ศูนย์ควบคุมน้ำหนัก และโภชนบำบัด icon

ศูนย์ควบคุมน้ำหนัก และโภชนบำบัด

พญาไท 3

ศูนย์ควบคุมน้ำหนักและโภชนบำบัด ให้การดูแลในเรื่องการควบคุมน้ำหนักและโภชนบำบัด โดยทีมสหสาขา ทั้งแพทย์ พยาบาล นักกำหนดอาหารวิชาชีพ นักกายภาพบำบัด เราพร้อมที่จะเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำกับคนไข้และญาติที่ต้องการความรู้เกี่ยวโภชนาการ สายให้อาหาร และการลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นภาวะโภชนาการเกิน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุก ๆ เคสที่เข้ามารับการดูแลจากทางศูนย์ฯ จะได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม ด้วยความรู้ที่ทันสมัย โดยจะมีการตรวจประเมินอย่างละเอียดจากประวัติการกิน ความสามารถในการรับอาหาร น้ำหนักตัว ค่าดัชนีมวลกาย ความเจ็บป่วย ผลเลือด เป็นต้น จากนั้นแผนจะถูกดีไซน์ขึ้นมาแบบเฉพาะบุคคล รวมถึงการแนะนำการรับประทานอาหารที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้รับบริการได้ประโยชน์อย่างสูงสุด

ศูนย์ควบคุมน้ำหนักและโภชนบำบัด โรงพยาบาลพญาไท 3 ลงตัวสำหรับทุกวัย และไลฟ์สไตล์เพื่อผู้ที่รักในสุขภาพและผู้ที่ต้องการดูแลโภชนาการอย่างถูกต้อง การดูแลของทางศูนย์ ฯ ครอบคลุมดังนี้

  • ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ลดเองได้ยาก ความสามารถในการลดและควบคุมน้ำหนักไม่ให้กลับมาอ้วนอีก ต้องอาศัยความตั้งใจในการดูแลตนเองต่อเนื่อง ซึ่งแต่ละคนมีสุขภาพร่างกาย วิถีชีวิต ความชอบต่างกัน ทีมบุคลากรทางแพทย์สหสาขา เช่น แพทย์เฉพาะทางต่างๆ นักกำหนดอาหาร นักกายภาพบำบัด จะคอยให้การดูแลและคำแนะนำในการปฏิบัติตัว ควรเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางโรคอ้วน เพื่อลดน้ำหนักอย่างถูกต้องและปลอดภัยกับร่างกายแต่ละคน เพราะความอ้วน…ไม่ใช่แค่…อ้วน แต่คือที่มาของปัญหาสุขภาพที่น่ากลัว…เริ่มต้นลดน้ำหนัก เพื่อสุขภาพที่ดีกันเถอะ
  • ผู้สูงอายุ ที่ทานอาหารได้น้อย ไม่ว่าจากสาเหตุใด นอกจากควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุแล้ว การให้กินอาหารเสริมทางปาก ควรเป็นอาหารเสริมแบบสารอาหารสมบูรณ์ ( complete formula )
  • คนไข้มะเร็ง มะเร็งมักปล่อยสารที่ทำให้ร่างกายเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ยิ่งมะเร็งที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เคมีบำบัด หรือฉายแสง ร่างกายต้องใช้พลังงาน และสลายโปรตีนอย่างมากช่วงรักษา หากได้รับการเตรียมด้านโภชนาการที่ถูกต้อง ตั้งแต่ก่อนถึงวันรักษา ย่อมมีความพร้อมทางร่างกายเพียงพอ ผ่าตัดแล้วก็จะฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ภาวะแทรกซ้อนน้อย รอยต่อติดดี ลดโอกาสติดเชื้อ หรือแม้แต่คนไข้มะเร็งระยะสุดท้าย โภชนาการที่ดีจะมีส่วนทำให้สามารถมีชีวิตยืนยาวขึ้นได้อีกประมาณ 30 % ของเวลาที่เหลือ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • คนไข้ที่ต้องทานอาหารผ่านทางสายให้อาหาร ไม่ว่าทางจมูก ( Nasogastric tube; “สาย NG” ) หรือทางหน้าท้อง ( Gastrostomy , PEG ) ปริมาณอาหารและสารอาหารแต่ละคนต้องปรับให้เหมาะกับน้ำหนักตัวขณะนั้น โรคหลัก โรคประจำตัว และภาวะวิกฤตร่วม รวมถึงการดูแลสภาพสาย เปลี่ยนสาย และระวังภาวะแทรกซ้อน เช่น ขาดเกลือแร่ แผลกดจมูก สายตัน สำลัก ท้องอืด ท้องเสีย
  • คนไข้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ต้องดูแลบนเตียง หรือผู้ป่วยติดเตียง เมื่อได้สารอาหารที่ครบถ้วนในปริมาณที่พอดี จะส่งผลให้มีน้ำหนักที่พอเหมาะ มีเนื้อมากขึ้น หรือจะเรียกว่า ผิวมีน้ำมีนวลขึ้น

การดูแลอย่างต่อเนื่องกับทีมสหสาขา

ดูแลอย่างเป็นระบบ ใกล้ชิดแบบรายบุคคล ด้วย ทีมสหสาขาพร้อมให้การดูแลคนไข้ในทุกกระบวนการ ทั้งการแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การดูแลปฏิบัติตัวด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เหมาะสม แนะนำเรื่องโภชนาการ การออกกำลังกาย กล่าวได้ว่าทีมสหสาขาของเราพร้อมให้การดูแลบริการให้กับคนไข้ทุกคนอย่างดีที่สุด

Loading...


Loading...
Loading...
Loading...