แดดร้อนๆ ในช่วง Summer นี้ อาจทำให้คุณป่วยโดยไม่ทันตั้งตัว รพ.พญาไท 2 รวบรวม 5 โรคที่มากับอากาศร้อน ให้คุณเตรียมตัวรับมือ…อยู่กับแดดอย่างเป็นสุข
- โรคลมแดด (Heat Stroke) เป็นภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายสูงเกิน 40 องศา ร่วมกับอาการทางระบบประสาท โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของร่างกาย เช่น ซึม สับสน บางทีอาจถึงขั้นชักและหมดสติได้
- โรคผื่นแดด เป็นกลุ่มโรคผิวหนัง ที่เกิดจากการถูกกระตุ้นด้วยแสงยูวี (Ultraviolet light) ในแสงแดด และความร้อนที่เกิดจากเหงื่อ
- ภาวะตะคริวแดด (Heat Cramps) เกิดจากความร้อนทำให้ร่างกายเสียน้ำ และขาดเกลือแร่ จึงเกิดเป็นตะคริว พบได้ทั้งคนที่ทำงานกลางแจ้ง ออกกำลังกายหักโหม หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายมาก
- ภาวะเพลีย เมื่อต้องอยู่กับสภาพอากาศร้อนจัด ทำให้จากร่างกายไม่สามารถปรับสภาพตามอากาศได้ทัน จึงเกิดอาการสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว
- โรคอุจจาระร่วง เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และพยาธิ ที่มากับอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่สะอาด
อาการ : ตัวร้อน อุณหภูมิร่ายกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ทำให้ผู้ป่วยเริ่มมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ในบางรายไม่มีเหงื่อออก ความดันเลือดลดลง หัวใจเต้นผิดจังหวะ จนร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ มีอาการเพ้อ ชักเกร็ง จนถึงขั้นหมดสติ
วิธีการรักษา : หากพบผู้ป่วยโรคลมแดด ให้รีบพาเข้าที่ร่ม นอนราบกับพื้น ยกเท้าสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด ปลดคลายเสื้อผ้าให้หลวม แล้วใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบร่างกาย หรือสเปรย์ละอองน้ำให้ทั่วร่างกาย เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้เร็วที่สุด และรีบนำส่งโรงพยาบาล
ดูแลตัวเอง : ดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรืออยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ใส่เนื้อผ้าสีอ่อนที่ระบายอากาศได้ ไม่คับจนเกินไป
อาการ : เมื่อเจอแดดจะทำให้เป็นผื่นแดงบนผิวหนัง คัน และมีตุ่มแดงขึ้นตามร่างกายคล้ายเป็นผดรุนแรงมากขึ้นเมื่อผิวหนังต้องสัมผัสกับแสงแดด
วิธีการรักษา : มาพบแพทย์ และใช้ยาทาเพื่อลดการอักเสบของผดผื่น
ดูแลตัวเอง : หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน กางร่ม หรือใส่หมวกป้องกันแสงแดด
อาการ : คล้ายกับการเป็นตะคริวทั่วไป คือ กล้ามเนื้อกระตุก เกร็งและรู้สึกเจ็บหรือปวดบริเวณที่เป็นตะคริว ซึ่งมักพบที่บริเวณช่วงน่อง ขา และแขน
วิธีการรักษา : เมื่อมีอาการตะคริว พยายามหยุดอยู่นิ่งๆ แล้วดื่มน้ำเพื่อชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่เสียไป แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายในครึ่งชั่วโมง ควรรีบพบแพทย์ทันที
ดูแลตัวเอง : ไม่ควรออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ใช้แรงเกิน 2-3 ชั่วโมง ให้ดื่มน้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มที่มีเกลือแร่ และอยู่ในที่ๆ อากาศระบายได้สะดวก
อาการ : ปวดและมึนหัว คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย วิงเวียน ปวดเมื่อย มีระดับความรุนแรงน้อยกว่าลมแดด
วิธีการรักษา : ถ้าร่างกายมีความร้อนสูงเกินไป ให้ใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบร่างกาย หรือสเปรย์ละอองน้ำให้ทั่วร่างกาย เพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย
ดูแลตัวเอง : หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน กางร่ม หรือใส่หมวกป้องกันแสงแดด
อาการ : มีไข้ต่ำๆ เป็นหวัด มีอาการคลื่นไส้ ถ่ายอุจจาระเหลวอย่างน้อย 3 ครั้งหรือถ่ายเป็นน้ำ หรือเป็นมูกเลือดอย่างน้อย 1 ครั้งในรอบ 24 ชั่วโมง
วิธีการรักษา : ปกติจะหายได้เองภายใน 7 วัน ควรทานยาตามอาการ เช่น ยาแก้อาเจียน แก้ปวดท้อง ดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบมาพบแพทย์
ดูแลตัวเอง : ทานอาหารปรุงสุก ดื่มน้ำสะอาด เลือกซื้ออาหารจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ล้างมือบ่อยๆ ใช้ช้อนกลางสำหรับเมื่อทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 1 อาคาร A
โรงพยาบาลพญาไท 2 โทร. 02-617-2444 ต่อ 4104, 4106
Phyathai Call Center 1772