เมื่อป่วยก็ต้องรักษา และเมื่อกระดูกสันหลังเคลื่อนก็ต้องรีบรักษาเช่นเดียวกัน เพราะหากรักษาในระยะเริ่มแรก ยังคงสามารถรักษาได้ด้วยยา และการปรับพฤติกรรม แต่ถ้าเมื่อเป็นมากแล้ว การผ่าตัดก็คือคำตอบ แต่การผ่าตัดแผลใหญ่ๆ คงไม่ใช่สิ่งที่ใครๆ ต้องการ
หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนคืออะไร?
หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนเกิดได้จากการเกิดอุบัติเหตุ หรือความเสื่อมของกระดูกสันหลัง อาการจะเริ่มจากการปวดหลังบริเวณเอว ปวดขา เดินลำบาก ปวดเมื่อย ปวดมากเวลานั่งนานๆ หรือเดินไกลๆ และจะมีอาการปวดมากหลังจากที่เดินไปสักระยะ เมื่อมีการเคลื่อนตัวของกระดูกมากขึ้นจนมีการกดทับเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง ก็จะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น ปวดร้าวลงขา ขาชาหรือมีความรู้สึกเหมือนเข็มตำบริเวณขาหรือเท้า กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง ซึ่งอาการมักจะเป็นที่ขาทั้ง 2 ข้าง มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการเคลื่อนตัวของกระดูกสันหลัง
สำหรับอาการเริ่มแรก คนไข้จะมีอาการปวดช่วงเอวในกลุ่มที่มีปัญหากระดูกสันหลังช่วงเอวเคลื่อน ซึ่งพบบ่อยมากที่สุด หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานกระดูกที่เคลื่อนจะกดทับเส้นประสาทที่สั่งการไปที่ขา จึงเกิดอาการปวดขาทั้งสองข้าง ไม่สามารถเดินได้นานเหมือนเดิม เช่น เดินได้เพียง 10 นาทีก็ต้องพัก แต่ถ้ามีการเคลื่อนของกระดูกสันหลังช่วงหน้าอกจะมีอาการเป็นอัมพาตครึ่งตัวบน
ใครคือกลุ่มเสี่ยง?
เมื่อเป็นแล้วจะรักษาอย่างไร
ข้อดีของผ่าตัดใส่สกรูยึดกระดูกสันหลังแบบเปิดแผลเล็ก
- เป็นการเจาะผิวหนังแผลเล็ก ทำให้ไม่เจ็บปวดมากและไม่ต้องเสียเลือดจากการผ่าตัดมากเหมือนก่อน
- เหมาะกับคนไข้ที่มีอายุมาก
- หลังผ่าตัดสามารถเดินได้ทันที ต่างจากการผ่าตัดเปิดที่ต้องพักฟื้นนาน
- แผลเล็กทำให้เชื้อโรคเข้าบาดแผลได้น้อยลงกว่าแผลใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยลง
- ไม่ต้องให้เลือด
- แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก
- ฟื้นตัวเร็วขึ้น ผู้ป่วยสามารถลุกเดินได้ในวันรุ่งขึ้นหลังการผ่าตัด
ควรทำเช่นไรหากต้องการหลีกเลี่ยงโรคกระดูกสันหลัง
- ควรหมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
- ควบคุมน้ำหนักตัว
- อย่านั่งท่าใดท่าหนึ่งนานๆ หรืออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งตลอดเวลา เพราะจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้า
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบๆ กระดูกสันหลังแข็งแรง แต่ไม่ควรออกกำลังกายในลักษณะที่ผาดโผน พยายามหลีกเลี่ยงการกระแทกการกระโดด หรือว่าการดึงรั้งกระดูกสันหลังที่ผิดท่า สิ่งเหล่านี้จะช่วยพยุงกระดูกสันหลังไว้ได้ และจะช่วยป้องกันภาวะเสื่อมของกระดูกสันหลัง
นพ.ธีรชัย ผาณิตพงศ์
ศัลยแพทย์ศูนย์สมองและกระดูกสันหลัง
โรงพยาบาลพญาไท 3