
กาฬโรค (Plague) โรคระบาดรุนแรงที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียที่ชื่อว่า เยอร์ซีเนีย เพสติส (Yersinia Pestis) โดยแบคทีเรียชนิดนี้มักจะอาศัยอยู่ในสัตว์ฟันแทะที่มีขนาดเล็ก เช่น หมัดหนู และเมื่อหมัดหนูที่มีเชื้อโรคนี้กัดและปล่อยเชื้อ ก็จะทำให้ผู้ที่ถูกกัดป่วยเป็นกาฬโรคได้
อาการที่บ่งบอกว่าเป็นกาฬโรค สามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดตามลักษณะอาการ ดังนี้
- กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic Plague)
- มีไข้ หนาวสั่นอย่างกะทันหัน
- ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
- มีต่อมน้ำเหลืองบวม เจ็บ หรือมีความรู้สึกไว อย่างน้อย 1 จุดตามร่างกาย และจะมีขนาดประมาณไข่ไก่
- กาฬโรคปอด (Pneumonic Plague)
- ไอ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มีไข้
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปอดบวมอย่างรวดเร็ว หายใจตื้น เจ็บหน้าอก
- บางรายอาจทำให้มีน้ำมูกไหลหรือน้ำมูกปนเลือด
- การหายใจล้มเหลวหรือช็อกได้ภายใน 2 วัน หลังจากที่ติดเชื้อ
- กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษหรือติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemic Plague)
- มีไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลียอย่างรุนแรง
- ช็อก ปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน
- มีเลือดออกที่ผิวหนังและอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย
- เนื้อเยื่อบางส่วนของร่างกายอาจตายและเปลี่ยนเป็นสีดำ (Gangrene)
ขั้นตอนการรักษากาฬโรค
- หากสงสัยว่ามีอาการคล้ายคลึงโรคนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที
- รีบทำการเพาะเชื้อจากเลือด และหนองที่ต่อมน้ำเหลือง
- ให้ยาปฏิชีวนะก่อนที่จะทราบผลเพาะเชื้อ
- สำหรับผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยจะต้องกักตัวไว้สังเกตอาการ และให้ยาปฏิชีวนะป้องกัน
“กาฬโรค” ป้องกันได้ หากด้วยวิธีเหล่านี้
- ทิ้งขยะมีฝาปิดมิดชิด เพื่อไม่ให้มีการกองขยะ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของหนู
- ไม่สัมผัสสัตว์ป่วยหรือสัตว์ตาย หากจำเป็นให้สวมถุงมือยาง
- หากมีสัตว์เลี้ยงต้องใช้ยาฆ่าหมัดเป็นระยะ
- ไม่ควรนอนกับสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงแบบปล่อย เพราะสามารถติดเชื้อจากสัตว์เลี้ยงที่อาจได้รับเชื้อกาฬโรคหรือหมัดที่อยู่กับสัตว์เลี้ยง
- ระมัดระวังเป็นพิเศษ เมื่อเด็กหรือผู้ใหญ่ออกนอกบ้าน โดยเฉพาะในแหล่งที่มีการระบาดไม่ใกล้ชิดกับสัตว์ฟันแทะทั้งหลาย
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลพญาไท 2
โทร 02-617-2444 ต่อ 4104, 4106
ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลพญาไท 2
โทร 02-617-2444 ต่อ 4104, 4106