ฟังคำตอบจากคุณหมอ! คุณกำลังเข้าสู่ภาวะหมดไฟในการทำงานหรือเปล่า

ฟังคำตอบจากคุณหมอ! คุณกำลังเข้าสู่ภาวะหมดไฟในการทำงานหรือเปล่า

ภาวะหมดไฟในการทำงานคืออะไร?

ทำไมช่วงนี้เรามักเห็นคำนี้ในโลกโซเชียลบ่อย ๆ แต่ถึงแม้จะยังไม่รู้ความหมายที่แท้จริง หลายคนก็ยังแอบเผลอยกมือขึ้นโดยไม่รู้ตัว เอ๊ะ! แล้วคำที่มันช่างตรงกับชีวิตของตัวเราขนาดนี้ จะมีวิธีแก้ไขอย่างไร? ถึงขั้นต้องรักษาเลยหรือไม่ แล้วภาวะนี้จะเป็นเพียงแค่ความรู้สึกเบื่อหน่ายอย่างที่บางคนเข้าใจหรือเปล่า เรามีคำตอบจาก นพ.พิชญ์ พิเศษสิทธิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกัน พรีเมียร์ไลฟ์เซ็นเตอร์ รพ.พญาไท 2 มาฝาก

 

Q: ภาวะหมดไฟในการทำงานคืออะไร ?

นพ.พิชญ์ : “Burnout Syndrome” หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน เกิดจากความเครียดสะสมเรื้อรังจากการทำงาน โดยที่ไม่ได้รับการแก้ไขที่เหมาะสม เป็นเหตุให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ อารมณ์ และอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายตามมาได้ เช่น ปวดศีรษะ มีปัญหาในการนอน เป็นต้น

 

Q: ลักษณะอาการของภาวะนี้มีอะไรบ้าง ?

นพ.พิชญ์ : มีหลายอาการเลยครับ สามารถแบ่งได้ดังนี้

    • Exhaustion รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
    • Negativism มองโลกในแง่ลบ เบื่องาน ขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน
    • Professional Efficacy ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

Q: สาเหตุของภาวะหมดไฟในการทำงาน มีอะไรบ้าง ?

นพ.พิชญ์ : สำหรับภาวะหมดไฟในการทำงานมักเกิดได้จากหลายปัจจัยร่วมกัน ดังนี้

ปัจจัยส่วนบุคคล

    • เป็นคนที่จริงจังเกินไป ขาดความยืดหยุ่น ยึดติดในความสมบูรณ์แบบ (Perfectionism)
    • มีความคาดหวังสูง ไม่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง และพยายามควบคุมทุกอย่างให้เป็นไปตามต้องการ
    • มีปัญหาภายในครอบครัว เช่น คู่สมรสมีความขัดแย้งจนถึงขั้นหย่าร้างกัน ทำให้เกิดความเครียดสะสม
    • ทำงานหนักจนไม่มีเวลาพักผ่อน เนื่องจากมีภาระหน้าที่ต้องรับผิดชอบหลายอย่างนอกจากเรื่องงาน เช่น การดูแลพ่อแม่ที่เจ็บป่วย ชราภาพ การส่งเสียเลี้ยงดูบุตร การผ่อนชำระหนี้สินของครอบครัว

ปัจจัยจากงาน

    • ทำงานที่ไม่ถนัด ต้องแก้ปัญหาด้วยตัวคนเดียวโดยขาดที่ปรึกษา ทำให้เกิดความเครียดเรื้อรังตามมา
    • มีปริมาณงานไม่สอดคล้องกับจำนวนบุคลากร เช่น มีงานที่ต้องรับผิดชอบมาก ในระยะเวลาที่จำกัด แต่มีบุคลากรน้อย รวมถึงขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ ในการทำงาน ทำให้เกิดภาวะเครียดสะสมขึ้น
    • ไม่ได้รับการยอมรับ รู้สึกว่าถูกละเลย และได้รับค่าตอบแทนน้อย ไม่เหมาะสมกับภาระงานที่ตนเองรับผิดชอบ
    • มีความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้างาน ทำให้บรรยากาศในที่ทำงานมีความตึงเครียด
    • อยู่ในองค์กรที่ขาดความมั่นคง หรือมีระบบงานที่ขาดประสิทธิภาพ

 

Q: รู้สึกหมดไฟในการทำงาน ควรแก้ไขอย่างไร ?

