การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ อาการป่วยที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยสามารถพบได้ในทุกฤดูกาล แต่ในฤดูหนาวจะมีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าปกติถึง 2 เท่า ซึ่งการดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่อย่างถูกวิธี ก็เพื่อการลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่อาจส่งผลให้เป็นอันตรายรุนแรง อย่างการติดเชื้อทางเดินระบบหายใจได้

 

เช็กให้ดี..ป่วยเป็นไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ กันแน่

บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยสับสนระหว่างอาการของไข้หวัดกับไข้หวัดใหญ่ ทำให้รักษาไม่ตรงกับโรคที่เป็น โดยหากผู้ป่วยมีไข้ต่ำๆ น้ำมูกไหล ไอ จาม เจ็บคอ และสามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ นั่นแสดงว่าอาจเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดาที่ไม่รุนแรง

 

แต่เมื่อไหร่ที่ผู้ป่วยมีไข้สูงเฉียบพลัน หนาว ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณหลัง ต้นขา ต้นแขน ร่วมกับมีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ไอ มีน้ำมูก มักเป็นสัญญาณเตือนจากไข้หวัดใหญ่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่อาการจะทุเลาและดีขึ้นภายใน 7 วัน แต่บางรายก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรดูแลตนเองให้ดีเป็นพิเศษเมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่

 

4 วิธีดูแลตนเองเมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่

  1. ควรรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง หมั่นเช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดาเพื่อลดไข้ และพักผ่อนให้เพียงพอ
  2. สวมเสื้อผ้าที่ทำให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ  สวมผ้าปิดปากและจมูกเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจาย
  3. ดื่มน้ำอุ่นมากๆ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นเป็นอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย และหากต้องรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นควรใช้ช้อนกลาง
  4. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือมีภูมิต้านทานต่ำ

 

เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบมาพบแพทย์

นอกจากการดูแลตนเองทั้ง 4 ข้อข้างต้นแล้ว การหมั่นสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนรุนแรงก็เป็นอีกข้อควรปฏิบัติที่ผู้ป่วยไม่ควรมองข้าม

  • อาการไข้สูง ปวดเมื่อยเนื้อตัว และไอ ไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน (หลังจากกินยาแล้ว)
  • เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก
  • เจ็บหน้าอกเวลาไอหรือหายใจทุกครั้ง
  • คลื่นไส้ อาเจียนมาก ไม่สามารถทานอาหารได้

แชร์

หากสนใจต้องการปรึกษาแพทย์

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ




บทความแนะนำ

ภาวะลองโควิด (Long COVID) อาการหลงเหลือเมื่อหายจากโรคโควิด-19

พญาไท 2

เมื่อมีการติดเชื้อ COVID 19 ไวรัสจะทำให้เกิดการอักเสบได้ทั่วร่างกาย ซึ่งอาจเกิดกับกล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์ประสาท เซลล์สมอง ถุงลมปอด รวมถึงทำลายการทำงานของไต และส่วนอื่นๆ ได้ และเมื่อหายจากโรค ยังสามารถพบภาวะนี้ต่อเนื่องไปอีกในผู้ป่วยบางราย

ฝุ่น PM 2.5 อันตรายแค่ไหน และควรป้องกันตัวเองอย่างไร ให้ปลอดภัยจากฝุ่นร้าย

พญาไท 2

ฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สร้างความกังวลให้กับหลายคน โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวที่มักพบปัญหาคุณภาพอากาศแย่ลง ฝุ่นขนาดจิ๋วเหล่านี้สามารถเข้าไปสู่ระบบทางเดินหายใจ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้

โรคชิคุนกุนยา (ไข้ปวดข้อยุงลาย) โรคติดเชื้อไวรัสที่ป้องกันได้

พญาไท 2

โรคชิคุนกุนยา หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นโรคติดเชื้อที่มียุงลายสวนเป็นพาหะนำโรค ซึ่งรักษาได้เพียงแค่ประคองอาการ ดังนั้น หากมีไข้สูง ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ควรรีบไปพบแพทย์

มะเร็งต่อมลูกหมาก...มะเร็งร้ายอันดับหนึ่งของผู้ชายสูงวัย

พญาไท 2

"มะเร็งต่อมลูกหมาก” โดยระยะแรกๆ มักไม่แสดงอาการ แต่จะพบแพทย์ด้วยอาการปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่ออก มีเลือดปนในปัสสาวะ หรือบางรายอาจมีอาการต่อมลูกหมากอักเสบ หรือต่อมลูกหมากโตร่วมด้วย