ทำไมลูกไม่อยากไปโรงเรียน? นี่คือสาเหตุและอาการผิดปกติที่พ่อแม่ควรรู้

พญาไท 2

1 นาที

15/10/2020

แชร์


Loading...
ทำไมลูกไม่อยากไปโรงเรียน? นี่คือสาเหตุและอาการผิดปกติที่พ่อแม่ควรรู้

ลูกน้อยงอแงไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นพฤติกรรมที่พ่อแม่หลายๆ ครอบครัวเคยพบเจอมาก่อน แต่เราจะรู้ได้ยังไงว่าที่ลูกไม่ยอมไปโรงเรียนนั้น เป็นเพราะความไม่อยากธรรมดาทั่วไปตามธรรมชาติของเด็ก หรือเพราะเหตุผลอื่นที่ร้ายแรงกว่านั้น และนี่คือสัญญาณผิดปกติในเบื้องต้นที่พ่อแม่ควรสังเกต!!

 

อาการผิดปกติ…ที่พ่อแม่ควรสังเกต เมื่อลูกไม่อยากไปโรงเรียน

  • สังเกตทางกายภาพ

ดูว่ามีรอยฟกช้ำ รอยเล็บ หรือมีแผลต่างๆ ตามร่างกายหรือไม่ รวมถึงดูความสะอาดของเสื้อผ้า อาหารและน้ำดื่มที่ให้ลูกไปโรงเรียน มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ของใช้ติดตัวยังอยู่สมบูรณ์ดีหรือมีอะไรผิดปกติหรือไม่

  • สังเกตอารมณ์

ร้องไห้ง่าย หงุดหงิดง่าย อาละวาดมากขึ้น หวาดกลัว ขี้กังวลกับสิ่งต่างๆ มากผิดปกติ

  • สังเกตพฤติกรรม

ก้าวร้าว ตบตีมากผิดปกติ ฝันร้าย เล่นรุนแรงซ้ำๆ หลบซ่อนของใช้ที่จะไปโรงเรียน มีอาการเจ็บปวด เช่น ปวดท้อง ปวดหัวซ้ำๆ โดยหาสาเหตุไม่ได้ ไม่กระตือรือร้นเหมือนก่อน พูดคุยหรือเล่นน้อยลง

  • สังเกตพัฒนาการ

มีภาวะถดถอย อั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้ ทั้งๆ ที่เคยทำได้มาก่อน เคยเขียนอ่านได้ก็ไม่ร่วมมือทำหรือทำได้น้อยลง การนอนเปลี่ยนแปลงไป การทานอาหารผิดปกติ

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกไม่อยากไปโรงเรียน มีอะไรบ้าง ?

  • มีความไม่พร้อมด้านพัฒนาการ พัฒนาการล่าช้า ยังติดคนเลี้ยง กลัวการแยกจาก กลัวสิ่งแวดล้อมใหม่ หรือเป็นการเข้าเรียนครั้งแรก
  • มีภาวะเครียดจากการปรับตัว เช่น เพิ่งสูญเสียบุคคลที่รัก ย้ายโรงเรียนใหม่ ย้ายห้องใหม่
  • มีการถูกทำร้ายในโรงเรียน ทั้งจากครู หรือเพื่อน
  • มีโรคทางจิตเวชซ่อนอยู่ เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคระแวง หลงผิด โรคย้ำคิดย้ำทำ
  • โรคการเรียนบกพร่อง (อ่าน/เขียน ไม่สมวัย) ทำให้เกิดความเครียดสูงในการไปโรงเรียน
  • ดื้อ ต่อต้าน ติดเกม ติดยาเสพติด
  • มีปัญหาในการเลี้ยงดู ที่บ้านตามใจมากเกินไป

 

พ่อ แม่ ควรมีวิธีป้องกัน และช่วยเหลือลูกอย่างไรบ้าง ?

  • พ่อแม่ต้องสังเกตอาการ และความผิดปกติต่างๆ ให้ได้ก่อน
  • นึกถึงสาเหตุที่อาจเป็นไปได้
  • ลดความกังวลของผู้ปกครองลงก่อน แล้วลองพูดคุยสอบถามเด็กอย่างใจเย็น
  • ขอความช่วยเหลือจากคุณครู วางแผนเพื่อช่วยเหลือเด็กร่วมกัน

 

กรณีพบว่าสาเหตุอาจเกิดจากบุคคลอื่นที่โรงเรียน พ่อแม่ควรทำอย่างไร ?

