“กรดโฟลิก” สิ่งจำเป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน!

“กรดโฟลิก” สิ่งจำเป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน!

เมื่อพูดถึงการตั้งครรภ์ และอาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คำหนึ่งที่เรามักจะได้ยินบ่อยๆ เกี่ยวกับการบำรุงครรภ์ของคุณแม่นั่นก็คือ “กรดโฟลิก” แต่สารอาหารชนิดนี้จะมีประโยชน์อย่างไร? ทำไมคุณหมอพูดถึงอยู่บ่อยๆ เราจะมาหาคำตอบไปด้วยกัน

 

“กรดโฟลิก” คืออะไร ?

กรดโฟลิก (Folic Acid) หรือเรียกอีกอย่างว่า “โฟแลต” คือวิตามินชนิดหนึ่งที่พบได้ในอาหารตามธรรมชาติ และเป็น Superfood สำหรับผู้หญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์ รวมถึงตัวคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แล้ว เพราะกรดโฟลิกนั้นมีส่วนช่วยในการสร้างตัวอ่อน ช่วยป้องกันและลดความผิดปกติของระบบประสาท ทั้งภาวะไม่มีเนื้อสมอง ภาวะไขสันหลังไม่ปิดจากการขาดโฟลิก นอกจากนี้ยังช่วยซ่อมแซมพันธุกรรม ควบคุมการสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็นในการแบ่งเซลล์ ไปจนถึงการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในไขกระดูกของลูกน้อยในครรภ์ได้อีกด้วย

 

ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ ต้องทานกรดโฟลิกมากกว่าปกติ

เพราะว่าในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ร่างกายจะดูดซึมกรดโฟลิกจากอาหารได้น้อยกว่าปกติ ดังนั้นเพื่อให้ร่างกายของคุณแม่และทารกได้รับกรดโฟลิกที่เพียงพอ จึงต้องมีการเสริมกรดโฟลิกให้เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ เพื่อความสมบูรณ์ต่อการสร้างตัวอ่อนในครรภ์

 

อายุครรภ์เท่าไหร่ ? ที่การทานกรดโฟลิกจะผลดีที่สุด!

การเสริมกรดโฟลิกสามารถทำได้ตั้งแต่วางแผนมีบุตร หรือก่อนตั้งครรภ์ 1-3 เดือน และทานต่อไปอีกหลังเริ่มตั้งครรภ์ยาวไปจนอายุครรภ์ได้ 12 สัปดาห์ เพราะหากรอจนทราบว่าตั้งครรภ์ก่อนแล้วค่อยทานอาจจะสายเกินไป เพราะในช่วงอายุครรภ์ที่ 3-4 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ จะเป็นช่วงที่พัฒนาการของสมองและระบบประสาทของทารกจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากทานช้าเกินไป เมื่อหลอดประสาทปิดอย่างสมบูรณ์แล้ว ก็จะช่วยอะไรไม่ได้มาก

 

ผลเสียที่น่ากังวล…เมื่อทารกขาดโฟลิก

ผลกระทบหากทารกขาดกรดโฟลิก คืออาจทำให้เสี่ยงต่อความพิการได้ โดยในรายที่เป็นมากนั้น อาจเกิดความพิการทางสมองและระบบประสาทส่วนกลาง รวมไปถึงกระโหลกศีรษะอาจไม่ปิด ซึ่งถ้าปล่อยไว้ให้ตั้งครรภ์จนคลอด ทารกจะมีอายุอยู่ได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ในส่วนของประสาทไขสันหลังเองก็เสี่ยงต่อความพิการได้เช่นกัน การสร้างเม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่กว่าปกติหรือโตไม่เต็มที่ รวมถึงภาวะสารโฮโมซีสเตอีนสูงกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจ ไขมันอุดตันในหลอดเลือดสมอง คอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานได้

 

ปริมาณกรดโฟลิกเท่าไหร่…จึงเรียกว่า “พอดี”

สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์นั้น ร่างกายจะมีความต้องการกรดโฟลิกอยู่ที่ 800 ไมโครกรัมต่อวัน หรือมากกว่าผู้หญิงที่ไม่ตั้งครรภ์ถึง 400 ไมโครกรัม แต่ทั้งนี้ควรรับประทานไม่ให้เกิน 1 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะหากร่างกายได้รับกรดโฟลิกมากเกินไป กรดโฟลิกนี้จะเข้าไปยับยั้งการทำงานของวิตามินบี 12 ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้เป็นโรคโลหิตจางได้

 

3 Superfood แหล่งกรดโฟลิก…กินแล้วดีต่อร่าง

    • ผักใบเขียว : เป็นอาหารชั้นดีที่อุดมไปด้วยโฟเลท ในแต่ละมื้อลองเพิ่มผักโขม กะหล่ำปลี หรือผักกาดเขียวลงไป เพื่อเพิ่มกรดโฟลิกให้กับร่างกาย เพราะเพียงแค่ทานผักเหล่านี้ 1 จานใหญ่ต่อวันก็จะทำให้ได้รับกรดโฟลิกเพียงพอแล้ว
    • บรอกโคลี : กินบรอกโคลี 1 ถ้วย ทำให้เราได้รับกรดโฟลิกมากถึง 26% ของจำนวนที่ร่างกายต้องการกรดโฟลิกต่อวันเลยทีเดียว ยิ่งทานแบบลวกหรือทานกับน้ำสลัดแบบสดๆ ก็จะยิ่งได้คุณค่าสารอาหารที่ดีกว่าการนำไปทอดหรือผัด
    • ผลไม้รสเปรี้ยว : ความจริงแล้วผลไม้ส่วนใหญ่ต่างอุดมไปด้วยกรดโฟลิกทั้งนั้น เพียงแต่ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจะมีกรดโฟลิกเยอะมาก โดยเฉพาะส้มที่หลายคนคุ้นเคยกันอย่างดี เพราะส้ม 1 ลูกมีกรดโฟลิก 40-50 ไมโครกรัม นอกจากนี้พวกมะละกอ องุ่น กล้วย แคนตาลูป หรือแม้แต่สตรอว์เบอร์รีก็มีกรดโฟลิกสูงเช่นกัน

แชร์

หากสนใจต้องการปรึกษาแพทย์

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ




บทความแนะนำ

ไม่อยาก “ปวดประจำเดือน” จนตัวงอ มาดูแลมดลูกให้แข็งแรงกันดีกว่า!

พญาไท นวมินทร์

นอกจากการกินยาแก้ปวดประจำเดือนแล้ว ยังมีอีกหลายวิธีที่ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน โดยเฉพาะการดูแลมดลูกให้แข็งแรงด้วยการปรับพฤติกรรม จะช่วยลดปวดในระยะยาว

ลดพฤติกรรมเหล่านี้ ถ้าไม่อยากเป็นพ่อแม่ที่มีบุตรยาก

พญาไท นวมินทร์

คู่สมรสยุคใหม่ที่มักมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตเหล่านี้ ควรปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ซะใหม่ ถ้าไม่อยากเข้าข่ายเป็นพ่อแม่ที่มีบุตรยาก

แต่งงานมานานไม่ท้องซักที มีลูกยากแบบนี้...จะรักษาด้วยวิธีไหนได้บ้าง

พญาไท นวมินทร์

อายุมากอาจไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้มีลูกยากเพียงอย่างเดียว บางคนอายุไม่มากแต่แต่งงานมาตั้งนานกลับไม่ท้องซักที เป็นเพราะสาเหตุอะไรได้บ้างและจะรักษาได้ด้วยวิธีไหน มาหาคำตอบกัน

ผู้หญิงอายุมาก...อยากมีลูก ต้องทำยังไง?

พญาไท นวมินทร์

ผู้หญิงที่แต่งงานตอนอายุมากแล้วมักกังวลเกี่ยวกับการมีลูก โดยเฉพาะโอกาสเสี่ยงที่ลูกจะเป็นดาวน์ซินโดรม แต่เราสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงได้ด้วยวิธีเหล่านี้