายในว่าทำงานได้ปกติ หรือไม่ มีอาการลิ้นหัวใจรั่วหรือไม่ กระเพาะเป็นปกติหรือเปล่าตลอดจนโครงสร้างของสมอง สำหรับอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป
  2. การอัลตร้าซาวด์แบบ 4 มิตินั้น จะเป็นการถ่ายภาพเคลื่อนไหว เช่น การเคลื่อนไหวใบหน้า ยกแขน ขยับนิ้ว ปากโดยการอัลตร้าซาวด์แบบนี้จะเห็นอวัยวะได้ชัดเจนมากที่สุดและสามารถวิเคราะห์ ประเมิน เจ้าตัวน้อยในครรภ์ได้ว่ามีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมหรือไม่ สำหรับอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป

แล้วอัลตร้าซาวด์บ่อยๆ จะเป็นอันตรายไหม

การอัลตร้าซาวด์บ่อยๆนั้น “ไม่มีอันตราย” อย่างแน่นอน เนื่องจากใช้ความถี่ที่ไม่มากในการตรวจ และไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ และสมองทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด คุณแม่สามารถวางใจได้เลยละค่ะ รู้แบบนี้แล้วคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายคงจะอดใจรอที่จะเจอหน้าตัวน้อยกันแทบไม่ไหว   รีบพาคุณแม่และเจ้าตัวน้อยมาตรวจเช็คความสมบูรณ์ของร่างกายกันดีกว่า


แชร์

Loading...
Loading...
Loading...