  • ใช้เวลากับลูกเพิ่มขึ้น เพื่อเล่นสนุก ให้ลูกรู้สึกปลอดภัย รู้สึกไว้ใจ
  • ทดสอบ โดยถามความรู้สึกของลูก เช่น ลูกชอบโรงเรียนไหม ลูกชอบ (ชื่อครู) ไหม ลูกชอบเพื่อนๆ ไหม สังเกตสีหน้าท่าทางในการตอบ ว่าเด็กอึดอัดที่จะตอบไหม ถ้าดูอึดอัดก็ให้ค่อยๆ กอด บอกลูกว่า “หนูมีเรื่องไม่สบายใจ แม่ทายถูกไหม” แล้วบอกให้เด็กมั่นใจว่า “บอกแม่ได้นะ แม่อยากช่วย แม่จะฟังหนู ไม่ว่าหนู แม่รักหนูมากเลยนะ เวลาแม่รักแม่จะกอด หอมหนูแบบนี้ เวลาแม่ดุหนู แม่จะเสียงดุขึ้น หนูก็จะกลัว จำได้ไหม”
  • ถามถึงพฤติกรรมของบุคคลอื่น ครู หรือ เพื่อน ที่อาจทำกับเด็ก “ที่โรงเรียนมีใคร (ชื่อครู / เพื่อน / คนอื่น) ทำให้หนูกลัว บ้างไหม ครู/ เพื่อน/ คนอื่น ทำอย่างไร” สามารถถามนำ ได้ เช่น ใช้มือผลัก ใช้นิ้วจับบีบให้เจ็บ หรือหยิก บิด ตามพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ปลอบเป็นระยะๆ ว่า “ดีจังเลยที่หนูจำได้” หรือ “ไม่เป็นไรนะ ถ้าหนูไม่รู้” “ถ้ามีใครทำให้หนูกลัวก็บอกแม่ได้ ถ้ามีใครบอกว่า อย่าไปบอกแม่ แสดงว่าเขาทำไม่ดีกับหนู เขาทำให้หนูกลัว” เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กกล้าบอกในภายหลัง
  • เมื่อทราบข้อมูลเบื้องต้นแล้ว พ่อแม่ควรประสานกับทางโรงเรียนเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
  • กรณีที่เด็กไม่สามารถสื่อสารได้ หรือมีข้อจำกัดในการที่จะเข้าใจ หรือมีอาการเครียดมากกว่าปกติ แนะนำให้พบจิตแพทย์ เพื่อประเมินสถานการณ์และให้คำแนะนำต่อไป

นัดหมายแพทย์

แชร์

หากสนใจต้องการปรึกษาแพทย์

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ



Loading...

บทความแนะนำ

คลายความกังวล COVID-19 ไม่มีในน้ำนมแม่

พญาไท 2

การลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อโรคสู่ลูกวิธีหนึ่ง คือการปั๊มนมออกมาและให้ลูกต่างหาก มีการเว้นระยะห่างกับตัวลูก เมื่อคุณแม่มีความเสี่ยงอาจจะต้องมีคนให้นมลูกและดูแลลูกแทน

ลูกเหนื่อยง่าย หายใจถี่ และซึมลง อาจเสี่ยงเป็นภาวะหัวใจอักเสบในเด็ก

พญาไท 2

ภาวะหัวใจอักเสบในเด็ก (Myocarditis) เป็นกลุ่มอาการที่หัวใจทำงานผิดปกติ นับเป็นภาวะรุนแรง และเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิต

วิธีสังเกตเมื่อเด็กมีอาการสำลักสิ่งแปลกปลอม

พญาไท 2

การสำลักสิ่งแปลกปลอมเป็นภาวะฉุกเฉินที่พบบ่อยในเด็ก โดยเฉพาะในอายุน้อยกว่า 3 ปี เด็กวัยนี้มักจะชอบหยิบสิ่งของเข้าปาก เช่น เมล็ดถั่ว เมล็ดข้าวโพด ลูกปัด กระดุม หรือชิ้นส่วนของเล่นเล็กๆ หากเกิดเหตุการณ์

อากาศเปลี่ยน! มาป้องกัน “ไข้หวัดใหญ่ในเด็ก” ด้วยการฉีดวัคซีนกัน

พญาไท 2

ช่วงนี้ลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่สบายดีกันหรือเปล่า? เพราะอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย อาจเป็นสาเหตุการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่พบได้ในเด็ก อีกทั้งยังมีอัตราการนอนโรงพยาบาลค่อนข้า