นพ.พิชญ์ : การรักษานั้น เราคงต้องบอกว่าจะต้องย้อนกลับไปแก้ไขยังสาเหตุที่ทำให้คุณเกิดภาวะ Burnout ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละราย ร่วมกับการปรับพฤติกรรม ดังนี้

    • เริ่มต้นจากสิ่งที่คุณอาจจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องพื้นฐานแต่สำคัญ นั่นคือ พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดทุกชนิด
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที ประมาณ 3-4 วันต่อสัปดาห์
    • ปรับพฤติกรรมการนอน ไม่นอนดึกจนเกินไป ให้ความสำคัญทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพของการนอน
    • เรียนรู้ที่จะยืดหยุ่นในสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้งเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
    • ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน และสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน
    • ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน และมองหาแรงบันดาลใจ เช่น อ่านหนังสือที่ช่วยสร้างเสริมกำลังใจ
    • จัดระเบียบการทำงานใหม่ ควรเรียงลำดับความสำคัญของงานที่ต้องทำก่อนหลัง และหากไม่จำเป็น พยายามอย่านำงานกลับมาทำต่อที่บ้าน ควรมีเวลาให้กับตนเองและครอบครัวช่วงหลังจากเลิกงานในแต่ละวัน
    • ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานหรือคนรอบข้าง หากรู้สึกไม่ไหวหรือเหนื่อยเกินไป
    • ฝึกคิดบวก รู้จักชมเชย เห็นคุณค่าในตัวเอง มองหาโอกาสในวิกฤต และหาข้อดีในสิ่งที่เราให้ความหมายว่าไม่ดี
    • ลดความยึดมั่นถือมั่นและความคาดหวังในสิ่งต่างๆ ลง ควรใช้ชีวิตบนพื้นฐานของความเป็นจริง
    • หากิจกรรมที่ผ่อนคลายทำในยามว่าง เช่น การเล่นดนตรี การนั่งสมาธิ หรือปฏิบัติธรรม
    • อาจขอลาพักร้อนออกไปท่องเที่ยว เพื่อให้ผ่อนคลายจากความตึงเครียด

ภาวะหมดไฟในการทำงาน ไม่ใช่โรคซึมเศร้า ดังนั้น หากอาการไม่รุนแรง สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีแนวโน้มเพิ่มความรุนแรง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ

 

Q: การรักษาและปรับแก้ ต้องใช้เวลานานแค่ไหน ?

นพ.พิชญ์ : ระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะ Burnout ที่เป็น รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ความร่วมมือในการปรับพฤติกรรม พื้นฐานของจิตใจ รวมถึงกำลังใจจากครอบครัว และคนรอบข้างด้วย

 

เห็นไหมล่ะครับ ทุกปัญหามีทางออกเสมอ และสิ่งสำคัญที่สุดของหลายๆ ปัญหา เพียงเราพยายามเริ่มต้นแก้ไขจากตัวเอง ก็จะทำให้ปัญหาต่างๆ คลี่คลายไปได้อย่างดี ขอเพียงเรามองทุกอย่างตามความเป็นจริงด้วยจิตใจที่เปิดกว้าง เช่นเดียวกับภาวะหมดไฟในการทำงาน ถ้าคุณยอมรับว่าตนเองกำลังรู้สึกเช่นนั้น และแก้ไขด้วยวิธีที่เหมาะสม คนที่มีความสุขที่สุดย่อมไม่ใช่ใครอื่น แต่คือตัวคุณเอง…ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะครับ


แชร์

หากสนใจต้องการปรึกษาแพทย์

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ



บทความแนะนำ

ลดน้ำหนักวิธีไหนก็ไม่สำเร็จ ตรวจแบบเจาะลึกกับ 3 โปรแกรม ที่ช่วยค้นหาสาเหตุที่แท้จริง

พญาไท 2

ลดน้ำหนักมาทุกวิธีแต่ไม่ค่อยได้ผล อาจเพราะ DNA ของคุณไม่เหมาะกับรูปแบบการกินและการออกกำลังกายที่ทำอยู่ ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ DNA Nutrition และ Fitness

สร้างสุขภาพที่ดีก่อนเป็นสาววัย 40 กับโปรแกรม FEMALE PLUS Formula II

พญาไท 2

ผู้หญิงกับ “การดูแลตนเอง” นับว่าเป็นของคู่กัน โดยเฉพาะสาวๆ ที่รักสุขภาพ..ที่ไม่เพียงแค่ต้องการการมีสุขภาพที่ดี แต่ยังมีความต้องการให้ตนเองดูดี สามารถทำได้โดยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต...และเติมวิตาม

ผลวิจัย! อ้วนลงพุง เสี่ยง “มะเร็ง” และ “สมองเสื่อม”

พญาไท 2

จากการศึกษาของ National Institutes of Health (NIH) พบว่า ในประเทศสหรัฐฯ มีคนไข้ที่เป็น “โรคมะเร็ง” เพิ่มสูงขึ้น และกว่า 85,000 รายต่อปี มีความเกี่ยวข้องกับโรคอ้วน รวมทั้งผลจากการศึกษาของ University C

รับมือ “วัยทอง” ในผู้ชาย...ด้วยเคล็ดลับการปรับฮอร์โมน

พญาไท 2

วัยทอง ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เฉพาะกับผู้หญิงเท่านั้น เพราะผู้ชายก็มีช่วงอายุที่ต้องเข้าสู่วัยทองด้วยเหมือนกัน เพียงแต่อาการของผู้ชายวัยทองจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่แสดงออกอย่างชัดเจนเหมือนกับผู้หญิงวั