คนเราควรนอนวันละกี่ชั่วโมงกันแน่
มูลนิธิการนอนหลับ (National Sleep Foundation) ในสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำแนะนำระยะเวลาการนอนหลับไว้เมื่อปี 2558 โดยแบ่งตามช่วงอายุ ดังนี้…
- วัยแรกคลอด – 3 เดือน ควรนอน 14-17 ชั่วโมง
- วัยทารก 4 เดือน – 1 ปี ควรนอน 12-15 ชั่วโมง
- วัยเตาะแตะ 1-2 ปี ควรนอน 11-14 ชั่วโมง
- วัยก่อนเข้าเรียน 3-5 ปี ควรนอน 10-13 ชั่วโมง
- วัยเข้าโรงเรียน 6-13 ปี ควรนอน 9-11 ชั่วโมง
- วัยรุ่น 14-17 ปี ควรนอน 8-10 ชั่วโมง
- วัยผู้ใหญ่ตอนต้น 18-25 ปี ควรนอน 7-9 ชั่วโมง
- และวัยผู้ใหญ่ 26-64 ปี ควรนอน 7-9 ชั่วโมง
แต่ถึงจะรู้แบบนี้ คนจำนวนไม่น้อยก็ยังต้องเผชิญกับภาวะการณ์นอนหลับไม่สนิท (Fragmented Sleep) หรือนอนหลับยากอาจเกิดจากระบบสั่งการการนอนหลับในสมองมีความผิดปกติ (Circadian Rhythm Sleep Disorder) หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด กรดไหลย้อน โรคซึมเศร้า ภูมิแพ้ หรือแม้กระทั่งลักษณะการทำงานที่เป็นกะกลางวัน/กลางคืน ใครกำลังมีปัญหานอนไม่หลับ ก่อนที่จะมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา เรามี 9 เทคนิคง่ายๆ ช่วยให้คุณหลับได้ง่ายขึ้นให้ลองทำตาม
9 เทคนิคง่ายๆ ช่วยให้คุณหลับได้ง่ายขึ้น
- ออกกำลังกายช่วงเย็น 30 นาที ในช่วง 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน
- กินกล้วยหอม เพราะผิวของกล้วยหอมมีฤทธิ์เหมือนยานอนหลับ และมีกรดอะมิโน ที่ชื่อว่า ทริปโตฟาน (Tryptophan) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสารเซโรโทนิน (Serotonin) ช่วยให้ง่วงนอน รู้สึกคลายเครียด คลายกังวล และทำให้หลับสบาย
- หลีกเลี่ยงอาหารหนักและอาหารรสจัดก่อนนอน เพราะร่างกายต้องใช้เวลา 2-3 ชั่วโมงในการย่อยอาหาร
- หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ แอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มกระตุ้นประสาท 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน
- ผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ ด้วยการอาบน้ำอุ่นก่อนนอน ฟังเพลงเบาๆ สวดมนต์ภาวนา หรือ การนั่งสมาธิ
- จัดระเบียบห้องนอนและกำจัดสิ่งรบกวน ด้วยการปิดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เพื่อให้มีบรรยากาศมืดที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ร่างกายเกิดการสร้างเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนง่วง ที่ร่างกายหลั่งตามปกติ เมื่อถึงเวลานอน
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ (Active smoker) รวมถึงอยู่ใกล้ควันบุหรี่(Passive smoker) เพราะสารนิโคติน (Nicotine) จะทำให้หลับยาก หลับไม่สนิท ตื่นบ่อย และฝันร้าย จากผลการกระตุ้นระบบประสาทของสารนิโคติน
- พยายามกำหนดเวลาเข้านอนให้เป็นเวลา โดยพยายามนอนก่อน 5 ทุ่ม และตื่นก่อน 6 โมงเช้า เนื่องจาก ฮอร์โมนที่เร่งการเจริญเติบโต และฮอร์โมนที่ช่วยซ่อมแซมร่างกายหลั่งมากที่สุดในช่วงกลางดึก คือ 23.00-04.00 น. ดังนั้นช่วงเวลาดังกล่าวควรหลับสนิทเพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมตัวเองเต็มที่
- เมื่อหลังตื่นนอนทุกวัน ควรให้ผิวหนังได้โดนแสงแดดยามเช้า เพื่อให้ร่างกายได้สังเคราะห์วิตามินดีอย่างเพียงพอ และ การได้รับแสงแดดยามเช้าทุกๆ วัน วันละ 5-10 นาที ช่วยทำให้การนอนหลับตอนกลางคืนเป็นการหลับที่สนิทและมีคุณภาพ อีกทั้งวิตามินดียังเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติ ช่วยป้องกันโรคและช่วยให้เรารู้สึกสดชื่นตลอดวันอีกด้วย
เพราะการนอนเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพ
เพราะการนอนเป็นช่วงเวลาถึงประมาณ 1 ใน 3 ของชีวิต การนอนจึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่เฉพาะจำนวนชั่วโมง หรือช่วงเวลาของการนอนเท่านั้นที่สำคัญ คุณภาพของการนอนที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด การนอนที่ดี ต้องหลับสนิท ไม่ตื่นกลางดึก ตื่นมาแล้วต้องไม่ง่วงนอนระหว่างวัน สมองและระบบประสาทต้องตื่นตัวและพร้อมทำงานอยู่เสมอ รู้สึกมีความสุขในทุกๆ วันที่ได้ตื่นมา (Sense of Well-being) ใครลองทำทุกทางแล้วแต่ยังมีปัญหาการนอน แนะนำให้เข้ามาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย ที่ รพ.พญาไท 3 จะได้รับคำแนะนำดีๆ มีการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ช่วยคุณได้
หากคุณกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองหรือคนที่คุณรัก? วางแผนล่วงหน้าด้วยแผนประกันสุขภาพ คุณจะได้รับการคุ้มครองอย่างครอบคลุม ทั้งค่ารักษาพยาบาล (กรณีป่วยแอดมิทเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล) ค่าห้อง ค่าบริการทางการแพทย์และค่ายา การมีประกันสุขภาพสามารถช่วยให้การจัดการกับผลข้างเคียงราบรื่นและมีประสิทธิภาพ แล้วคุณจะได้ใช้ชีวิตอย่างมั่นใจและสบายใจทุกวัน
หากสนใจศึกษาข้อมูลการวางแผนทำประกันสุขภาพ แผน Exclusive Care @ BDMS สามารถโทรปรึกษาฟรีได้ทันที 02-822-1155 หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Allianz Ayudhya