โลหิตจางขณะตั้งครรภ์ รับมืออย่างไรให้ปลอดภัย?

โลหิตจางขณะตั้งครรภ์ รับมืออย่างไรให้ปลอดภัย?

ภาวะโลหิตจาง เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ และมักส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ทำให้เด็กเติบโตช้า คลอดก่อนกำหนด หรือหากคลอดตามกำหนดก็อาจมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ปกติได้ โดยภาวะโลหิตจากแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้

  • โลหิตจางแบบปกติที่เกิดจากการตั้งครรภ์ เพราะปริมาณน้ำเลือด จะเพิ่มมากกว่าปริมาณเม็ดเลือดแดง ส่งผลให้เลือดจางกว่าปกติขณะตั้งครรภ์
  • โรคโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก สารอาหารต่างๆ และโลหิตจางจากโรคทางพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย เป็นต้น

 

โดยในกลุ่มแรก ที่เป็นโลหิตจางแบบปกติมักพบได้บ่อย แต่ไม่เป็นอันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ส่วนในกลุ่มที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กหรือจากพันธุกรรม จะมีผลต่อทารกในครรภ์ เพราะโดยปกติเม็ดเลือดเป็นตัวนำสารอาหารและออกซิเจนไปยังทารก เมื่อไหร่ก็ตามที่เม็ดเลือดมีปริมาณน้อยลง หรือรูปร่างผิดปกติจะทำให้การนำสารอาหารและออกซิเจนไปยังลูกก็จะน้อยลง ทำให้เด็กเติบโตช้า คลอดก่อนกำหนด และเมื่อคลอดครบกำหนด ก็อาจมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ปกติได้

 

ปกติแล้วในระหว่างคลอดคุณแม่จะเสียเลือดไม่มากก็น้อย ซึ่งการคลอดธรรมชาติจะเสียเลือดประมาณ ไม่เกิน 500 ซีซี และผ่าคลอด เสียเลือดไม่เกิด 1,000 ซีซี ดังนั้น เมื่อเกิดภาวะโลหิตจาง เลือดไม่พอ ก็จะทำให้คุณแม่อ่อนเพลียมากหลังคลอดได้

 

อาการโลหิตจางของแม่ตั้งครรภ์

  • หน้ามืด เวียนศีรษะ เป็นลมง่าย อ่อนเพลีย ง่วงบ่อย

 

วิธีดูแลแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง

  • เมื่อพบว่าตนเองเป็นโลหิตจาง คุณหมอจะเสริมธาตุเหล็ก เพื่อช่วยลดอาการ และทำให้ปริมาณเม็ดเลือดแดงมากขึ้นและแข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย และทำให้การนำอาหารไปยังทารกดีขึ้น และทารกเติบโตได้ดีขึ้น
  • รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น ถั่ว งาดำ ผักใบสีเขียว และเนื้อสัตว์ต่างๆ เนื้อวัว เนื้อหมู ไก่ ตับ เครื่องใน ไข่แดง รวมไปถึงผลไม้ที่มีวิตามินซี เพื่อช่วยเพิ่มการดูดซึมของธาตุเหล็กให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว ส้ม มะนาว ฝรั่ง เป็นต้น

 

เมื่อพบว่าตั้งครรภ์ คุณแม่ควรมาพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์ โดยคุณหมอจะทำการตรวจร่างกาย ตรวจหาโรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ รวมไปถึงโรคโลหิตจางด้วย อีกทั้ง เมื่อคุณแม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคโลหิตจาง ควรรีบปรึกษาคุณหมอที่ไปฝากครรภ์ เพื่อวางแผนการดูแลครรภ์อย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อไป


นัดหมายแพทย์

แชร์

หากสนใจต้องการปรึกษาแพทย์

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ




Loading...