ไม่ใช่แค่สะโพกหัก...เพราะที่อันตรายกว่าคือโรคแทรกซ้อนที่จะมาตามอีกเพียบ

พญาไท 2

1 นาที

อ. 26/05/2020

แชร์


Loading...
ไม่ใช่แค่สะโพกหัก...เพราะที่อันตรายกว่าคือโรคแทรกซ้อนที่จะมาตามอีกเพียบ
เพราะเราได้ยินกันมามาก…ว่าผู้สูงอายุที่หกล้มแล้วกระดูกสะโพกแตก มักจะมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นาน จากสถิติพบว่า 1 ใน 5 ของผู้สูงอายุที่หกล้มสะโพกหัก จะเสียชีวิตภายใน 1 ปีหลังจากสะโพกหัก!!

ถ้าสงสัยว่าทำไม? อาการแค่กระดูกหักไม่น่ารุนแรงถึงชีวิตขนาดนี้

คำตอบก็คือ…สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ผู้ป่วยกระดูกสะโพกแตกหรือหักนั้นเกิดจากโรคแทรกซ้อนอีกมากที่ตามมานั่นเอง มีสถิติพบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 7 – 27 จะเสียชีวิตภายใน 3 เดือนหลังจากมีกระดูกสะโพกหัก เนื่องจากภาวะแทรกซ้อน เพราะไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

ทำไมโรคแทรกซ้อนถึงตามมามากมาย + อันตรายขนาดไหน

เพราะกระดูกสะโพกเป็นกระดูกส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในการเคลื่อนไหว เมื่อกระดูกสะโพกหัก แตก หรือเคลื่อน เลยมีผลทำให้ผู้สูงวัยขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวด้วยตัวเองไม่ได้ อย่างการลุกขึ้นนั่งหรือยืน หรือขยับขาแล้วเจ็บมาก โรคแทรกซ้อนที่ตามมานั้นเพราะว่า

 

ผู้ป่วยเลยมักจะต้องนอนหรือนั่งอยู่ท่าเดิมเป็นเวลานานๆ เกิดเป็นแผลกดทับตามมา บริเวณก้นและสะโพก

 

ความเจ็บปวดจากการพยายามขับถ่ายหรือปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงที่จะทำ เกิดเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือลำไส้ไม่ทำงาน อาการท้องผูก หรือผู้ป่วยที่ลุกขึ้นมานั่งไม่ได้ต้องนอนขับถ่ายทางสายปัสสาวะ ก็อาจเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้

 

การลุกขึ้นนั่งสูงไม่ได้ทำให้ปอดไม่ได้ขยายตัว อาจเกิดภาวะปอดชื้น หรือปอดบวมตามมา

 

ถ้าในผู้สูงวัยที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคเบาหวาน หรือโรคหัวใจอยู่แล้ว ก็มีโอกาสสูงที่โรคจะกำเริบหนักขึ้นได้

 

นี่คือสาเหตุทั้งหมดที่ทำให้ภาวะสะโพกหักหรือแตกในผู้สูงวัย ไม่ได้หยุดอยู่แค่เรื่องของกระดูกเท่านั้น แต่อาจนำไปสู่ภาวะอันตรายที่ทำให้ผู้สูงวัยมีโอกาสเสียชีวิต ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะกระดูกสะโพกหักหรือเสื่อม ถ้ายิ่งเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว ไม่ปล่อยให้เกิดโรคแทรกซ้อน…สะโพกหักก็จะไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

แชร์

Loading...
Loading...
Loading...