หนึ่งในปัญหาหนักของผู้สูงวัย…ต้องหนีไม่พ้นเรื่องของกระดูกพรุน ข้อเสื่อม ปวดข้อ ปวดขา หกล้ม กระดูกหักไปได้ และหนึ่งในอาการที่พบบ่อยมากในผู้สูงวัย ก็คือปัญหาปวดสะโพกด้านหลังนี่ล่ะ ถ้าผู้สูงวัยในบ้านกำลังบ่นโอดโอยว่าปวดสะโพกเวลาเดินหรือยืนนานๆ เราอาจต้องมาทำความรู้จักกับโรคข้อสะโพกเสื่อมแบบเจาะลึกกันหน่อยแล้ว
ทำไมผู้สูงวัยมักจะข้อสะโพกเสื่อม
ความจริงอาการข้อสะโพกเสื่อมเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งความผิดปกติของสะโพกตั้งแต่เกิด ข้อสะโพกขาดเลือดจากอุบัติเหตุ แต่อาการข้อสะโพกเสื่อมในผู้สูงวัยนั้น มักเกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนที่รับแรงกระแทกระหว่างข้อ หรือมีภาวะกระดูกพรุนทำให้กระดูร้าวแตกหักได้ง่ายเมื่อหกล้มเพียงเล็กน้อยก็ตาม ซึ่งมักจะเป็นการหักของกระดูกต้นขา (Femur) ที่อยู่บริเวณสะโพกและโคนขาหนีบ
และสิ่งจำเป็นต้องรู้คือ…
หลายครั้ง ที่ผู้สูงอายุไม่ยอมรับการรักษา จนเกิดโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น ปอดอักเสบ การติดเชื้อ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน อันเนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือเดินได้
อาการสำคัญคือ การปวดสะโพกด้านหลัง คนที่มีภาวะข้อสะโพกเสื่อม มักจะมีอาการปวดสะโพกด้านหลังตลอดเวลา เพราะข้อสะโพกเสื่อมจากภาวะกระดูกเสื่อม ข้ออักเสบรูมาตอยด์ กระดูกอ่อนอาจจะถูกทำลายและทำให้ปวดสะโพกด้านหลัง และข้อยึดในเวลาต่อมา
ถึงข้อสะโพกเสื่อมก็ไม่เป็นไร…เราเปลี่ยนข้อสะโพกใหม่ได้
ถ้าแพทย์วินิจฉัยแล้วเห็นว่าจำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก นั่นหมายถึงการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมเข้าไปแทนที่ข้อสะโพกที่เสื่อมหรือแตกหัก ข้อสะโพกเทียมประกอบด้วย 2 ส่วนคือ “ส่วนเบ้าสะโพก” และ “หัวสะโพก” ซึ่งใช้ในการเคลื่อนไหว ประกอบด้วยวัสดุทั้งเป็นพลาสติกชนิดพิเศษและเหล็ก ซึ่งข้อเทียมในสมัยใหม่นี้สามารถมีอายุการใช้งานได้นานหลังถึง 25 ปี และด้วยนวัตกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในปัจจุบันของโรงพยาบาลพญาไท 2 ยังช่วยให้ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว เพราะลดความเจ็บปวด ลดการเสียเลือดจากการผ่าตัด ส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาพักฟื้นรักษาตัวประมาณ 12 สัปดาห์ เพื่อให้แผลผ่าตัดหายสนิท และโดยมากจะกลับเดินได้ดีเป็นปกติภายใน 3 เดือนเท่านั้น