ทานอาหารให้เหมาะสมตามช่วงวัย สำหรับทารกแรกเกิด ถึง 1 ปี

พญาไท 2

1 นาที

ศ. 27/03/2020

แชร์


Loading...
ทานอาหารให้เหมาะสมตามช่วงวัย สำหรับทารกแรกเกิด ถึง 1 ปี

การทานอาหารที่เหมาะสมในช่วงวัยแรกเกิดถึง 1 ปี สำหรับลูกน้อย มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตอย่างมาก หากได้รับอาหารไม่เหมาะสมอาจทำให้ลูกน้อยขาดธาตุเหล็ก น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน คือ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก สังคม และอารมณ์ การใส่ใจในเรื่องอาหารสำหรับเด็กช่วงวัยนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ

 

เน้นนมแม่…ตามคำแนะนำจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

โดยทารกตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน ควรให้กินนมแม่เป็นอาหารหลัก เพราะมีสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์ มีความรัก ความผูกพัน ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กแรกเกิด ซึ่งจากผลวิจัยทั่วโลกยืนยันว่าเด็กที่กินนมแม่จะมีไอคิวสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้กินประมาณ 7 จุด เพราะการดูดนมแม่สามารถช่วยกระตุ้นสมองของลูกน้อยได้อย่างดี

 

รู้หรือไม่? แม่ชอบกินอาหารซ้ำๆ ทำให้ลูกน้อยเสี่ยงแพ้อาหาร

ในช่วงที่คุณแม่กำลังให้นมลูก แพทย์แนะนำให้กินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เน้นอาหารที่หลากหลาย และไม่จำเป็นต้องงดอาหารใดๆ เพราะการกินอาหารแบบเดิมซ้ำๆ อาจทำให้ลูกแพ้อาหารชนิดนั้นไปด้วยยกเว้นอาหารที่มีความเสี่ยง เช่น ของหมักดอง อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

 

ปริมาณพลังงานและโปรตีนที่ลูกน้อยควรได้รับ

โดยปริมาณพลังงานและโปรตีนที่เหมาะสมนั้น จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักและกิจกรรมของลูกน้อย ดังนี้…

    • อายุ 0-6 เดือน น้ำหนัก 5-6 กิโลกรัม ควรกินนมอย่างเดียวก็เพียงพอ เพราะไม่ได้ทำกิจกรรมอื่นนอกจากการนอน กินนมแม่ ยิ้ม ร้องไห้ หรือขับถ่าย
    • อายุ 6-12 เดือน น้ำหนัก 8-10 กิโลกรัม ควรได้รับพลังงาน 800-1,000 กิโลแคลอรี่/วัน

 

หลักโภชนาการสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย

    • อาหารสำหรับเด็ก 0-6 เดือน

6 เดือนแรก น้ำนมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดของลูกน้อย เพราะในนมแม่มีโปรตีนและไขมันเต็มที่ ช่วยลดภาวะติดเชื้อ ปอดอักเสบ หูอักเสบ ลำไส้อักเสบ และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น (นมแม่มีน้ำอยู่เพียงพอ ประมาณ 80% ไม่จำเป็นต้องกินน้ำ)

    • อาหารสำหรับเด็ก 6 เดือนขึ้นไป

ช่วงวัยนี้ นอกจากนมแม่แล้วจะเริ่มให้กินอาหาร 1 มื้อ เริ่มต้นด้วยข้าว 3 – 4 ช้อนโต๊ะ ไข่แดงครึ่งฟอง สลับ หมู ไก่ กับปลาน้ำจืด ตับบด ผักสุกบด ฟักทอง และเพิ่มปริมาณอาหารขึ้นไปเรื่อยๆ

โดย พญ.อุรารมย์ แนะนำให้คุณแม่ทำอาหารเองมากกว่าซื้อตามท้องตลาด ด้วยเมนูง่ายๆ ที่สามารถกินกับลูกน้อยได้ เช่น ต้มจืดตำลึงกระดูกหมูกับข้าวต้มหอมมะลิ ไม่แนะนำให้บดอาหารทุกอย่างเข้าด้วยกัน เพราะเด็กมักมีปัญหาไม่ยอมเคี้ยวข้าว หรือเคี้ยวข้าวไม่เป็น ใช้แค่ตะแกรงบดอาหารก็เพียงพอ

**สำหรับเด็กที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้ องค์การอนามัยโลก แนะนำให้เริ่มกินอาหารเร็วขึ้น ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป**

    • อาหารสำหรับเด็ก 8 เดือนขึ้นไป

ช่วงวัยนี้ ต้องเพิ่มปริมาณมื้ออาหารเป็น 2 มื้อ ในช่วงเวลาไหนก็ได้ รวมถึงเพิ่มปริมาณอาหารขึ้นด้วย

    • อาหารสำหรับเด็ก 10 เดือน ถึง 1 ปี

เมื่อลูกน้อยเข้าสู่ช่วงอายุ 10 เดือน ถึง 1 ปี จะเริ่มกินอาหาร 3 มื้อแทนนมแม่ นมแม่จะกลายเป็นอาหารเสริม คุณแม่สามารถให้นมลูกในช่วงระหว่างมื้ออาหาร เช่น ก่อนมื้อเช้า หลังมื้อเที่ยง หรือก่อนนอน เป็นต้น

    • อาหารสำหรับอายุ 1 ปี ขึ้นไป

เมื่อลูกน้อยอายุครบ 1 ปี จะสามารกินอาหารได้เหมือนคนทั่วไป เน้นอาหารที่ไม่แข็งมาก เช่น ก๋วยเตี๋ยวน้ำ โจ๊ก ข้าวต้ม ราดหน้า เป็นต้น

 

เด็กถ่ายยาก…ควรทานอาหารอย่างไร?

เป็นเรื่องปกติ หากลูกน้อยกินอาหารเสริม แล้วไม่ได้ขับถ่ายดีเท่าตอนที่กินนมแม่อย่างเดียว จึงควรให้ลูกทานไฟเบอร์ ผัก ผลไม้เยอะๆ โดยเมนูแนะนำคือ นำผลไม้ที่มีรสชาติอร่อย เช่นแก้วมังกร แอปเปิ้ล ส้ม กีวี่ ปั่นผสมกับโยเกิร์ต แค่นี้ก็ทำให้ลูกน้อย กินอิ่ม นอนหลับ ขับถ่ายดี แล้วล่ะ

 

อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือ ความหลากหลายของอาหาร ควรทำให้มีสีสัน และมีความแปลกใหม่ รวมถึงให้ลูกมีส่วนร่วมในการกินข้าว เช่น หยิบจับช้อน หยิบอาหารด้วยตัวอง


นัดหมายแพทย์

แชร์

หากสนใจต้องการปรึกษาแพทย์

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ



Loading...
Loading...