รู้ไหม? อาการปวดบนใบหน้า เสี่ยงเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ผิดปกติ

รู้ไหม? อาการปวดบนใบหน้า เสี่ยงเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ผิดปกติ

อาการปวดเฉียบพลันบริเวณใบหน้า คล้ายไฟฟ้าช็อตบนใบหน้าเป็นจังหวะ อาจเป็นสัญญาณเตือนที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทเส้นที่ 5  โดยหากเกิดขึ้นต่อเนื่องจะยิ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างยิ่ง เพราะแต่ละวันเราต้องรับประทานอาหาร ยิ้ม หัวเราะ หรือมีการสัมผัสใบหน้า ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวบนใบหน้าทั้งสิ้น  ดังนั้น หากยังปล่อยให้มีอาการเหล่านี้ต่อไป…อาจส่งผลร้ายในแบบระยะยาวได้นะ!

อาการปวดใบหน้า…สัญญาณเตือนภาวะผิดปกติ!

พญ. สิรารัตน์ โมรรัต อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาทผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทวิทยา ผู้ผ่านการศึกษาต่อเนื่องด้านการอ่านคลื่นสมองคนไข้ จาก Royal Children Hospital ออสเตรเลีย ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า.. อาการปวดใบหน้าเฉียบพลัน อาจมีสาเหตุจากความผิดปกติของเส้นประสาทคู่ที่ 5 โดยลักษณะของอาการปวดจะเป็นบริเวณข้างใดข้างหนึ่งของใบหน้า มักมีอาการปวดเกิดขึ้นบริเวณใกล้จมูก ริมฝีปาก ตา หน้าผาก กรามด้านบนหรือในช่องหู ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าตนมีอาการปวดฟัน จึงเลือกรับประทานยาแก้ปวดฟัน บางรายเป็นๆ หายๆ มีอาการเรื้อรังต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ ซึ่งส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน เนื่องจากไม่อาจหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น ทั้งการสัมผัสโดน การพูด การเคี้ยว หรือการแปรงฟัน

ใครบ้างที่เสี่ยง “ระบบเส้นประสาทคู่ที่ 5” ผิดปกติ

อาการปวดหน้า จากเส้นประสาทคู่ที่ 5 มักพบในผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป แต่ก็พบได้บ้างในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย โดยสาเหตุเกิดจากการกดหรือระคายต่อเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ซึ่งซ่อนตัวอยู่ในช่องกะโหลกศีรษะ ทำหน้าที่รับความรู้สึกสัมผัสบริเวณใบหน้า อาการปวดที่เกิดขึ้นอาจมาจากเส้นเลือดแดงในช่องกะโหลกศีรษะที่อยู่ใกล้รากของเส้นประสาทอยู่ชิดและกดเส้นประสาท มีก้อนเนื้องอกบริเวณเส้นประสาท หรือผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุหรือกระทบกระเทือนต่อเส้นประสาทคู่ที่ 5 นอกจากนี้อาจเกิดจากภาวะเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 มีการเสื่อมในโรค (Demyelintion) หรือพบได้โดยไม่ทราบเหตุ ซึ่งการวินิจฉัยโรคสามารถทำได้ด้วยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และเอ็กซเรย์ มักทำในผู้ป่วยที่แพทย์สงสัยว่ามีความผิดปกติของสมอง

การรักษาเมื่อเกิดภาวะเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ผิดปกติ

สำหรับการรักษาอาการปวดหน้าจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ทำได้ทั้งการรับประทานยา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้เลือกใช้ยาตามความเหมาะสมและความรุนแรงของโรค ถ้าพบความผิดปกติกรณีต้องมีการแก้ไขโดยแพทย์ผ่าตัด แพทย์จะแนะนำโดยละเอียดต่อไป

ทั้งนี้ พญ.สิรารัตน์ ได้อธิบายถึงผลข้างเคียงที่มีต่อการรับประทานยา ว่าอาจทำให้มีอาการง่วงซึม มึนงง ผู้สูงอายุที่เริ่มรับประทานยา 3-4 วันแรก อาจมีอาการข้างเคียงจากการรับประทานยา หลังจากนั้นจะทุเลาลง จนหลายปวดในที่สุด

 

พญ. สิรารัตน์ โมรรัต
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาท
ศูนย์สมองและกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลพญาไท 2

นัดหมายแพทย์

แชร์

หากสนใจต้องการปรึกษาแพทย์

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ




บทความแนะนำ

หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท หายขาดได้ด้วยแพทย์ด้านสมอง

พญาไท 2

หากปล่อยการปวดหลังไว้ อาจป่วยเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทได้ ถ้าไม่รีบพบแพทย์ก็อาจทำให้พิการหรือถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็ได้ ปัจจุบันมีการผ่าตัดแผลเล็กผ่านกล้องเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ

5 ท่าบริหารคอให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกคอเสื่อม

พญาไท 2

อาการปวดคอที่ลามไปถึงแขนและมือ มีอาการชาและอ่อนแรงจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ อาจเกิดจากโรคกระดูกคอเสื่อม ซึ่งป้องกันและลดอาการได้ด้วยท่าบริหารเหล่านี้

“ไมเกรน” อาการปวดที่ไม่ควรมองข้าม ป้องกันได้ด้วย “Botulinum Toxin”

พญาไท 2

“ไมเกรน” บางคนมีอาการปวดบ่อยครั้งขึ้น รุนแรงขึ้น และยาวนานขึ้น จนกลายเป็นอาการ “ปวดหัวเรื้อรัง” ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น นอนไม่หลับ ขับรถหรือทำงานไม่ได้

บอกลานิสัยเดิม! เพราะแค่รู้จักขยับปรับท่าทาง...ก็ช่วยหยุดโรคหมอนรองกระดูกได้

พญาไท 2

การเปลี่ยนท่าทางสามารถช่วยลดอัตราหมอนรองกระดูกเสื่อมได้มาก เนื่องจากการนั่งเก้าอี้แบบที่ไม่มีพนักพิงจะสร้างแรงกดทับการเปลี่ยนอิริยาบถจึงช่วยให้กล้ามเนื้อได้รู้สึกผ่อนคลายและลดโรคกระดูกเสื่อมก่อนวัย