ปวดเมื่อยบ่อยๆ….ระวังสัญญาณเตือนโรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว

พญาไท 1

1 นาที

27/05/2020

แชร์


แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ


ปวดเมื่อยบ่อยๆ….ระวังสัญญาณเตือนโรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว

หากมีอาการปวดเมื่อยเนื้อตัวบ่อยๆ รู้สึกอ่อนแรงในบางที แขนขายกไม่ขึ้น ลุกเดินไปไหนก็ลำบาก…. ให้ระวัง! เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาเตือน ‘โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว’

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว

แม้โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัวจะยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่เป็นผลมาจากการอักเสบของกล้ามเนื้อหลายๆ ตำแหน่งในเวลาเดียวกัน ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หากอาการรุนแรงมาก ผู้ป่วยจะไม่สามารถขยับเขยื้อนหรือลุกไปไหนมาไหนได้ และถ้าหากมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบร่วมด้วยแล้วล่ะก็… อาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้!

หากมีอาการเหล่านี้ อาจเป็นโรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว

อาการป่วยของโรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วทัวมักจะค่อยเป็นค่อยไป เช่น รู้สึกอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด กล้ามเนื้อบางส่วนจะเมื่อยล้าอ่อนแรง เมื่อรุนแรงขึ้นจะทำให้กลืนอาหารลำบาก สำลักบ่อย หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดจังหวะ และหากมีอาการนานกว่า 3 เดือน ผู้ป่วยจะมีอาการของกล้ามเนื้อลีบ ซึ่งถ้ายิ่งปล่อยไว้นานๆ ก็จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องรีบเข้ารับการรักษาโดยด่วน

การรักษาโรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว

  • รักษาทางยา เนื่องด้วยการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ในการลดการอักเสบของกล้ามเนื้อติดต่อกันเป็นเวลานานๆ อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
  • กายภาพบำบัด มีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาผู้ป่วย เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเกิดการหดตัว ป้องกันการติด และส่งเสริมให้กล้ามเนื้อเกิดความแข็งแรง
  • การรักษาด้วยยาและการทำกายภาพบำบัด จะต้องทำควบคู่กันไป เพื่อให้เกิดผลการรักษาที่ดีที่สุด และผู้ป่วยจำเป็นต้องมีกำลังใจที่เข้มแข็งเพื่อต่อสู้กับการรักษาที่ใช้เวลา

นัดหมายแพทย์

แชร์

หากสนใจต้องการปรึกษาแพทย์

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ




บทความแนะนำ

รีบเช็กความเสี่ยง! เมื่อ ‘โรคกระดูกพรุน’ ไม่ได้พบได้แค่ในกลุ่มผู้สูงอายุ

พญาไท 1

สำหรับคนที่อายุยังน้อย กลุ่มคนรักการออกกำลังกายหรือนักกีฬา อาจมองว่าภาวะกระดูกพรุนเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงแล้วภาวะกระดูกพรุนเรียกว่าเป็นภัยเงียบ เพราะในระยะแรกจะไม่แสดงอาการเจ็บปวดหรือสัญญาณเตือน จนกระทั่งเกิดภาวะกระดูกหักหรือร่างกายทรุดลง

โรคกระดูกพรุน ป้องกันกระดูกหักได้ถ้าแก้ไข้ที่สาเหตุ

พญาไท 1

ผู้ป่วยกระดูกพรุนส่วนใหญ่มักไม่มีอาการจึงเริ่มมาตรวจและรักษาช้า การรักษาจะมีทั้งการปรับพฤติกรรม การเลือกชนิดอาหาร การใช้ยากินหรือยาฉีด ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ประเมินและวางแผนการรักษาตามความรุนแรงของโรค

ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดข้อเข่า ป้องกันได้ด้วยการดูแล

พญาไท 1

การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าที่ดี จะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วและลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยจะเจ็บน้อยและกลับมาเดินได้เป็นปกติเร็วขึ้น

ความเสี่ยงโรคข้อสะโพกเสื่อม เขาว่า..ยิ่งใช้มากยิ่งพังเร็ว!

พญาไท 1

ข้อสะโพกเสื่อม เป็นหนึ่งในความเสื่อมตามวัย และยังเกิดได้จากความผิดปกติอื่นๆ เช่น การพัฒนาของกระดูกที่ผิดเพี้ยนไป โรคประจำตัวบางชนิด และการมีน้ำหนักตัวมาก