5 สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ เพื่อการรับมือโรคลิ้นหัวใจรั่ว

5 สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ เพื่อการรับมือโรคลิ้นหัวใจรั่ว

โรคลิ้นหัวใจรั่ว เป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต หลายคนมีอาการรุนแรงโดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า ดังนั้นแนวทางการป้องกันที่ดีที่สุดคือการตรวจสุขภาพหัวใจอย่างสม่ำเสมอ

1. โรคลิ้นหัวใจรั่ว คืออะไร?

โรคลิ้นหัวใจรั่ว (Heart Valve Regurgitation) เป็นอาการของความผิดปกติบริเวณลิ้นหัวใจในลักษณะที่ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท เกิดรูรั่วหรือรอยขาด ทำให้เกิดปัญหาเลือดไหลย้อนกลับ ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อให้สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เพียงพอ ผู้ป่วยจะไม่สามารถทำกิจกรรมประจำวันต่างๆ ได้เต็มที่เพราะมักมีอาการเหนื่อยง่าย และยังนำไปสู่อาการหัวใจล้มเหลวได้ด้วย

2. สาเหตุที่ทำให้เกิดลิ้นหัวใจรั่ว มี 3 ประการสำคัญ 

1. สาเหตุจากพันธุกรรม อาจเป็นตั้งแต่เกิด หรืออาจมีอาการเมื่อโตขึ้น
2. สาเหตุจากอาการแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆ

  • ภาวะติดเชื้อ ตัวอย่างเช่น ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในลำคอหรือทางเดินหายใจ มักพบในเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย และเกิดปัญหาลิ้นหัวใจรั่วตามมา หลอดเลือดหัวใจตีบมักเป็นอาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง ผู้ที่สูบบุหรี่่จัด ผู้สูงอายุ หรือเกิดจากพันธุกรรม

3. สาเหตุจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ที่ทำให้เกิดความเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อของลิ้นหัวใจ หรือเกิดหินปูนเกาะบริเวณลิ้นหัวใจ ทำให้การเปิดหรือปิดของลิ้นหัวใจผิดปกติ

3. ผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว คือใครบ้าง?

1. มีคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว
2. กลุ่มคนที่ติดเชื้อได้ง่าย เช่น เด็กอายุน้อยๆ ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่อง
3. กลุ่มเสี่ยงกับภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบอันเนื่องมาจากอายุ มักพบในเพศชายที่อายุมากกว่า 40 ปี หรือเพศหญิงที่อายุมากกว่า 50 ปี รวมทั้งผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรืออาจเกิดร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อย่างการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ และจากพันธุกรรม

4. ลักษณะอาการลิ้นหัวใจรั่ว 

อาการของโรคนี้มักไม่รุนแรง แต่หากไม่ได้รับการตรวจพบหรือรักษาอย่างถูกต้อง อาการอาจลุกลามมากขึ้นจนถึงขั้นรุนแรง เนื่องจากลิ้นหัวใจเกิดความเสื่อมตามอายุที่มากขึ้นด้วย ส่งผลให้รู้สึกเหนื่อยง่ายแม้เคลื่อนไหวไม่มาก บางรายอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตเนื่องจากเกิดอาการหัวใจล้มเหลว

5. การป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่ว

การแสดงอาการของลิ้นหัวใจรั่วมักค่อยๆ แสดงอาการ ดังนั้นหากพบ อาการใจสั่น เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย เท้าบวม หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง แนะนำให้เข้าตรวจสุขภาพร่างกายทุกปี หมั่นดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักตัว และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดการกินหวาน มัน เค็ม

เพราะสุขภาพคือเรื่องสำคัญ ดังนั้นอย่ารอให้เกิดอาการของโรค แต่ ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี เพราะการพบความผิดปกติที่ซ่อนอยู่ได้เร็ว ก็จะเกิดการป้องกันหรือการรักษาที่ไวขึ้น ดีกว่าไปพบอาการของโรคเมื่อเกิดการลุกลามและรุนแรงขึ้นแล้ว ซึ่งจะทำให้รักษายาก หรือเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

 

นพ. ชยุต ชีวะพฤกษ์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์


นัดหมายแพทย์

แชร์

หากสนใจต้องการปรึกษาแพทย์

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ




บทความแนะนำ

เรื่องของ (หลอดเลือด) หัวใจ วัยไหนๆ ก็ต้องดูแล

พญาไท นวมินทร์

เราสามารถลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ด้วยการปรับพฤติกรรมการกิน การนอน การออกกำลังกาย รวมถึงการสูบบุหรี่ ปาร์ตี้ดื่มแอลกอฮอล์ และการรักษาโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคเบาหวานและโรคอ้วนให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้

ใครบ้างที่ควรตรวจหา...ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตันด้วยการทำ CTA...?

พญาไท นวมินทร์

CTA เป็นการตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่จะแสดงให้เห็นลักษณะการไหลเวียนของเลือด ตำแหน่งความผิดปกติของหัวใจ ซึ่งจะทำให้รู้ว่ามีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตันหรือไม่ และเกิดขึ้นในบริเวณใด

เคล็ด(ไม่)ลับ...เลิกบุหรี่ยังไงให้สำเร็จ

พญาไท นวมินทร์

สารนิโคติน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การเลิกบุหรี่เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่หากลองปฏิบัติตามคำแนะนำนี้ คุณอาจจะเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ..ก่อนที่หัวใจจะถูกทำลายจนเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน

การผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ ผ่านทางหลอดเลือดแดง TEVAR (Thoracic Endovascular Aneurysm Repair)

พญาไท นวมินทร์

หลอดเลือดแดงมีหน้าที่ส่งเลือดจากหัวใจไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ หากหลอดเลือดแดงในช่องท้องหรือทรวงอกโป่งพอง อาจจำเป็นต้องผ่าตัดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดขดลวด ซึ่งจะให้แผลเล็กและปลอดภัยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลทางหน้าท้อง