หมอนรองกระดูกคอเสื่อม ภัยเงียบที่ต้องระวัง!

พญาไท 3

1 นาที

31/03/2020

แชร์


Loading...
หมอนรองกระดูกคอเสื่อม ภัยเงียบที่ต้องระวัง!

หมอนรองกระดูกคอ คือส่วนที่คั่นอยู่ระหว่างปล้องกระดูกคอ ประกอบด้วยชิ้นส่วนทั้งหมด 7 ชิ้นเรียกว่า cervical spine ซึ่งชิ้นที่ 1 จะอยู่ติดกับกะโหลก ไล่ลงมาจนถึงชิ้นที่ 7 ที่อยู่ติดกับกระดูกหน้าอก

 

โดยหมอนรองกระดูกคอจะทำหน้าที่รับน้ำหนักและให้ความยืดหยุ่น ช่วยในเรื่องของการเคลื่อนไหวกระดูกคอ ทำให้เราสามารถก้มหรือเงยคอได้ แต่เมื่อเราใช้ไปนานๆ หรือใช้ไม่ถูกต้องก็จะทำให้หมอนรองกระดูกคอเสื่อมได้

สาเหตุหลักของหมอนรองกระดูกคอเสื่อม?

โดยส่วนใหญ่แล้วโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมจะพบในคนที่อายุประมาณ 40 ปี ขึ้นไป แต่ในปัจจุบันพบโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมมากขึ้น ในหนุ่มสาววัยทำงาน จากพฤติกรรมเสี่ยงการใช้คอ ใช้กล้ามเนื้อแผ่นหลังที่ผิดลักษณะ เช่น ใช่คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ  นั่งทำงานด้วยอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงกลุ่มสังคมก้มหน้าที่วันหนึ่งๆ ใช้เวลาวันละหลายๆ ชั่วโมงหมดไปกับการก้มหน้าเล่นมือถือ  นอกจากนี้ยังเกิดภาวะหมอนรองกระดูกคอเสื่อม ได้จากอุบัติเหตุบางอย่าง เช่น อุบัติเหตุจากรถชนทางด้านหลังอย่างแรง ทำให้กระดูกคอสะบัดไปข้างหลังและสะบัดกลับมาข้างหน้า ก่อให้เกิดการบาดเจ็บของกระดูกต้นคอและเนื้อเยื่อ ซึ่งถือเป็นปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดอาการต่างๆ ของโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม

อาการของโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม

เมื่อมีการเสื่อมหรือแตกของหมอนรองกระดูกก็จะมีโอกาสเกิดการกดทับที่ประสาทไขสันหลังและรากประสาทได้ อาการที่เกิดขึ้นก็มักจะรุนแรง

  • คอแข็ง ทำให้ขยับหรือเคลื่อนไหวคอได้ไม่สะดวกเหมือนปกติ
  • ปวดคอร้าวลงไปถึงไหล่หรือแขนได้
  • เป็นเหน็บชาที่แขน ขา มือ หรือเท้าบ่อยขึ้นจน รู้สึกอ่อนแรง
  • เดินลำบาก เนื่องจากการประสานงานของร่างกายผิดปกติ
  • ไม่สามารถ ติดกระดุมได้
  • ไม่สามารถควบคุมระบบขับถ่ายหรือระบบปัสสาวะได้

ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้กระดูกเสียหายอย่างถาวร

แนวทางการรักษาโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม

โดยทั่วไปมักให้การรักษาโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมแบบชะลอ ไม่ให้มันเสื่อมไวขึ้น โดยการปรับพฤติกรรมร่วมกับรับประทานยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์และการทำกายภาพบำบัด ประคบด้วยร้อน ซึ่งช่วยทุเลาอาการปวดได้ชั่วคราว

 

นอกจากนี้ยังมีการรักษาโดยผ่านคลื่นความร้อน หรือการฉีดยาเข้าไปเหนือเส้นประสาทที่บริเวณคอ, การรักษาโดยใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงไปที่หมอนรองกระดูก เพื่อลดแรงดันของหมอนรองกระดูกสันหลัง และสลาย ทำลายเส้นประสาทที่งอกเข้ามาในแกนกลางของหมอนรองกระดูกสันหลัง

 

ในกรณีที่ทานยา และทำตามวิธีที่กล่าวมาแล้วไม่ดีขึ้น  และมีอาการเป็นมานานมากกว่า 6 สัปดาห์ การผ่าตัดโดยใช้หมอนรองกระดูกเทียมก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง  ซึ่งปัจจุบันมีแนวทางการผ่าตัดผ่านกล้อง  เป็นการผ่าตัดแผลเล็กที่มีความปลอดภัย ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดผ่านกล้องที่มีกำลังขยายสูง ทำให้เห็นเส้นประสาทบริเวณคอได้อย่างชัดเจน ลดความเสี่ยงพิการหลังการผ่าตัดหรือความเสียหายของเนื้อเยื้อที่ช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กสามารถแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้

ดูแลด้วยอย่างไร ห่างไกลโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม

วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ขยับร่างกายบ้างไม่นั่งหน้าคอมพิวเตอร์นานเกินไป อย่างน้อย นั่ง 1 ชั่วโมง แล้วลุกยืน 1 นาที ปรับจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา เก้าอี้ต้องมีพนักพิง ออกกำลังกายและทำกิจกรรมเพื่อเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ โดยต้องระมัดระวังในการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยง เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับบาดเจ็บบริเวณคอ


แชร์

Loading...
Loading...
Loading...