โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคร้ายแรงเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นการติดเชื้อที่ของเหลวรอบๆสมองและไขสันหลัง ทั้งยังเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด โรคนี้เกิดขึ้นได้กับทุกคนแต่จะพบมากในเด็กอ่อนที่มีอายุต่ำกว่า 1 ขวบ และผู้ที่มีอายุระหว่าง 16-21 ปี ส่วนเด็กที่มีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ม้ามพิการ และนักศึกษาที่อาศัยในหอพักมีความเสี่ยงที่จะติดโรคนี้ได้มากกว่าผู้อื่น
โดยวัคซีนป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบสามารถป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ 4 ชนิด รวมถึง 2 ใน 3 ชนิดที่พบมากที่สุดในสหรัฐ และชนิดที่ระบาดในแอฟริกา ยังมีโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดอื่นๆ อีกที่วัคซีนชนิดนี้ไม่ครอบคลุม
บุคคลที่มีความเสี่ยงสูงและควรได้รับการฉีดวัคซีน
- นักศึกษาใหม่ที่พักในหอพักของมหาวิทยาลัย
- นักจุลชีววิทยาที่คลุกคลีกับเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ก่อให้เกิดโรคนี้อยู่เป็นประจำ
- บุคคลที่พำนักหรือเดินทางไปยังประเทศซึ่งมีโรคนี้ระบาดเป็นประจำ เช่น
ภูมิภาคต่างๆของแอฟริกา
- ผู้ที่มีม้ามบกพร่องหรือตัดม้ามออก
- ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง
- บุคคลซึ่งอาจได้รับเชื้อในขณะที่โรคนี้ระบาด
บุคคลที่ไม่ควรรับการฉีดวัคซีนโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- ผู้ที่เคยมีอาการแพ้อย่างรุนแรง (ถึงขั้นอันตรายต่อชีวิต) จากการรับวัคซีนในครั้งก่อน ไม่ควรรับการฉีดครั้งต่อไป
- ผู้ที่เคยแพ้อย่างรุนแรง (ถึงขั้นอันตรายต่อชีวิต) ต่อส่วนผสมของวัคซีน ไม่ควรได้รับการฉีดวัคซีนนี้ แจ้งให้แพทย์ทราบถึงอาการแพ้อย่างรุนแรงนั้น
- ผู้ที่กำลังป่วยอยู่บ้างเล็กน้อยสามารถรับการฉีดวัคซีนนี้ได้เมื่อถึงกำหนดฉีด แต่ถ้ามีอาการป่วยปานกลางหรือป่วยหนัก ก็ควรรอจนกว่าจะหายเป็นปกติเสียก่อน
คำแนะนำในการปฏิบัติตัวหลังฉีดวัคซีน
วัคซีนก็เหมือนยารักษาโรคอื่นๆ อาจทำให้เกิดปัญหาได้ เช่น เกิดปฏิกิริยาแพ้ยาอย่างรุนแรง ความเสี่ยงซึ่งอาจทำอันตรายร้ายแรงต่อผู้รับการฉีดวัคซีนนี้ อาจเกิดขึ้นได้แต่น้อยมาก
ปัญหาเล็กน้อย : ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้รับการฉีดวัคซีนนี้เกิดผลข้างเคียงบ้าง เช่น มีอาการแดงและเจ็บบริเวณที่ฉีด หากเกิดปัญหาขึ้น ปกติแล้วจะหายไปเองภายใน 1 ถึง 2 วัน
ปัญหารุนแรง : ปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรงอาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลันภายใน 2-3 นาที ถึง 2-3 ชั่วโมง หลังจากฉีดวัคซีนซึ่งเกิดขึ้นน้อยมาก
*** วัคซีนหลังฉีด 1 เดือนจึงเกิดภูมิต้านทานโรค ***