สถาบันกระดูกและข้อ icon

สถาบันกระดูกและข้อ

พญาไท 2

ไม่ว่าคุณจะมีปัญหาเรื่องกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นประสาทหรือแม้แต่ข้อต่อต่าง ๆ ก็มั่นใจได้ว่า สถาบันกระดูกและข้อ โรงพยาบาลพญาไท 2 มีความพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะมอบ “ประสบการณ์การรักษา” ที่มากกว่าแค่การดูแลการเจ็บป่วยเพียงร่างกายให้กับคุณ ด้วยทีมแพทย์สหสาขาวิชาและบุคลากรที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่นและความเชี่ยวชาญในทุกด้าน

ความเป็นเลิศ…คือหัวใจของเรา

สถาบันกระดูกและข้อของโรงพยาบาลพญาไท 2 เราพร้อมมอบบริการความเป็นเลิศ ( Center of Excellence ) ในการรักษาโรคที่ครอบคลุมทั้งกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นประสาท รวมไปถึงข้อต่อ ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมของทีมศัลยแพทย์ออร์โอปิดิกส์และสหสาขาวิชาชีพกว่า 80 ชีวิต รวบรวมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษากว่า 10 สาขา พร้อมดูแลปัญหากระดูกและข้อในทุกช่วงวัย ด้วยมาตรฐานคุณภาพระดับสากล JCI ไม่ว่าจะเป็น

  • ศัลยกรรมการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม ( Adult Reconstruction and Joint Replacement )
  • ศัลยกรรมทางมือและจุลศัลยกรรม ( Hand and Upper Extremity Service )
  • ศัลยกรรมกระดูกสันหลัง ( Spine Surgery )
  • อุบัติเหตุทางด้านกระดูก ( Orthopedic Trauma )
  • เวชศาสตร์การกีฬา ( Sports Medicine )
  • กระดูกในเด็ก ( Pediatric Orthopedic )
  • ศัลยกรรมทางเท้าและข้อเท้า ( Foot and Ankle Service )
  • มะเร็งกระดูก ( Orthopedic Oncology )

รวมถึงทีมวิสัญญีแพทย์ดูแลความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด และทีมพยาบาลเฉพาะทางที่ทำงานร่วมกับทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัดที่พร้อมให้การดูแลผู้ป่วยกระดูกและข้ออย่างใกล้ชิด ตลอดจนให้คำแนะนำผู้ป่วยจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มศักยภาพ

เราทุ่มเท ใส่ใจทุกรายละเอียด…แบบมืออาชีพ

สถาบันกระดูกและข้อของเราให้ความสำคัญกับทุกรายละเอียดของผู้ป่วย เริ่มตั้งแต่เดินเข้ามาในโรงพยาบาล ช่วงก่อนการผ่าตัด ระหว่างการผ่าตัด และหลังการผ่าตัด ความเจ็บปวดของคนไข้ คือสิ่งที่เราใส่ใจเป็นอันดับหนึ่ง และเนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ของสถาบันกระดูกและข้อ เป็นผู้สูงวัยที่มีหลายโรคร่วมที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ทำให้เราเล็งเห็นความสำคัญของการจัด Disease Round การประชุมย่อยที่มีแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์มาร่วมพูดคุยปรึกษาหารือเกี่ยวกับโรคมุ่นเน้นที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อติดตาม ประเมินการรักษาเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นในขณะที่คนไข้ยังพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลหรือหากเป็นโรคยากที่มีความซับซ้อน เราจะมีการจัด Grand Round ที่รวบรวมเอาทีมแพทย์สหสาขาที่มากด้วยประสบการณ์มาร่วมพูดคุยแสดงความคิดเห็นในการดูแลผู้ป่วยในเคสที่ยากและมีความซับซ้อนกับแพทย์กระดูกและข้อเป็นแพทย์เจ้าของไข้ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

One Stop Service ที่เดียวจบ…ครบวงจร

นอกจากนี้แล้วสถาบันกระดูกและข้อยังให้บริการแบบครบวงจร ทั้งคลินิกนวัตกรรมระงับปวด ( Pain Management Clinic ) การวินิจฉัยด้วยภาพรังสีเอกซเรย์ ชำระเงิน และรับยา รวมถึงมีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัดให้ คำปรึกษา ณ จุดเดียวกัน ที่ชั้น 5 อาคาร B โรงพยาบาลพญาไท 2 เรียกว่ามีครบทุกบริการในพื้นที่เดียวเพื่อความสะดวกสบาย ในการรับบริการและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีปัญหากระดูกและข้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญ

