ในฤดูฝน อากาศจะชื้น อุณหภูมิจะลดลงเป็นบางช่วง การแพร่ระบาดของโรคติดต่อก็มีมากขึ้นเพราะเชื้อโรคหลายชนิดเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และเมื่ออากาศเปลี่ยน ภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราอาจลดลงจนทำให้เมื่อมีการติดเชื้อจึงป่วยง่ายขึ้น ซึ่งโรคติดเชื้อที่มักมากับหน้าฝนนั้น เกิดขึ้นได้กับหลายระบบของร่างกาย เช่น
1. โรคระบบทางเดินหายใจ
- ไข้หวัดใหญ่
เกิดจากร่างกายได้รับเชื้อไวรัสกลุ่ม Influenza Virus- อาการ
- ปวดศีรษะ
- ไอแห้ง
- มีน้ำมูก คัดจมูก
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- มีไข้สูง
- การป้องกัน
- หมั่นล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ
- หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด หรือใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี
- อาการ
- โรคปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม
เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง จะทำให้ถุงลมปอดเต็มไปด้วยหนองหรือสารคัดหลั่ง ส่งผลให้การหายใจไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนลดลง- อาการ
- มีไข้สูง ตัวร้อน หน้าแดง เหงื่อออก หนาวสั่น
- ไอ มีเสมหะ
- เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว หายใจลำบาก หอบเหนื่อย
- คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
- อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดตามข้อ
- ผู้สูงอายุอาจมีอาการซึม รู้สึกสับสน
- ในทารกหรือเด็กเล็กอาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด อาเจียน ซึม ไม่ดูดนมหรือน้ำ บางรายอาจมีอาการชักจากไข้
- การป้องกัน
- ไม่สูบบุหรี่ เนื่องจากสารจากควันบุหรี่จะไปทำลายกระบวนการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตามธรรมชาติของปอด
- หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรืออากาศที่หนาวเย็น
- เมื่อเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรรักษาให้หายขาดตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน
- สร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- สำหรับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในกระแสเลือด
- อาการ
2. โรคที่มียุงเป็นพาหะ
- โรคไข้เลือดออก
ติดต่อจากคนสู่คนโดยมียุงลายเป็นพาหะที่สำคัญ ยุงตัวเมียจะกัดและดูดเลือดของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในยุง และสามารถถ่ายทอดเชื้อให้คนที่ถูกกัดต่อไปได้- อาการ
- ระยะไข้(2-7 วัน) ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกือบตลอดเวลา เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มักมีหน้าแดง และอาจมีผื่นหรือจุดเลือดออกตามลำตัว แขน ขา
- ระยะช็อกไข้เริ่มลดลง มีอาการซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้อง ปัสสาวะออกน้อย อาจมีเลือดออกง่าย ในรายที่รุนแรงจะมีความดันโลหิตต่ำ ช็อก และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ระยะนี้กินเวลา 24-48 ชั่วโมง ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายไม่จำเป็นต้องเป็นรุนแรง และเข้าสู่ภาวะช็อกทุกราย ในผู้ป่วยไข้เลือดออกที่อาการไม่รุนแรง เมื่อไข้ลดก็จะมีอาการดีขึ้น รับประทานอาหารได้ เข้าสู่ระยะฟื้นตัว
- ระยะฟื้นตัวอาการต่างๆ จะเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยรู้สึกอยากรับประทานอาหาร ความดันโลหิตสูงขึ้น ชีพจรเต้นแรงขึ้นและช้าลง ปัสสาวะมากขึ้น บางรายมีผื่นแดงและมีจุดเลือดออกเล็กๆ ตามลำตัว
- อาการ
-
- การป้องกัน
- ป้องกันไม่ให้ยุงกัด กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้าน รวมทั้งรอบๆ บริเวณบ้าน
- ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำในภาชนะที่ขังน้ำทุก 7 วัน เช่น แจกัน
- ปิดฝาโอ่งหรือภาชนะอื่นๆ ให้มิดชิด หรือใส่ทรายเคมี กำจัดลูกน้ำในภาชนะที่เก็บน้ำไว้ใช้ ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชูลงในจานรองขาตู้กับข้าวสัปดาห์ละครั้ง
- ในผู้ที่เคยเป็นโรคไข้เลือดออกมาแล้ว หลังจากหายป่วยจากโรคเป็นเวลา 1 ปี ควรรับการฉีดวัคซีนไข้เหลือดออก เพราะผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคไข้เลือดออกมาแล้ว หากกลับมาเป็นซ้ำ ส่วนมากอาการจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น
- การป้องกัน
- โรคมาลาเรีย
เกิดจากเชื้อโปรโตซัวที่เรียกว่า พลาสโมเดียม (Plasmodium) มียุงก้นปล่องเพศเมียเป็นพาหะ เชื้อที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย คือ พลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม (Plasmodium Falciparum) และรองลงมา คือ พลาสโมเดียม ไวแว็กซ์ (P.Vivax)- อาการ
