มะเร็งรังไข่…โรคร้ายที่ชอบทำลายผู้หญิง

พญาไท 1

1 นาที

พฤ. 10/02/2022

แชร์


Loading...
มะเร็งรังไข่…โรคร้ายที่ชอบทำลายผู้หญิง
วันนี้เราจะพาสาวๆ มารู้จักกับโรค “มะเร็งรังไข่” กันแบบเจาะลึก เริ่มตั้งแต่ใครคือกลุ่มเสี่ยง อาการเป็นยังไง แบ่งออกได้เป็นกี่ระยะ มีวิธีรักษาอย่างไร และจะป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งรังไข่นี้ได้ยังไงบ้าง

มะเร็งรังไข่ เกิดขึ้นได้ยังไง?

เราขออธิบายภาพกว้างๆ ให้สาวๆ ได้เข้าใจกันก่อน ว่าเยื่อบุโพรงมดลูกเป็นเยื่อที่อยู่ในมดลูก เวลาที่ใกล้ช่วงไข่สุก เยื่อบุนี้จะหนาตัวขึ้นโดยอัตโนมัติเพื่อรอการปฏิสนธิ และเมื่อไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นในช่วงเดือนนั้น เยื่อบุนี้ก็จะลอกหลุดออกมาพร้อมกับเลือดกลายเป็นประจำเดือนนั่นเอง

การเกิดมะเร็งรังไข่ ส่วนใหญ่จะเริ่มมาจากการปวดประจำเดือนหลังคลอดลูก หรือเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่ ถ้าเราปล่อยให้อักเสบโดยไม่ได้รักษา จะทำให้กลายเป็นมะเร็งในที่สุด และเซลล์มะเร็งนี้จะทำให้ท้องน้อยขยายใหญ่ขึ้น มีอาการปวดท้องรุนแรง ถึงแม้ตอนนั้นจะไม่ได้มีประจำเดือนก็ตาม อีกลักษณะพิเศษของมะเร็งรังไข่นี้คือ เซลล์มะเร็งจะแพร่กระจายเร็วมาก ช่วงแรกๆ มักไม่ค่อยมีอาการอะไรให้เห็น ทำให้หลายๆ เคสมาตรวจเจออีกทีก็ลามไปถึงปอดกันแล้ว

ใครคือกลุ่มเสี่ยง ?

แน่นอนว่าโรคนี้จะเป็นเฉพาะในผู้หญิงเท่านั้น ช่วงอายุที่จะเจอมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุกันมากก็คือมากกว่า 50-60 ปี แต่ถ้าเป็นมะเร็งรังไข่ทั่วไปก็มีโอกาสเจอในเด็กที่อายุน้อยกว่า 20 ปีด้วยเช่นกัน เรื่องของกรรมพันธุ์ก็มีส่วนมากถึง 20% และเจอในผู้หญิงที่มีการตกไข่อย่างต่อเนื่องมากกว่าคนที่มีการตั้งครรภ์

อาการแบบไหนที่ต้องระวัง ?

ปกติเวลาที่เราปวดประจำเดือนก็มักจะปวดแค่วันแรกที่ประจำเดือนมา หรือไม่ก็ก่อนมีประจำเดือน 1 วัน อาการปวดนี้จะยังอยู่ในระดับที่สามารถใช้ชีวิตได้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เริ่มปวดรุนแรงจนตัวงอ หรือปวดตั้งแต่วันแรกไปจนวันสุดท้าย ต้องรีบไปตรวจกันแล้วล่ะ

อาการแบบนี้ คือระยะไหนแล้ว ?

ในระยะที่ 1 มะเร็งจะอยู่เฉพาะในรังไข่ จึงสามารถทำการรักษาด้วยการผ่าตัดได้ แต่อย่างที่บอกว่าโรคนี้มักไม่ค่อยตรวจเจอในระยะแรก เรียกว่าน้อยกว่า 70% ของมะเร็งรังไข่จะตรวจเจอเมื่อเชื้อมะเร็งเข้าสู่ระยะที่ 3 หรือ 4 ไปแล้ว ซึ่งในระยะที่ 3 จะเป็นระยะที่เซลล์มะเร็งกระจายเข้าไปในเยื่อบุช่องท้องแล้ว เข้าไปสร้างสารน้ำต่างๆ ที่ทำให้ท้องขยายอย่างรวดเร็ว จะมีอาการตึง แข็ง ส่วนในระยะที่ 4 เซลล์มะเร็งจะกระจายไปที่ปอดซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 4,000 คนต่อปี และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วย

วิธีการรักษา

มะเร็งมักจะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดก็คือการป้องกันหรือยับยั้งการเกิดโรค เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ที่พบความผิดปกติ เช่น ปวดประจำเดือนรุนแรง หรือคนที่เป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูก ควรที่จะรีบไปพบแพทย์เพื่อจะได้รักษาได้ทันเวลา

โดยการตรวจมะเร็งรังไข่ แพทย์จะตรวจวัดค่าสาร CA125 ซึ่งเป็นสารที่ผลิตออกมาจากเยื่อบุอวัยวะในร่างกายเรา เช่น ตับอ่อน รวมถึงที่รังไข่ด้วย โดยค่าปกติจะอยู่ที่ 0-35 ยูนิตต่อมิลลิลิตร แต่ก็อาจจะมีค่าปกติที่สูงกว่านี้ที่ไม่ได้เป็นมะเร็งได้เช่นกัน ในกรณีเป็นมะเร็งรังไข่ในระยะที่ 1 บางทีอาจจะไม่แสดงอาการ ซึ่งหมอจะตรวจสาร CA125 เพื่อช่วยวางแผนในการผ่าตัดเผื่อในกรณีสงสัยเป็นมะเร็งไว้ด้วย เพราะลักษณะการผ่าตัดจะแตกต่างกัน

ป้องกันให้ไกลจากมะเร็งรังไข่ได้ยังไง ?

วิธีง่ายๆ ที่เราจะป้องกันตัวเองได้ก็คือออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ กินผักผลไม้ให้ได้ทุกวัน และต้องอย่าลืมที่จะตรวจสุขภาพอยู่ตลอด ลดอาหารพวกไขมันจากสัตว์ได้บ้างก็ดี เพราะการที่เรากินไขมันจากเนื้อสัตว์มากๆ ก็จะเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งรังไข่ได้เช่นกัน

ใส่ใจทุกการรักษากับโรงพยาบาลพญาไท 1

เมื่อผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล จะถูกส่งตัวไปวินิจฉัยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางนรีเวช ซึ่งถ้าผลออกมาว่าเป็นมะเร็งรังไข่ แพทย์เจ้าของไข้จะนำผลการวินิจฉัยไปเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ MDT Cancer ที่เป็นทีมบุคลากรทางการแพทย์สาขาต่างๆ ทั้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบนรีเวช ด้านรังสีวินิจฉัย รังษีรักษา ด้านพยาธิวิทยา และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษามะเร็งด้วยยา เพื่อร่วมกันวางแผนการรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลข้างเคียงกับผู้ป่วยเคสนั้นๆ มากที่สุด


แชร์

หากสนใจต้องการปรึกษาแพทย์

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ



Loading...
Loading...