ทำงานหน้าคอมนานๆ จนปวดตา ตาแห้ง อาจเสี่ยงโรค CVS (Computer Vision Syndrome)

ทำงานหน้าคอมนานๆ จนปวดตา ตาแห้ง อาจเสี่ยงโรค CVS (Computer Vision Syndrome)

ด้วยการทำงานของคนยุคนี้ที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้มีอาการตาล้า ตาพร่ามัว ตาแห้ง รวมทั้งปวดศีรษะ ดังนั้นการดูแลรักษาดวงตาของเราอย่างถูกวิธี จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ยุคสื่อโซเชียลในปัจจุบัน และนี่คือคำแนะนำในการดูแลดวงตาป้องกันโรค CVS จาก พญ.อารดา มกรพงศ์ จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจอประสาทตาและน้ำวุ้นตา รพ.พญาไท 2

Q: โรค CVS คืออะไร

A: Computer Vision Syndrome คือ โรคปวดตา ตาพร่ามัว ที่เกิดจากใช้สายตานานๆ

Q: โรค CVS มีสาเหตุจากอะไร

A: คนที่ใช้สายตาติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ทำให้กล้ามเนื้อในลูกตาเป็นตะคริว

Q: เราจะสังเกตอาการได้อย่างไรบ้าง

A: แสบตา เคืองตา ปวดตา ตาพร่ามัว ปวดศีรษะ บางครั้งคลื่นไส้อาเจีน

Q: มีวิธีการรักษา หรือวิธีการป้องกันอย่างไร

A: รักษาโดยการพบแพทย์และหยอดยา วิธีป้องกันใช้สายตาติดต่อกัน 30 นาที พักโดยหลับตา 5 นาที หรือมองไกลๆ 10 นาที

Q: ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคนี้

A: ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากกล้ามเนื้อตายืดหยุ่นน้อยลง

Q: ถ้าปล่อยไว้เป็นเวลานานไม่ทำการรักษา จะส่งผลเสียต่อดวงตาในระยะยาวอย่างไร และถ้าหายแล้วสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้หรือไม่

A: เมื่อมีอาการตาพร่ามัว ปวดศีรษะเรื้อรัง ติดต่อกันนานๆ หรืออาการทวีความรุนแรงมากก็อาจทำให้มีคลื่นไส้อาเจียนได้ และหากยังมีการใช้สายตาเหมือนเดิม ก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก

Q: มีวิธีการบริหารกล้ามเนื้อตาอย่างไรบ้าง

A: ควรมีการพักสายตา โดยหลับตาบ่อยๆ

Q: การใช้งานคอมพิวเตอร์ ควรใช้วันละกี่ชั่วโมง

A: สามารถใช้งานได้ทั้งวัน เพียงแต่ต้องพักสายตาทุกๆ 30 นาที (หากเป็นมือถือให้ใช้ 10 นาที หลับตาทุก 5 นาที)

Q: สำหรับคนทำงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวันโดยเลี่ยงไม่ได้จะทำอย่างไร

A: ในการใช้งานทุกๆ 30 นาที ควรพักสายตาโดยการหลับตา 1-2 นาที

Q: แสงหน้าจอคอมพิวเตอร์ควรมีความสว่างแค่ไหน

A: สว่างปานกลาง

Q: เราจะแยกอาการปวดตา ตาแห้งปกติกับอาการปวดตา ตาแห้งในภาวะ CVS ได้อย่างไร

A: ควรพบจักษุแพทย์เพื่อแยกโรค โดยใช้เครื่องมือส่องตรวจตาและย้อมสีที่กระจกตา เพื่อดูตาแห้ง และโรคทางตาอื่นๆ

Q: เครื่องนวดตา ผลไม้บำรุงสายตา แว่นกันแสงสีฟ้า สามารถช่วยได้มากน้อยแค่ไหน

A: ไม่ควรใช้เครื่องนวดตา! เพราะจะทำให้กระทบกระเทือนต่อกระจกตา เส้นเลือด และโครงสร้างภายในตา เช่น จอประสาทตา ได้

 

ส่วนเรื่องของอาหารนั้น ควรทานกลุ่มที่มี Vitamin A , E , C เป็นหลัก เช่น ผักสีเขียว ได้แก่ Broccoli(ผักโขม), Spinach(ปวยเล้ง) ผลไม้ Carrot(แครอท), Sweet Potatoes(มันฝรั่งหวาน), Cantaloupe(แคนตาลูป) , Apricots (เอพริคอต)

คำแนะนำการทานผลไม้

  • Vitamin A ช่วยเรื่องสายตา กระจกตาใส จอประสาทตา ลดการเกิดต้อกระจก
  • Vitamin E เพิ่ม Collagen ของกระจกตา และเยื่อบุตาขาวชั้นใน ลดการเกิดต้อกระจก
  • Vitamin C ลดความเครียดของเซลล์ลูกตา (Antioxidant)
  • Vitamin B6,  B9,  B12  ลดการอักเสบของจุดรับภาพในจอประสาทตา
  • ลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin) ลดการอักเสบของจุดรับภาพในจอประสาทตา
  • Omega 3(โอเมก้า 3) ลดการอักเสบของเซลล์ตา  และลดการเกิดเบาหวานขึ้นตาเร็วขึ้น เป็นต้น

 

พญ. อารดา มกรพงศ์

จักษุแพทย์เฉพาะทางด้านจอประสาทตา

ศูนย์ตา โรงพยาบาลพญาไท 2


นัดหมายแพทย์

แชร์

หากสนใจต้องการปรึกษาแพทย์

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ




บทความแนะนำ

ทำอย่างไร...เมื่อขนตาม้วนเข้าในผิดปกติ

พญาไท 2

ภาวะขนตาม้วนเข้าใน สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งขนตาบนและขนตาล่าง ซึ่งไม่เพียงก่อให้เกิดอาการเคืองตา น้ำตาไหล แต่ยังเสี่ยงติดเชื้อจนอาจส่งผลต่อการมองเห็น ดังนั้น หากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ ควรรีบมาพบแพทย์โด

วางจอ...วางสายตา เยียวยาเทคโนโลยีซินโดรม

พญาไท 2

การใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดโรคทางพฤติกรรม หรือที่เรียกว่า “เทคโนโลยีซินโดรม” ซึ่งการแก้ไขที่ง่ายที่สุด คือ แบ่งเวลาการใช้งานอย่างพอเหมาะ...ก่อนเทคโนโลยีซินโดรมจะทำร้ายสุขภาพของคุณ

รักษาผิวจอประสาทตาด้วยการทำ PRP (Pan Retina Photocoagulation)

พญาไท 2

ผู้ป่วยเบาหวานขึ้นตาที่เกิดภาวะเส้นเลือดในตาแตกหรืออุดตัน การทำ PRP หรือการยิงแสงเลเซอร์ไปที่ผิวจอประสาทตา คืออีกวิธีการรักษาที่ช่วยได้

รักษาสายตาให้มองเห็นชัด ด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตา Refractive Lens Surgery (RLS)

พญาไท 2

มองไม่ชัด เห็นภาพเบลอ ภาพซ้อน มีอาการเมื่อยล้าดวงตา หากเป็นเพราะสายตาผิดปกติ (Refractive Errors) เช่น สายตาสั้น สายตาเอียง และสายตายาว การผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตา Refractive Lens Surgery (RLS) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหานี้