เป็นวัยทองก็สุขใจได้…คุณหมอชะลอวัยคอนเฟิร์ม
เมื่ออายุคนเราเพิ่มขึ้น เราไม่อาจหลีกเลี่ยงโรคที่มากับความเสื่อมต่าง ๆ โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยทองฮอร์โมนเพศต่าง ๆ ทั้งในเพศชายและเพศหญิงมักขาดความสมดุล (Hormone imbalance) ทำให้อาการวัยทองแสดงอาการชัดมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเราแก่ลง ซึ่งทางการแพทย์เขานิยามเรื่องของวัยทองไว้ว่า…
วัยทองในผู้หญิง : คือวัยที่มีการสิ้นสุดของการทำงานของรังไข่แบบถาวร หรือหมดประจำเดือนโดยถาวร โดยจะนับเมื่อเริ่มขาดประจำเดือน มาเป็นเวลาต่อเนื่อง 1 ปี ซึ่งอายุเฉลี่ยของผู้หญิงไทยที่เข้าสู่วัยทองคือ 48 ปี
อาการ : วัยทองมักมีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อแตกขณะหลับตอนกลางคืน ผิวหนังบาง เกิดแผลง่าย คันตามผิวหนังบ่อย ๆ ผิวหนังเหี่ยวย่น ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อหรือในกระดูกอย่างไม่มีสาเหตุ อารมณ์ไม่แจ่มใส ขี้หงุดหงิด ขี้กังวล ความจำไม่ดี หลงลืมง่าย ซึมเศร้า ความต้องการทางเพศลดลง ช่องคลอดแห้งขาดความชุ่มชื้น นอนไม่ค่อยหลับหรือหลับไม่สนิทตื่นเป็นพักๆ เป็นต้น
วัยทองในผู้ชาย : อายุเฉลี่ยที่เข้าสู่วัยทองคือประมาณ 60 ปี เมื่อเข้าสู่วัย 60 เป็นต้นไปฮอร์โมนเพศชายจะลดลงเฉลี่ย 30-50 %
อาการ : อ้วนลงพุง สัดส่วนไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อลีบ ฝ่อ ความมั่นใจในตัวเองลดลง การตัดสินใจไม่เฉียบคม มีอารมณ์ซึมเศร้า ความจำเริ่มแย่ลง อารมณ์หงุดหงิด ขี้กังวล โดยไม่มีสาเหตุ มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ อารมณ์ทางเพศลดลงหรืออวัยวะเพศไม่ค่อยแข็งตัวอย่างปกติ
การรักษาอาการวัยทอง
ในสาขาของเวชศาสตร์ชะลอวัยและการฟื้นฟูสุขภาพ (Anti-aging & Regenerative Medicine) มีการดูแลรักษาด้วยการใช้ฮอร์โมนทดแทน (Bio-identical Hormone Replacement therapy ) เป็นฮอร์โมนที่มีหน้าตาทางโครงสร้างโมเลกุล เหมือนฝาแฝดกับร่างกายของคนเรา ซึ่งเป็นฮอร์โมนชนิดใหม่ที่ได้รับการพัฒนาจากอเมริกาและผ่าน FDA-APPROVED เท่านั้น ที่ศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 3 นำมาใช้ในการดูแลรักษาคนไข้รายบุคคล ทั้งเพศชายและเพศหญิง ทั้งนี้ก่อนเข้ารับการรักษาจำเป็นจะต้องได้รับการตรวจประเมินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยก่อน ได้แก่ การซักประวัติและตรวจร่างกาย การตรวจภายใน การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการเพื่อการวินิจฉัยวัยทอง การตรวจพิเศษอื่น ๆ วัยทองทั้งชายและหญิงที่เข้ารับการรักษาจำเป็นจะต้องได้รับการตรวจติดตามการรักษาอย่างน้อยปีละครั้ง และควรได้รับข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ข้อห้าม ความเสี่ยง และอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นอย่างถูกต้องก่อนทำการรักษา สุดท้ายนี้ หมอขอฝากถึงท่านผู้อ่านทุกท่านที่อาจจะเข้าข่ายวัยทองหรือมีญาติพี่น้องที่ได้รับผลกระทบจากอาการวัยทองว่าในปัจจุบันมีการพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยวัยทองที่ทันสมัยกว่าเดิม ปลอดภัยกว่าเดิม และให้ผลลัพท์ที่ดี การป้องกันคือการดูแลรักษาที่ดีที่สุดและวัยทองไม่จำเป็นต้องอยู่อย่างลำบากอีกต่อไปครับ