- มีไข้สูง หนาวสั่น มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจทำให้เสียชีวิต เช่น เชื้อมาลาเรียขึ้นสมอง ระบบการแข็งตัวของเลือดบกพร่อง ไตวาย ตับโต ม้ามโต
- การป้องกัน
- หากจำเป็นต้องเข้าไปค้างแรมในป่า ควรปรึกษาแพทย์เพื่อกินยาป้องกันโรค และปฏิบัติตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- ใช้ยาจุดกันยุงเพื่อไล่ยุงเวลานอนในป่า เพื่อช่วยลดการถูกยุงกัดได้
- ควรนอนในมุ้งเวลานอนในป่า
- การทายากันยุง โดยเฉพาะชนิดที่ป้องกันได้นาน ๆ
- อาการ
3. โรคติดต่อทางน้ำและอาหาร
- โรคตับอักเสบ
ภาวะอักเสบที่เกิดบริเวณตับ อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ หรือสาเหตุอื่นๆ อย่างการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก การใช้ยาเสพติด ผลข้างเคียงจากการใช้ยา การได้รับสารพิษ โรคอ้วน และกลุ่มอาการเมตาบอลิก รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันทำลายตับเอง- อาการ
- อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ
- จุกแน่นใต้ชายโครงขวา ร่วมกับการมีคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
- เบื่ออาหาร
- ปัสสาวะสีเข้ม
- ตัวเหลือง ตาเหลือง
- การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำที่ไม่สะอาด หรืออาหารสุกๆ ดิบๆ
- ไม่ใช้เข็ม มีดโกน แปรงสีฟัน ร่วมกับผู้อื่น
- สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
- รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ
- อาการ
4. โรคติดเชื้อทางแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง
- โรคฉี่หนู
เกิดจากเชื้อกลุ่ม Leptospira มักพบการระบาดในหน้าฝนหรือช่วงที่มีน้ำท่วมขัง สัตว์ที่แพร่เชื้อโรคนี้ ได้แก่ พวกสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู โดยที่ตัวมันไม่เป็นโรค สัตว์พวกนี้เก็บเชื้อไว้ที่ไต ดังนั้นเมื่อฉี่ออกมาจะมีเชื้อนี้ปนอยู่ด้วย จึงเป็นที่มาของคำว่า “โรคฉี่หนู”- อาการ
- เยื่อบุตาบวมแดง
- เจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง
- มีเลือดออกบริเวณต่างๆ เฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง
- มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง
- อาการเหลือง
- การป้องกัน
- ควรสวมชุดป้องกัน เช่น รองเท้าบูท ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อผ้า
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะของโรค
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสปัสสาวะโค กระบือ หนู สุกร และไม่ใช้แหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ทิ้งไว้ค้างคืนที่ไม่ปิดภาชนะ เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการทำงานในน้ำหรือต้องลุยน้ำ ลุยโคลนเป็นเวลานานๆ
- รีบอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายโดยเร็วหากแช่หรือย่ำลงไปในแหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ
- อาการ
- โรคตาแดง
เกิดจากการสัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรง และการใช้สิ่งของร่วมกัน หรือจากการหายใจหรือไอจามรดกัน เชื้อโรคสามารถแพร่ระบาดได้ตามสถานที่ที่มีผู้คนอยู่ร่วมกันมากๆ เช่น รถไฟฟ้า รถโดยสารสาธารณะ โรงพยาบาล โรงเรียน และมักพบในกลุ่มเด็กมากกว่าผู้ใหญ่- อาการ
- ตาแดง
- ปวดเล็กน้อยในเบ้าตา
- คันตา เคืองตา รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในดวงตา
- น้ำตาไหล เปลือกตาบวม อาจพบตุ่มเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป
- ในกรณีที่ติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย จะมีขี้ตามาก ทำให้ลืมตายากในช่วงตื่นนอน
- การป้องกัน
- หมั่นล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือขยี้ตา
- ไม่ใช้ยาหยอดตาขวดเดียวกันกับดวงตาทั้งสองข้าง หยุดใช้คอนแทคเลนส์จนกว่าอาการจะหายสนิท
- ไม่ใช้ผ้าเช็ดตัว ปลอกหมอน ผ้าห่ม ร่วมกับผู้ป่วยโรคตาแดง
- พักเรียนหรือพักงานอย่างน้อย 1 สัปดาห์เพื่อไม่ให้โรคแพร่กระจายสู่ผู้อื่น
- พักการใช้สายตา และพักผ่อนให้เพียงพอ
- ไม่จำเป็นต้องปิดตา เว้นแต่กรณีที่กระจกตาอักเสบหรือเคืองตามากอาจปิดตาชั่วคราว หรือสวมแว่นกันแดดแทน
- อาการ
เราสามารถลดเสี่ยงโรคติดเชื้อได้ ด้วยการดูแลสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ และปฏิบัติตามแนวทางป้องกันเพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ที่สำคัญ หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจ วินิจฉัย และได้รับการรักษาอย่างตรงจุด