การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

เป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการตรวจหาความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ ทำโดยใช้กล้องสอดผ่านจากปากทวารไปยังลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ทำในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้

  1. มีปัญหาเรื่องการถ่ายอุจจาระ เช่นท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรังเป็นๆหายๆ มีท้องผูกสลับกับท้องเสีย อุจจาระมีเลือดปน หรือขนาดลำเล็กลง ปวดเบ่งถ่ายอุจจาระแต่ถ่ายไม่หมดหรือไม่สุด
  2. ผู้ที่มีอาการปวดท้องเรื้อรัง ยังไม่ทราบสาเหตุ
  3. มีภาวะซีดเรื้อรัง
  4. น้ำหนักลงลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  5. ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50ปี
  6. ผู้ที่ประวัติมะเร็งลำไส้ในครอบครัว

ขั้นตอนและวิธีการตรวจ

ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินสภาพร่างกายทั่วไปก่อนการตรวจ และควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงยาที่ใช้เป็นประจำ โรคประจำตัว ประวัติการผ่าตัดในอดีต

จากนั้นจะต้องเตรียมลำไส้ใหญ่ให้สะอาด ไม่ให้มีกากตกค้างด้วยการรับประทานอาหารเหลวและยาระบาย 1-2 วันก่อนวันที่จะมาตรวจ การเตรียมลำไส้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก จะช่วยทำให้การตรวจทำได้ง่าย และประสบความสำเร็จสูง

ผู้ป่วยต้องงดอาหารและน้ำอย่างน้อย 4-6 ชั้วโมงก่อนการตรวจ แพทย์จะใช้เวลาส่องกล้องตรวจประมาณ 30 นาที ในระหว่างนี้ผู้ป่วยจะได้รับยาเพื่อให้หลับ แล้วจะตื่นเป็นปกติหลังทำการตรวจเสร็จสิ้น โดยผู้ป่วยควรนอนพักราว 1- 2ชั่วโมงหลังการตรวจเสร็จ

 

ประโยชน์ของการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่  คือ ใช้ในการตรวจหาปัญหาที่เกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่ เช่น อาการปวดท้อง อาการท้องเสียที่ผิดปกติ ภาวะเลือดออก และเป็นการตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ ข้อดีของการตรวจลำไส้ใหญ่โดยการส่องกล้องคือ จะเห็นความผิดปกติในลำไส้ได้ชัดเจน โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะต้น และสามารถรักษาความผิดปกติที่พบได้ในคราวเดียว

 

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการส่องกล้อง  คือ การเป็นแผลที่ผนังลำไส้ ภาวะเลือดออก ซึ่งพบได้น้อยมาก มักเกิดจากการที่ต้องตัดติ่งเนื้อขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยยังคงต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือดอยู่ตลอด ผู้ป่วยอาจมีอาการอืดท้องบ้างหลังส่องกล้อง แต่อาการจะค่อยทุเลาลงเองได้ใน 4-6 ชั่วโมง

 

นพ. นัทธิวุธ วัฒนารักษ์สกุล
อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินอาหาร
ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพญาไท 2


นัดหมายแพทย์

แชร์

หากสนใจต้องการปรึกษาแพทย์

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ




บทความแนะนำ

เทคนิคการดูแลตัวเอง ป้องกัน “กรดไหลย้อน”

พญาไท 2

Gerd เกิดจากพฤติกรรมการกินเป็นหลัก ควรรับประทานอาหารให้เหมาะสม ขับถ่ายให้ถูกสุขลักษณะจัดสรรเวลาพักผ่อนให้เหมาะสม เพื่อเลิกเลี่ยงการเกิดGerd

แค่ปรับพฤติกรรม...ก็รักษา “กรดไหลย้อน” (GERD) ได้

พญาไท 2

โรคกรดไหลย้อน เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น มีความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายของหลอดอาหาร ทำให้ความดันของหลอดอาหารต่ำลง หรือเปิดบ่อยกว่าปกติ รวมถึงความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหาร ทำให้กรดจากกระเพาะอาหารไหลสู่หลอดอาหารมากขึ้น

อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด สัญญาณเตือนอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม!

พญาไท 2

อาเจียนเป็นเลือด และ อุจจาระเป็นเลือด เป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารที่ไม่ควรมองข้าม อาจเกี่ยวข้องกับโรคร้ายแรง เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ริดสีดวง หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ หากมีอาการ ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที

ตรวจระบบทางเดินอาหารแบบเจาะลึกกว่าเดิม..ด้วยเครื่อง Manometry

พญาไท 2

เช็คภาวะกรดไหลย้อนเรื้อรังแบบเจาะลึก ด้วยการตรวจการบีบตัวทางเดินอาหาร Manometry เพื่อวางแผนการรักษากรดไหลย้อนแบบตรงจุดกว่า