ป่วยเป็น “กรดไหลย้อน” ควรงดอาหารอะไรบ้าง ?

ป่วยเป็น “กรดไหลย้อน” ควรงดอาหารอะไรบ้าง ?

กรดไหลย้อน เป็นโรคที่มักมีอาการเป็นๆ หายๆ หากผู้ป่วยยังคงมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบเดิม โดยเฉพาะอาหารการกินที่ส่งผลให้อาการกรดไหลย้อนเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น อาหารเหล่านี้..คืออาหารที่ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนควรหลีกเลี่ยง

1. อาหารไขมันสูง

ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนควรงดอาหารไขมันสูง เช่น อาหารทอด ๆ อาหารมัน ช็อกโกแลต ฟาสต์ฟู้ด อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น กะทิ นม เนย ชีส ไอศกรีม หรือไขมันจากเนื้อสัตว์ เป็นต้น เนื่องจากไขมันจากอาหารเหล่านี้จะไปรวมกับกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการจุก แน่น หรือร้อนที่กลางอกได้

2. อาหารที่มีแก๊สมาก

ไม่ว่าจะเป็น น้ำอัดลม ชา กาแฟ โซดา เครื่องดื่มชูกำลัง อาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด อาหารรสเผ็ดจัด หรือ ถั่ว เพราะอาหารกลุ่มนี้จะเข้าไปกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำย่อยมากยิ่งขึ้น

3. น้ำส้มสายชู

น้ำส้มสายชูจัดเป็นเครื่องปรุงรสที่มีกรดมาก ดังนั้นผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนไม่ควรเติมน้ำส้มสายชูลงในอาหาร เพราะจะเป็นการเพิ่มกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้นไปอีก

4. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะเป็นเบียร์ สุรา ไวน์ ค็อกเทล หรือเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ทุกชนิด ผู้ป่วยกรดไหลย้อนควรเลี่ยง เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กระตุ้นให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารเปิดออก ทำให้กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับไปที่หลอดอาหารได้ง่ายขึ้น

5. ผลไม้ที่มีกรดมาก

ผลไม้ที่ผู้ป่วยกรดไหลย้อนห้ามกินหรือควรเลี่ยงไว้เป็นดี คือกลุ่มผลไม้ที่มีกรดมาก เช่น ส้ม องุ่น มะนาว มะเขือเทศ สับปะรด หรือน้ำผลไม้รสเปรี้ยวจัด รวมไปถึงซอสมะเขือเทศก็ควรเลี่ยงด้วยเช่นกัน

6. ผักที่มีกรดแก๊สมาก

อย่างเช่น หอมหัวใหญ่ดิบ กระเทียม พริก พริกไทย หอมแดง เปปเปอร์มินต์ หรือสะระแหน่ รวมทั้งผักดิบทุกชนิดก็ควรเลี่ยง เพราะผักเหล่านี้จะไปเพิ่มกรดแก๊สในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก

7. อาหารหมักดอง

อาหารหมักดองอย่าง ปลาร้า หน่อไม้ดอง ผักกาดดอง ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม กิมจิ ซูชิบางชนิดที่มีผักดอง ล้วนมีส่วนเพิ่มแก๊สในกระเพาะอาหาร ก่อให้เกิดอาการจุดเสียดแน่นท้องได้

8. อาหารเสริมที่มีไขมันสูง

แม้แต่อาหารเสริมบางชนิดก็ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะอาหารเสริมจำพวกน้ำมันตับปลา สารสกัดจากกระเทียม วิตามินอี หรือวิตามินซีก็เสี่ยงเพิ่มกรดในกระเพาะได้เช่นกัน

9. หมากฝรั่ง

การเคี้ยวหมากฝรั่งเป็นการเพิ่มการหลั่งน้ำลาย ทำให้เราต้องกลืนน้ำลายลงท้องมากขึ้น เท่ากับว่าได้กลืนลมลงกระเพาะอาหารมากขึ้นด้วย ดังนั้นผู้ป่วยกรดไหลย้อนจึงไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่งบ่อยๆ

 
การมีวินัย ใส่ใจในการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ถูกต้อง ไม่เพียงป้องกันโรคกรดไหลย้อนได้ แต่ยัง ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังและร้ายแรงอื่นๆ ได้อีกด้วย

แชร์

หากสนใจต้องการปรึกษาแพทย์

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ




บทความแนะนำ

เช็ค “กรดไหลย้อน” ด้วยการตรวจการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร (Esophageal manometry)

พญาไท 2

การตรวจการเคลื่อนไหวของหลอดอาหารเป็นตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อหลอดอาหาร เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำหน้าที่ในการส่งผ่านอาหารและของเหลวจากปากไปสู่กระเพาะอาหาร

แค่ปรับพฤติกรรม...ก็รักษา “กรดไหลย้อน” (GERD) ได้

พญาไท 2

โรคกรดไหลย้อน เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น มีความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายของหลอดอาหาร ทำให้ความดันของหลอดอาหารต่ำลง หรือเปิดบ่อยกว่าปกติ รวมถึงความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหาร ทำให้กรดจากกระเพาะอาหารไหลสู่หลอดอาหารมากขึ้น

การเตรียมตัวตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นโดยการส่องกล้องเข้าทางปาก (ESOPHAGO GASTRO DUODENOSCO

พญาไท 2

การตรวจกระเพาะอาการและลำไส้เล็กส่วนต้นโดยการส่องกล้องเข้าทางปาก นั้นเป็นวิธีการที่ใช้สำหรับตรวจหลอดอาหารกระเพาะอาหารจนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น ก่อนการส่องกล้อง ผู้ป่วยจะได้รับยาเฉพาะที่โดยการให้กลืนยาชา ซึ

3 โรคระบบทางเดินอาหารยอดฮิต บั่นทอนชีวิตคนเมือง

พญาไท 2