ปวดแบบไหน? เสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม

ปวดแบบไหน? เสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม

อาการปวดเมื่อยบริเวณคอ บ่า ไหล่ และแขน มักพบในคนทำงานออฟฟิศ แต่หากปวดบ่อย ปวดนาน ปวดมากขึ้น หรือมีอาการชาร่วมด้วย นั่นอาจไม่ใช่อาการของโรคออฟฟิศซินโดรมทั่วไป เพราะเป็นไปได้ว่า ‘โรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม’ อาจกำลังถามหาแล้ว 

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม

โรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งอายุที่มากขึ้น และพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ก้มหน้าก้มคอเล่นโทรศัพท์มือถือนานๆ นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ในท่าที่ไม่ถูกต้องต่อเนื่องเป็นประจำ ส่วนในคนอายุน้อยอาจเกิดจากหมอนรองกระดูกบาดเจ็บ เพราะยกของหนักเกินไป การเล่นกีฬา หรือได้รับอุบัติเหตุ เป็นต้น

อาการปวดคอ บ่า ไหล่ หากเป็นต่อเนื่องโดยไม่ได้รับการรักษา มีโอกาสที่โรคจะลุกลามจนหมอนรองกระดูกคอไปกดทับที่บริเวณเส้นประสาทไขสันหลัง ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดร้าวจากคอมาไหล่ มาแขน และชาปลายนิ้วได้

อาการของโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม

อาการปวดของโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมในระยะแรกจะคล้ายกับการปวดออฟฟิศซินโดรม แต่จะปวดนานกว่า โดยเริ่มจากการปวดบริเวณต้นคอและสะบัก ทำให้เคลื่อนไหวคอไม่สะดวก ต่อมาจะมีอาการติดขัดในการขยับคอ ปวดร้าวไปถึงไหล่ แขน และปลายนิ้ว ซึ่งเมื่ออาการลุกลาม ก็จะเกิดการชาที่แขน ขา มือ และเท้า รู้สึกอ่อนแรงจนทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงมาก เพราะระบบประสาทถูกรบกวนจนไม่สามารถควบคุมร่างกายได้เหมือนปกติ ดังนั้น หากมีสัญญาณหรืออาการเตือนดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจ วินิจฉัย และทำการรักษาให้เร็วจะดีกว่า

แนวทางการรักษาโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม

ปัจจุบันการรักษาโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมมีอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค ซึ่งหากอาการไม่รุนแรง สามารถรักษาด้วยการกินยา ทำกายภาพบำบัด ร่วมกับการปรับพฤติกรรมควบคู่กันไป เพื่อบรรเทาอาการปวดและช่วยให้อาการของโรคดีขึ้น

กรณีรักษาและดูแลตนเองตามคำแนะนำของแพทย์ครบ 6 สัปดาห์แล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม เช่น การรักษาด้วยการใช้เลเซอร์ การใช้คลื่นความร้อน การฉีดยาเข้าเส้นประสาทบริเวณคอ การใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงเพื่อลดแรงดันของหมอนรองกระดูก

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เริ่มมีอาการชา แขนขาอ่อนแรง สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องไมโครสโคปกำลังขยายสูง ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่มีแม่นยำและปลอดภัยสูง ผู้ป่วยจะมีเพียงแผลเล็กๆ หลังผ่าตัด จึงลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนได้ดี ทั้งยังฟื้นตัวเร็ว ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลนานก็กลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนเดิม


แชร์

หากสนใจต้องการปรึกษาแพทย์

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ




บทความแนะนำ

‘ผ่าตัดแผลเล็ก’รพ.พญาไท 2 ‘โรคระบบประสาทไขสันหลัง’ ผู้นำความสำเร็จการรักษา

พญาไท 2

การผ่าตัดกระดูกสันหลังไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป เพราะรพ.พญาไท2 มีเทคโนโลยีการผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบแผลเล็กผ่านกล้องมาใช้เป็นแห่งแรกๆของประเทศ มีข้อดีคือแผลเล็ก เจ็บตัวน้อย ฟื้นตัวเร็ว

โรคกระดูกคอเสื่อมในเด็ก เกิดได้จากหลายปัจจัย

พญาไท 2

เด็กก็เป็นโรคกระดูกต้นคอเสื่อมได้ หากมีอาการคอติด ปวดตึงต้นคอ เคลื่อนไหวคอได้น้อยลง ปวดร้าวบริเวณคอไปหัวไหล่ บ่า หรือเลยไปถึงข้อศอกและปลายนิ้ว ควรรีบพบแพทย์

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท รักษาได้หลายวิธี

พญาไท 2

โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทที่เกี่ยวกับคอโดยตรง ผู้ป่วยมักมีอาการคอแข็ง ขยับหรือเคลื่อนไหวคอลำบาก มีอาการปวดคอ แขนอ่อนแรง ชา และอาจปวดร้าวลามลงมาที่แขน

รู้ไหม? อาการปวดบนใบหน้า เสี่ยงเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ผิดปกติ

พญาไท 2

อาการปวดเฉียบพลันบริเวณใบหน้า คล้ายไฟฟ้าซ็อตบนใบหน้าเป็นจังหวะ อาจเป็นสัญญาณเตือนที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทเส้นที่ 5 โดยหากเกิดขึ้นต่อเนื่องจะยิ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างย