5 เทคนิคผ่าตัดกระดูกสันหลัง...ที่จะลดความกังวลให้คุณลงไปได้เยอะ

พญาไท 3

1 นาที

อ. 02/03/2021

แชร์


Loading...
5 เทคนิคผ่าตัดกระดูกสันหลัง...ที่จะลดความกังวลให้คุณลงไปได้เยอะ

ไม่ว่าวัยไหน หากได้ยินคำว่าผ่าตัดกระดูกสันหลังก็มักเข้าใจว่าเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่อันตราย กว่าแผลจะหายต้องใช้เวลานาน และหลังผ่าตัดก็ไม่แน่ใจว่าจะกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติได้ไหม… วันนี้เราขอแนะนำ 5 เทคนิคการผ่าตัดรักษาโรคกระดูกสันหลังแบบแผลเล็ก แล้วคุณจะรู้ว่า การผ่าตัดกระดูกสันหลังไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

“Minimally Invasive Spine Surgery” ผ่าตัดแผลเล็ก… ดีอย่างไร

ใช่ว่าผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาททุกคนจะต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยแพทย์จะพิจารณาให้ผ่าตัดก็ต่อเมื่อรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัดไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งการผ่าตัดนั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด โดยแพทย์จะใช้วิธี Minimally Invasive Spine Surgery (MIS) ผ่าตัดกระดูกสันหลังเพื่อเปิดแผลให้เล็กที่สุด และมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับการวินิจฉัย เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดให้น้อยที่สุด ข้อดีของการผ่าตัดแบบ MIS คือผู้ป่วยเสียเลือดน้อย ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ และสามารถฟื้นตัวได้เร็ว

และนี่คือ 5 วิธีผ่าตัดรักษาโรคกระดูกสันหลังแบบความเสี่ยงต่ำ และฟื้นตัวเร็ว

  1. การสลายหมอนรองกระดูก (Nucleoplasty) – การผ่าตัดขนาดเล็กด้วยการใช้เข็มฝังเข้าไปปล่อยพลังงานคลื่นวิทยุให้เกิดความร้อนสลายหมอนรองกระดูกสันหลังที่ทับเส้นประสาท หลังจากการผ่าตัดอาการปวดหลังร้าวลงขาจะค่อยๆ บรรเทาลง การรักษาวิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไม่มาก มีแค่อาการปวดหลังยังไม่ร้าวลงไปยังขา แต่รักษาด้วยยาหรือทำกายภาพแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ
  2. การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องเอ็นโดสโคป (Endodiscectomy) – การผ่าตัดโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ขนาดเล็ก (Endoscope) แพทย์จะสอดกล้องเอ็นโดสโคปผ่านแผลผ่าตัดที่มีขนาดเล็กมากเพียง 8 มม. แม้กล้องจะมีขนาดเล็กแต่ภายในตัวกล้องจะมีเลนส์ที่ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติอยู่ที่ปลายกล้อง แพทย์จะยังคงสามารถเห็นอวัยวะภายในร่างกายได้อย่างชัดเจนในขณะผ่าตัด
  3. การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องขยาย (Microdiscectomy) – การผ่าตัดแผลเล็กขนาด 2-3 ซม. ด้วยการใช้กล้อง Microscope เป็นกล้องขยายขนาดเล็ก ทำให้เห็นรายละเอียดได้ชัดเจนกว่าการมองด้วยตาเปล่า มี Navigator ช่วยคำนวณพิกัดของกระดูกสันหลัง แพทย์จึงสามารถวางแผนการผ่าตัดได้ง่ายและแม่นยำมากขึ้น
  4. การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยการใช้ Laser คู่กับ Endoscope/Microscope – เป็นการรักษาด้วยการใช้ Laser ส่งผ่าน Fiber optic ขนาด 1 มม. คู่ไปกับ Endoscope เพื่อตัดหมอนรองกระดูกที่ต้องการออกด้วยความร้อนจาก Laser วิธีนี้จะปลอดภัยกับเนื้อเยื่อข้างเคียงและช่วยให้ไม่เสียเลือดมาก
  5. การผ่าตัดใส่หมอนรองกระดูกสันหลังเทียม (Artificial Disc Replacement) – หากหมอนรองกระดูกเสื่อมมากจนไม่สามารถใช้งานได้แล้ว การใส่หมอนรองกระดูกสันหลังเทียมจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติอีกครั้ง เป็นการรักษาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังให้ใกล้เคียงแบบเดิมมากที่สุด และลดโอกาสในการเกิดความเสื่อมของกระดูกสันหลังข้างเคียงอีกด้วย

แชร์

Loading...
Loading...
Loading...