“Phyathai Co-Morbid Index” แบบทดสอบที่เราคิดเผื่อ…เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของคนไข้ผ่าตัดทุกคน

เพราะการผ่าตัดทางด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ…คือเรื่องละเอียดอ่อนที่สุด แต่ส่งผลยิ่งใหญ่ต่อร่างกาย สถาบันกระดูกและข้อ โรงพยาบาลพญาไท 2 เราเล็งเห็นความละเอียดอ่อน และจะไม่ยอมให้เกิดความผิดพลาดแม้แต่นิด เราจึงออกแบบขั้นตอนที่สำคัญอย่างดัชนีประเมินความเสี่ยงก่อนการผ่าตัด หรือ Phyathai Co-Morbid Index และนี่คือหนึ่งในบริการแห่งความเป็นเลิศที่เราภูมิใจทำเพื่อคุณ

ดัชนีประเมินความเสี่ยงนี้…เกิดขึ้นได้จากการสั่งสมประสบการณ์ของแพทย์

เพื่อป้องกันความเสี่ยงในคนไข้ที่มีความเสี่ยงสูง และให้ผลการรักษาออกมาดีที่สุด ศ.นพ.ธไนนิธย์ โชตนภูติ แพทย์หัวหน้าสถาบันกระดูกและข้อ และอาจารย์แพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ มานานกว่า 20 ปี จึงร่วมกับทีมแพทย์และทีมพยาบาล คิดค้นโปรแกรมควบคุมคุณภาพเรียกว่า  Phyathai Co-Morbid Index ซึ่งเป็น Quality Service ที่เรานำมาใช้กับคนไข้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดกระดูกทุกเคส

“หลักการคือ เราจะทำการประเมินคนไข้ในแบบประเมินทั้ง 3 ส่วน โดยเป็นการประเมินร่วมกันของทีมแพทย์และพยาบาล หากได้ผลคะแนนรวม 6-7 คะแนนถือว่าไม่อันตราย สามารถทำการผ่าตัดได้ทันที แต่หากคะแนนรวมได้ 8 ขึ้นไป เราถือว่าคนไข้รายนั้นมีความเสี่ยง จะเข้าสู่กระบวนการทำ MDT Conference ( Multi-Disciplinary conference ) คือทีมแพทย์สหสาขา ทีมพยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะมาประชุมกันเพื่อประเมินทางเลือกและผลกระทบของแต่ละทางเลือกให้คนไข้และญาติของคนไข้เข้าใจและมองเห็นผลที่จะเกิดขึ้นก่อนการตัดสินใจ ซึ่งดัชนีนี้มีเฉพาะที่โรงพยาบาลพญาไท 2 เท่านั้น” รุ่งทิพย์ นามพรม พยาบาลวิชาชีพ ผู้ทำหน้าที่ประสานงาน

แม้ว่าใครจะไม่เห็นความสำคัญ แต่เราเห็น…เราจึงทำต่อไป

การออกแบบ Co-Morbid Index ขึ้นมา เพราะโรงพยาบาล 2 อยากให้ผลการรักษาของคนไข้ทุกรายออกมาอย่างสมบูรณ์แบบที่สุด ดังนั้นหากพบว่าคนไข้มีความเสี่ยง การทำ MDT Conference ประกอบด้วย แพทย์เจ้าของไข้ แพทย์อายุรกรรม พยาบาล ทีม OPD ทีม Ward และ Nurse Case จะคุยกันถึงปัญหาตามหลัก JCI ถึงความเสี่ยงและเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จ จากนั้นทีมจะสรุป และแจ้งกับคนไข้ ญาติ และครอบครัวว่ามีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน จะเลือกทางเลือกใด ถ้าไม่เลือกการผ่าตัด จะเกิดอะไรขึ้น หากแพทย์พิจารณาแล้วว่า มีความเสี่ยงแต่ไม่ได้คุยกับญาติ ไม่มีการประชุมของทีมแพทย์ ศ.นพ.ธไนนิธย์ จะไม่ให้เซ็ตการผ่าตัดโดยเด็ดขาด นี่คือการกระตุ้นของคุณหมอ เพื่อให้ทุกคนเห็นความปลอดภัยของคนไข้เป็นสำคัญ

Loading...


Loading...
Loading...
Loading...