คลินิกจิตเวช icon

คลินิกจิตเวช

พญาไท 2

คลินิกสุขภาพใจ MENTAL HEALTH CENTER

ปัญหาสุขภาพจิต คือปัญหาใหญ่ที่คนไทยหลายล้านคนกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะกลุ่มคนเมืองที่ต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบเป็นประจำ ต้องเผชิญกับปัญหาจราจร และจากสภาวะกดดันของสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยมีปัญหาสุขภาพจิต หรือโรคทางจิตเวช ( Mental Disorders ) กันมากขึ้น โดยหากคนไข้พบว่าตัวเองกำลังมีปัญหาสุขภาพจิต ควรมาพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและรักษาให้ทันท่วงที เพราะการปล่อยไว้อาจจะทำให้ปัญหาที่เป็นอยู่รุนแรงและลุกลามมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งโรงพยาบาลพญาไท 2 เรามีแผนกจิตเวชที่มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายด้านที่พร้อมให้คำปรึกษากับทุกปัญหาของคนไข้ และมีระบบการนัดหมายที่ช่วยคลายกังวลคนไข้ได้เป็นอย่างดี

โรคทางจิตเวชคืออะไร

โรคทางจิตเวช คือ ความผิดปกติของจิตใจ พฤติกรรม อารมณ์ และบุคลิกภาพ ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิต การทำงาน การเรียน และการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่น

ปัญหาสุขภาพจิต…ที่ควรมาพบแพทย์

  1. โรคแพนิก เป็นโรคตื่นตระหนก เกิดขึ้นจากระบบประสาทอัตอิสระมีการทำงานที่ไวต่อสิ่งกระตุ้น ทำให้มีอาการแพนิก ได้แก่ หัวใจเต้นเร็ว หายใจติดขัด จุกแน่น เวียนศีรษะ คล้ายจะเป็นลม หรือเหมือนกับจะถึงชีวิต มักจะเกิดขึ้นเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่มีเรื่องกดดันหรือถูกกระตุ้นให้ตื่นตัว
  2. โรควิตกกังวล จะมีทั้งอาการทางกายและทางจิตแสดงออกร่วมกัน อาการทางกาย ได้แก่ หัวใจเต้นแรง หายใจลำบาก ปวดหัว มีอาการสั่น ฯลฯ ส่วนอาการทางจิต คือความรู้สึกหวาดกลัว กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้ รู้สึกเครียด และมองหาสัญญาณอันตรายของตัวเองอยู่ตลอดเวลา
  3. โรคซึมเศร้า ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีอาการหดหู่ ท้อแท้ เบื่อหน่าย รู้สึกไม่มีคุณค่าในตนเอง บางรายอาจไม่รู้สึกเศร้าแต่จะเบื่อหน่ายทุกอย่างรอบตัว และไม่รู้จะอยู่ต่อไปเพื่ออะไร ความสำคัญของโรคนี้คือผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษามีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง หากมีอาการของโรคซึมเศร้านานเกิน 2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์เพื่อประเมินว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่
  4. โรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ของผู้ป่วยมีลักษณะอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปมาระหว่าง ช่วงซึมเศร้าและช่วงที่อารมณ์ดีเกินปกติ (ช่วงแมเนีย) โดยในช่วงซึมเศร้าจะมีอาการหดหู่ ท้อแท้ สิ้นหวัง อาการช่วงนี้จะเหมือนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อาการจะคงอยู่ติดต่อกันนานหลายเดือนแล้วหายไปเหมือนคนปกติก่อนจะเข้าสู่ช่วงอาการแมเนีย ซึ่งจะมีอารมณ์คึกคัก มีพลัง อยากทำหลายอย่าง กระฉับกระเฉง นอนน้อย ใจดี มนุษย์สัมพันธ์ดี อารมณ์ดี แต่มีปัญหาในเรื่องของการควบคุมอารมณ์ของตนเอง เมื่อมีคนขัดใจผู้ป่วยจะฉุนเฉียวมาก หงุดหงิดง่าย ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้เลย
  5. โรคเครียด เป็นภาวะที่ต้องเผชิญแรงกดดันจากเหตุการณ์ร้ายแรง ซึ่งภาวะดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของร่างกายและจิตใจ ผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ซึ่งก่อให้เกิดความเครียด จะเกิดอาการเครียดประมาณหนึ่งเดือน หากเกิดอาการนานกว่านั้นจะกลายเป็นโรคเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ ( Posttraumatic Stress Disorder: PTSD )
  6. โรคนอนไม่หลับ ( Insomnia ) เป็นอาการอย่างหนึ่งที่พบได้ในโรคทางกายหลายชนิด โรคทางจิตเวชหลายโรค หรืออาจมีสาเหตุจากยาบางชนิด จากสารบางอย่างที่ออกฤทธิ์กระตุ้นสมอง เช่น สารคาเฟอีนที่มีอยู่ในชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง นอกจากนี้การดื่มสุราอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ก็จะทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้เช่นเดียวกัน
  7. โรคจิตเภท ผู้ป่วยจะมีอาการประสาทหลอน หูแว่ว มีภาพหลอนเกิดขึ้น และจะแสดงออกโดยการพูดคนเดียว หัวเราะคนเดียว มีความหลงผิดหรือหวาดระแวง เป็นนานเกิน 6 เดือน หากเป็นแล้วไม่รักษาตั้งแต่ต้น หรือปล่อยทิ้งไว้นาน จะทำให้การรักษามีความยุ่งยาก และผลการรักษาไม่ดีนัก โรคจิตเภทเป็นโรคเรื้อรัง การรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น แต่จะต้องใช้ยาไปตลอดชีวิต ปัญหาของโรคนี้คือผู้ป่วยบางรายเมื่อพบว่าตนเองอาการดีขึ้น มักคิดว่าหายแล้วและหยุดใช้ยา ทำให้อาการกำเริบขึ้นมาอีก
  8. ติดยาเสพติด ผู้ป่วยที่ต้องการเลิกยาเสพติดและไม่สามารถเลิกด้วยตัวเองได้ สามารถมารับคำแนะจากแพทย์และวางแผนการใช้ยาในการรักษาเพื่อเลิกยาได้ เพราะการมีแพทย์คอยให้คำแนะนำจะทำให้แผนการเลิกยาเสพติดสำเร็จได้มากขึ้น
  9. ปัญหาชีวิตคู่ หลายคนอาจจะคิดว่าการมาพบจิตแพทย์จะต้องมีเป็นโรคทางจิตเวชเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาชีวิตคู่ก็เป็นปัญหาสำคัญที่จิตแพทย์สามารถให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำในการปรับตัวของสามีภรรยาได้ การได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจะทำให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจอุปนิสัยและเรียนรู้กันได้มากขึ้น
  10. ปัญหาสุขภาพทางเพศปัญหาสุขภาพทางเพศหลายปัญหา เกิดขึ้นในระดับจิตใต้ลำนึกของคนไข้ ต้องแก้ด้วยการรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัด เช่น อาการจิ๋มล็อก ( Vaginismus ) เป็นอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อที่อุ้งเชิงกรานผู้หญิงเกิดการหดเกร็งในขณะมีเพศสัมพันธ์ ทำให้สอดใส่ไม่ได้ หรือการที่สามีภรรยาไม่สามารถร่วมเพศกันได้ ภรรยารังเกียจการมีเพศสัมพันธ์กับสามี ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้หากได้เข้ารับการรักษาจะช่วยให้คนไข้มีความสุขในชีวิตคู่ได้มากขึ้น
  11. ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่โรงพยาบาลพญาไท 2 มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลและให้คำปรึกษากับผู้ป่วยในระยะสุดท้าย เมื่อผู้ป่วยมีภาวะที่ยากลำบากต่อการปรับตัวต่อการรับรู้ในภาวะที่ตนเองเป็น และแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ได้ เช่น ปัญหาระหว่างบุคคล ปัญหาส่วนตัว ปัญหาอาการเจ็บป่วยที่กำลังทรุดหนัก ซึ่งอาจจะกระทบจิตใจรุนแรงถึงขั้นเป็นภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล มีอาการเพ้อ สับสน นอนไม่หลับ มีความคิดทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นได้

