อายุน้อยก็เป็น STROKE หรือโรคหลอดเลือดสมองได้

อายุน้อยก็เป็น STROKE หรือโรคหลอดเลือดสมองได้

ใครที่เคยเข้าใจว่า โรคหลอดเลือดสมอง หรือ STROKE เป็นความเสี่ยงเฉพาะผู้สูงวัยหรือผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป อาจต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ เพราะแม้ความรุนแรงของโรคนี้ได้คุกคามคุณภาพชีวิตและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้สูงวัยจำนวนมาก แต่ในปัจจุบันเราเริ่มพบว่า ผู้ป่วยเป็น STROKE นั้นพบในผู้ที่มีอายุน้อยลงบ่อยขึ้นเรื่อยๆ โดยเกิดกับผู้ที่อายุต่ำกว่า 50 ปีด้วยซ้ำ

อายุน้อยทำไมถึงเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขไทยระบุว่า ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มมากขึ้น และเสียชีวิตมากกว่า 30,000 ราย ปกติแล้วโรคนี้เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 18-50 ปี ที่พบได้มากขึ้นกว่าเมื่อก่อน ที่มักเกิดในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป

สาเหตุสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง หรือ STROKE ในกลุ่มผู้อายุน้อย อาจไม่ได้มีปัจจัยจาก อายุ เพศ เชื้อชาติ หรือพันธุกรรม โดยเป็นที่น่าตกใจว่า โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดชนิดไม่ทราบสาเหตุ จะพบได้เป็นอันดับหนึ่งในกลุ่มผู้ป่วยอายุน้อย ส่วนสาเหตุรองลงมาคือ มีหลอดเลือดสมองตีบ และอันดับสามคือ ภาวะลิ่มเลือดหัวใจไหลไปอุดตันหลอดเลือดสมอง ซึ่งส่วนใหญ่พบในผู้ป่วย rheumatic MS โดยปัจจัยที่ทำให้เกิด STROKE ที่สำคัญๆ คือ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ และภาวะไขมันในเลือดสูง

โรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นเฉียบพลัน เมื่อเป็นแล้วร่างกายฟื้นตัวได้ยาก แต่ถ้ารักษาอย่างรวดเร็วและถูกต้องจะลดโอกาสเสียชีวิต ลดความเสี่ยงพิการ และกลับมาใช้ชีวิตแบบคนปกติได้เร็วขึ้น

BEFAST สัญญาณเตือนหลอดเลือดสมองแตก และสิ่งที่ควรทำ

B = Balance เดินเซ เวียนศีรษะ บ้านหมุนฉับพลัน
E = Eyes ตาพร่ามัว มองไม่เห็น เห็นภาพซ้อนฉับพลัน
F = Face Dropping ใบหน้าชาหรืออ่อนแรง ยิ้มแล้วมุมปากตก
A = Arm Weakness แขนขาอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง กำมือไม่ได้
S = Speech Difficulty ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดลำบาก พูดไม่ได้ พูดไม่ออก
T =Time to call รีบโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่และนำส่งโรงพยาบาลทันที

การฟื้นตัวด้านร่างกายและจิตใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

แม้จะคาดการณ์ว่าโรคหลอดเลือดสมองจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่อย่างแน่ชัดไม่ได้ แต่การฟื้นฟูร่างกายในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุน้อยนั้นพบว่า มีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูร่างกายเป็นอย่างดี ทั้งนี้กลับพบปัญหาการฟื้นฟูด้านสภาพจิตใจ เช่น มีความเครียด วิตกกังวล มีภาวะซึมเศร้า เหนื่อยล้า และมักอยู่ในภาวะเครียดและวิตกกังวลกว่ากลุ่มผู้ป่วยสูงวัย รวมถึงมีปัญหาการหย่าร้าง หรือการเปลี่ยนบทบาทในครอบครัวและสังคม ดังนั้น การรักษาจึงควรทำควบคู่กันไปทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ


แชร์

หากสนใจต้องการปรึกษาแพทย์

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ




บทความแนะนำ

หน้าเบี้ยวครึ่งซีก ความผิดปกติของเส้นประสาท...ที่ควรรีบพบแพทย์!

พญาไท 2

อาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีกนี้ เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ตามสถิติส่วนใหญ่พบในหญิงอายุน้อยมากกว่าชาย แต่หากอายุมากกว่า 40 ปีจะพบในชายมากกว่า ในหญิงตั้งครรภ์พบมากกว่ากลุ่มอื่นประมาณ 3 เท่า และพบได้มากขึ้น 4-

โรคหลอดเลือดสมอง โรคร้ายแรงที่ป้องกันได้...ด้วยการใส่ใจเรื่องสุขภาพ!!

พญาไท 2

คุณสามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยการควบคุมความดันโลหิต เมื่ออายุมากขึ้น ความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้นตามอายุ จึงต้องได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตให้สม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง คว

รักษาไว ฟื้นตัวเร็ว กับศัลยกรรมโรคสมอง และระบบประสาทในเด็ก

พญาไท 2

ปัจจุบันคุณพ่อ คุณแม่มีเฝ้าระวัง และสังเกตเห็นความผิดปกติของลูกมากขึ้น ประกอบกับนวัตกรรมทางการแพทย์ที่สามารถวินิจฉัยโรคได้เร็วมากขึ้น

ฮีทสโตรก โรคลมแดด ดูแลตัวเองให้ห่างไกลเมื่อต้องอยู่ในที่โซนร้อน

พญาไท 2

ฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด เป็นภาวะวิกฤตที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายได้ ส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ หน้ามืด เพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมดสติ และเสียชีวิตได้