คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องเสีย ต้องดูแลรักษาอย่างไร?

คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องเสีย ต้องดูแลรักษาอย่างไร?

ขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ควรสังเกตความผิดปกติในการขับถ่ายของตนเอง ว่ามีอาการถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว ถ่ายเป็นมูก ถ่ายเป็นเลือดบ้างหรือไม่ ทั้งนี้อาการท้องเสียเป็นกลไกของร่างกายที่จะขับของเสียออกมา ซึ่งปกติแล้วอาการเหล่านี้มักจะหายไปภายใน 24 ชั่วโมง หรือเรื้อรังไม่เกิน 3 วัน จึงไม่ก่อให้เกิดปัญหากับการตั้งครรภ์ เพียงแต่คุณแม่ต้องระมัดระวังภาวะร่างกายขาดน้ำที่อาจก่อให้เกิดอันตราย และถ้าถ่ายแบบมีมูกปนมากับของเสีย อาเจียนรุนแรง มีไข้และมีอาการนานกว่า 48 ชั่วโมง กรณีนี้ควรพบแพทย์โดยด่วน

 

อาการท้องเสียแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1. ท้องเสียแบบติดเชื้อ

คือจะถ่ายเหลว ถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายบ่อย ลักษณะอุจจาระจะมีมูกเลือดหรือฟองปน ร่วมกับมีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว พะอืดพะอม คลื่นไส้ แนะนำให้รีบพบแพทย์ และรักษาได้ด้วยการให้ยาฆ่าเชื้อ

2. ท้องเสียแบบไม่ติดเชื้อ

จะมีอาการแค่ถ่ายเหลวถ่ายบ่อย 3-4 ครั้งขึ้นไป อาจมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วยแต่จะไม่มีไข้ ซึ่งท้องเสียแบบนี้จะหายไปได้เอง และคุณแม่สามารถดูแลตัวเองได้

 

การดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อท้องเสียขณะตั้งครรภ์

  • ควรดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไป
  • หากมีอาการอ่อนเพลีย ควรดื่มน้ำเกลือแร่ให้มากๆ เพื่อทดแทนน้ำในร่างกายที่สูญเสียไป
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย หรือย่อยยาก อาหารบางประเภทสามารถทำให้อาการท้องเสียแย่ลง เช่น อาหารไขมันสูง ของทอด อาหารรสเผ็ด อาหารไฟเบอร์สูง นมและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว
  • รับประทานอาหารอ่อนหรืออาหารเหลวเช่น ข้าวต้ม โจ๊ก
  • ก่อนทานอาหารทุกครั้งควรล้างมือหรือภาชนะอาหารให้สะอาด และพยายามพักผ่อนให้มากขึ้น
  • ไม่เลือกใช้ยาแก้ท้องเสียด้วยตัวเอง
  • ห้ามกินยาแก้ท้องเสีย ท้องอืด ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
  • ห้ามซื้อยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียมากินเอง แต่ควรปรึกษาสูติแพทย์ก่อน
  • ห้ามกินยาหยุดถ่าย เพราะการหยุดถ่ายทันทีอาจทำให้เชื้อโรคยังค้างอยู่ในร่างกาย และยาต่างๆ อาจส่งผลต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และลูกน้อยได้

 

คุณแม่ตั้งครรภ์ ป้องกันท้องเสียได้อย่างไรบ้าง?

  • เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกออกจากเตาใหม่ทุกครั้ง งดอาหารสุกๆ ดิบๆ
  • ระมัดระวังการกินน้ำแข็ง น้ำดื่ม หรือน้ำผลไม้คั้นที่ไม่สะอาด
  • หมั่นดูแลสุขอนามัย รักษาความสะอาด ล้างมือทุกครั้งหลังจากเข้าห้องน้ำก่อนและหลังทำอาหาร
  • ทำความสะอาดชักโครก ที่รองนั่งและปุ่มกดชักโครกด้วยแอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ

นัดหมายแพทย์

แชร์

หากสนใจต้องการปรึกษาแพทย์

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ




บทความแนะนำ

อย่าปล่อยให้อวัยวะเพศย้อย รู้จัก “Vaginal pessary” รักษาอาการหย่อนยานของอุ้งเชิงกรานในสตรี

พญาไท 2

อาการหย่อนยานของอุ้งเชิงกรานของคุณผู้หญิง ทำให้หลายคนเกิดความไม่มั่นใจ ในบางราย มดลูกต่ำกว่าปกติ

สิ่งแรกที่ควรทำ เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์

พญาไท 2

เมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ อันดับแรกที่คุณแม่ควรทำ คือ ไปตรวจและไปหาคุณหมอก่อน โดยคุณหมอก็จะทำการตรวจดูภาวะโดยรวม แล้วจะทำการนับอายุครรภ์ เพื่อดูให้แน่นอนว่า อายุครรภ์เท่าไร

อาการท้องแข็ง อันตรายของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเครียด

พญาไท 2

อาการท้องแข็งของคุณแม่ตั้งครรภ์ มักพบในอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป สาเหตุมักเกิดจากความเครียดและมีการเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องเป็นตัวกระตุ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เจ็บท้อง

เปลี่ยนความเชื่อ! ตรวจภายใน...ไม่ได้เจ็บอย่างที่คิด

พญาไท 2

เมื่อพูดคำว่า “ตรวจภายใน” ผู้หญิงหลายคนมักเข้าใจว่าการตรวจภายในนั้น เป็นวิธีการคัดกรองโรคที่เจ็บปวดและน่ากลัว แต่ความจริงแล้วไม่ได้เจ็บอย่างที่คิด