การให้คำปรึกษา ‘เวลา’ คือสิ่งสำคัญ

แผนกจิตเวชโรงพยาบาลพญาไท 2 นอกจากจะมีทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะโรคหลายท่านแล้ว แพทย์แต่ละคนยังให้ความสำคัญกับการพูดคุยกับคนไข้ เนื่องจากจิตแพทย์พบว่าระยะเวลาที่ให้คำปรึกษาคือตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการรักษา การได้รับคำปรึกษาที่ถูกต้องและมีเวลาพูดคุยกันอาจจะทำให้คนไข้ไม่ต้องใช้ยาในการรักษาเลยก็ได้

พฤติกรรมบำบัดและการรับคำปรึกษาช่วยได้ หากไม่ต้องการใช้ยา

ในปัจจุบันนี้ คนไข้มีแนวโน้มต้องการรักษาแบบไม่ใช้ยากันมากขึ้นจึงเน้นที่การพูดคุยเพื่อให้คำปรึกษามากขึ้นด้วย สาเหตุที่คนไข้หลีกเลี่ยงการใช้ยาเป็นเพราะสนใจแนวทางธรรมชาติบำบัดมากขึ้น และมองว่ายามีผลข้างเคียง ทำให้ง่วงซึม มึน มีผลต่อการทำงานของตับและไต แพทย์ของโรงพยาบาลพญาไท 2 จึงมีทางเลือกเพื่อการรักษาอื่นๆ เพื่อช่วยให้คนไข้สะดวกใจที่จะรับการรักษามากขึ้น แต่การไม่ใช้ยานั้นต้องดูที่โรคและระดับอาการก่อนว่าสามารถทำได้หรือไม่ หากคนไข้ต้องได้รับการรักษาด้วยยา ทางโรงพยาบาลพญาไท 2 ก็มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับยาคอยให้คำแนะนำในการใช้ยาให้เหมาะกับอาการ ส่วนการรักษาด้วยพฤติกรรมบำบัด แพทย์จะให้การบ้านคนไข้ และเมื่อกลับบ้านไปแล้วคนไข้ก็ต้องให้ความร่วมมือในการรักษาด้วย

ติดต่อสะดวก เลือกเวลานัดและเลือกแพทย์ด้วยตัวเองได้

ในปัจจุบันนี้ คนไข้ไม่จำเป็นที่จะต้องมารอพบแพทย์เป็นเวลานานหรือต้องมีการคัดกรองหลายขั้นตอนอีกต่อไปแล้ว เพราะที่แผนกจิตเวชโรงพยาบาลพญาไท 2 สามารถทำการนัดแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาได้ที่แผนกจิตเวช โรงพยาบาลพญาไท 2 ด้วยวิธี…

  • คนไข้สามารถโทรเข้ามาที่แผนกจิตเวชเพื่อนัดพบแพทย์ได้เลย พยาบาลจะเป็นคนสอบถามอาการแนะนำแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการเข้ารับการรักษา และทำการนัดหมายให้ได้ตามวันเวลาที่คนไข้ต้องการ
  • การทำนัด ต้องนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการที่แผนกจิตเวช โรงพยาบาลพญาไท 2 เบอร์ติดต่อ 02-617-2444 ต่อ 7448  เท่านั้น
Loading...


Loading...
Loading...
Loading...